เมษายน 19, 2559 | ตอบข้อหารือที่น่าสนใจ
เลขหนังสือ/เรื่อง | สรุปสาระสำคัญ |
ด่วนมาก กษ 1205/ว670 ลว. 7 พ.ย. 2539 หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน | ส.ป.ก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคัดเลือกฯ 1. การส่งรายซื่อไปตรวจสอบ 2. การตรวจสอบรายชื่อ 3. การนำรายชื่อเสนอ คปจ. พิจารณา |
กษ 1205/ว448 ลว. 16 มิ.ย. 2543 ผลพิจารณาและความเห็นเกี่ยวด้วยการปฏิบัติงาน และข้อหารือ | - ข้อ 6(4) "ผู้มีร่างกายสมบูรณ์” นอกจากหมายถึง ผู้มีร่างกายครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ยังหมายรวมถึงผู้มีคุณลักษณะ และความสามารถในการประกอบเกษตรกรรมได้ ผู้มีร่างกายบกพร่องบางประการ เช่น ขาด้วน แขนด้วน หากมีความสามารถในการประกอบเกษตรกรรมก็อยู่ในความหมายของผู้มีร่างกายสมบูรณ์ - ผู้เช่าที่ราชพัสดุ หากเช่าเพื่อประกอบการเกษตรโดยมีขนาดที่ดินเพียงพอแก่การ ประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ ย่อมถูกจำกัดสิทธิการคัดเลือก (ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 10) - การจัดทำประกาศยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ข้อ 6 ข้อ 7 - การพิจารณาการคัดเลือกเกษตรกร ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และลำดับในข้อ 8 และ ต้องเป็นธรรมกับเกษตรกร |
กษ 1205/825 ลว. 5 ก.พ. 2542 (จ. นครราชสีมา) หารือแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกร | เกษตรกรประเภทผู้ยากจน มีหลักเกณฑ์การคำนวณรายได้อย่างไร ? - รายได้จากการขายผลผลิตหักด้วยต้นทุนการผลิต บวกด้วยรายได้จากการทำงานอื่นๆ นอกการเกษตรของสมาชิกทั้งหมดในครัวเรือนในระยะเวลา 1 ปี |
กษ 1205/5266 ลว. 6 ก.ค. 2541 (จ. นครราชสีมา) แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรประเภทผู้ยากจนหรือบุตรของเกษตรกร | หลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรประเภทผู้ยากจน - ผู้มีรายได้ไม่สูงกว่าอัตรารายได้ที่ คปก. กำหนด (มติครั้งที่ 4/38) กำหนดผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อหัวต่อปี (ปัจจุบัน มติ คปก. 3/47 กำหนดผู้มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อคนต่อปี) - บุตรของเกษตรกร หมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นบุตรของเกษตรผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินฯ |
กษ 1205/5844 ลว. 21 ส.ค. 2544 (จ. จันทบุรี) หารือประเด็นคุณสมบัติเกษตรกร | - กรณีเกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินจากนิคมสหกรณ์ จะถูกจำกัดสิทธิเพราะขาดคุณสมบัติตามระเบียบคัดเลือกหรือไม่ - ต้องพิจารณาลักษณะการเข้าทำประโยชน์ และขนาดของที่ดินซึ่งเกษตรกรได้รับจากนิคมสหกรณ์ ก่อนการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ ว่าก่อนการคัดเลือกเป็นที่ดินเพื่อประกอบการเกษตร และมีขนาดเพียงพอแก่การประกอบเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไขดังกล่าว เกษตรกรรายนั้นย่อมขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการคัดเลือก |
กษ 1204/3722 ลว. 17 พ.ค. 2548 จ. อุดรธานี ขอหารือระเบียบ คปก. ว่าด้วยการคัดเลือกฯ | หลักเกณฑ์การพิจารณา กรณีเกษตรกรผู้ถือครองที่ดินของรัฐ และเป็นผู้ทำกินในที่ดิน ต้องเป็นเกษตรกรตามคำนิยามในข้อ 4 และเป็นผู้ถือครองทำประโยชน์ก่อนที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำเนินการจัดที่ดิน |
กษ 1204/7994 ลว. 15 ก.ย. 2549 จ. พิษณุโลก หารือข้อกฎหมายในการจัดที่ดินของ ส.ป.ก. | กรณีการเข้าไปสำรวจรังวัด หรือ สอบสวนสิทธิการถือครอง ขณะ/ก่อน หรือระหว่างดำเนินการออก พ.ร.ฎ. ซึ่งถือว่ายังไม่เข้ากระบวนการได้สิทธิตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ผู้ถือครองเดิมสามารถโอนหรือส่งมอบการถือครองให้ผู้ถือครองรายใหม่ได้ เมื่อมี พรฎ. กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ผู้ถือครองรายใหม่ซึ่งมีชื่อไม่ตรงกับบันทึกนำทำการรังวัดการถือครองเดิม คปจ. สามารถพิจารณาคำขอรับการจัดที่ดินของผู้ถือครองรายใหม่ ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน |
กษ 1204/9900 ลว. 23 ธ.ค. 2545 จ. พะเยา หารือกรณีคัดค้านการจัดที่ดิน | กรณี คปจ. มีมติยกเลิกการจัดที่ดินทั้งแปลง ส.ป.ก. พะเยา ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ? - คปจ. มีอำนาจในการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกร ดังนั้น หากผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าการดำเนินการไม่ถูกต้องก็สามารถเพิกถอนการจัดและดำเนินการให้ถูกต้องได้ กรณีผู้ร้องมิได้คัดค้านภายในกำหนดตามประกาศจะถือว่าการจัดเสร็จสิ้นแล้ว หากเห็นว่าไม่ถูกต้องจะดำเนินการอย่างไร - ประกาศผลการคัดเลือกเกษตรกรถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอรับการจัดที่ดิน ทั้งมิได้คัดค้านภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศ จึงมิใช่คู่กรณีเป็นเพียงบุคคลภายนอก กระบวนการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว แต่ถ้าผู้ร้องเห็นว่าตนได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว สามารถฟ้องโต้แย้งคำสั่งต่อศาลปกครองได้ เมื่อ คปจ. มีมติยกเลิกการจัดที่ดิน และจัดให้ถูกต้อง ระเบียบคัดเลือกฯ มิได้กำหนดระยะเวลา และขั้นตอนการอุทธรณ์ไว้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด หากนายณรงค์ฯ เห็นว่าตนได้รับผลกระทบจากคำสั่งยกเลิกการจัดที่ดิน สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้โดยตรง |
กษ 1206/5336 ลว. 28 ก.ค. 2551 จ. ศรีสะเกษ หารือปัญหาข้อกฎหมาย | กรณีครูอัตราจ้าง (ครูอาสาสมัคร) ทำสัญญาจ้างทุก 5 ปี โดยถือครองต่อเนื่องจากยาย มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรหรือไม่ - แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นผู้ถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามความเป็นจริง โดยทำการเกษตรเฉพาะเวลาเลิกงานและวันหยุด โดยทำงานเป็นครูระหว่าง 8.15 – 16.30 น. ถือว่าได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปีเพื่องานราชการ มิใช่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงไม่เป็นเกษตรกร |
กษ 1204/5913 ลว. 14 ส.ค. 2552 จ. บุรีรัมย์ หารือกรณีคุณสมบัติคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน | การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ เป็นการพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ยื่นคำขอฯ แต่ผู้ที่จะมีสิทธิได้รับการจัดที่ดินต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบคัดเลือกฯ ข้อ 6(6) ซึ่งต้องนำที่ดินของคู่สมรส ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกันมาประกอบการพิจารณา |
กษ 1204/2927 ลว. 30 เม.ย. 2552 จ. เชียงใหม่
| กรณีคุณสมบัติของการเป็นเกษตรกรเกี่ยวกับภูมิลำเนา การประกอบอาชีพอื่น และเงื่อนระยะเวลาในการครอบครองที่ดิน - ตามระเบียบคัดเลือกฯ มิได้กำหนดเป็นข้อจำกัดสิทธิว่าจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่ประกาศให้ยื่นคำร้อง แต่ คปจ. อาจพิจาณาจัดที่ดินให้เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ก่อนได้ - กรณีเกษตรกรทำประโยชน์โดยการปลูกสักเต็มพื้นที่ แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องใช้เวลา 10 – 20 ปี จึงต้องประกอบอาชีพอื่นด้วย เช่น รับจ้าง/ค้าขาย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นรายๆ ไป การประกอบอาชีพอื่นต้องมีลักษณะที่มิใช่เป็นอาชีพหลักแต่เป็นการเสริมรายได้ - ม.30 วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดระยะเวลาในการครอบครอง เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือครองที่ดิน ดังนั้น เมื่อมีการประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ ผู้ถือครองเดิมหรือผู้รับการกระจายสิทธิจากผู้ถือครอง หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ สามารถยื่นคำร้องได้เว้นแต่กรณี ม.30 วรรคสามที่กำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องต้องถือครองที่ดินมาก่อนปีที่ คปก. กำหนดจึงจะได้สิทธิตามมาตรานี้ |