เมษายน 19, 2559 | ตอบข้อหารือที่น่าสนใจ
ตอบข้อหารือระเบียบเข้าทำประโยชน์ พ.ศ. 2550
เลขหนังสือ/เรื่อง | สรุปสาระสำคัญ |
ตง 0011/7245 ลว. 16 พ.ค. 2548 หารือแนวทางการปฏิบัติ (เกี่ยวกับการเตือนตามระเบียบเข้าทำประโยชน์) | หลักเกณฑ์การเตือนให้เกษตรกรปฏิบัติตามระเบียบ คือให้เตือนด้วยหนังสือทุกกรณี เว้นแต่มีข้อเท็จจริงชัดเจนไม่สามารถหาตัวได้ มิฉะนั้นถือว่าไม่มีการเตือนและไม่เป็นเหตุให้เกษตรกรสิ้นสิทธิ วิธีการเตือน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิปกครองฯ ม.30 และ ม. 37 คือ เตือนโดยระบุข้อเท็จจริง ข้อ กม. และข้อพิจารณา เพื่อให้โอกาสเกษตรกรทราบข้อเท็จจริง และ โต้แย้งแสดงหลักฐานของตนได้ กรณีเกษตรกรนำที่ดิน ส.ป.ก. ไปประกันเงินกู้ ซึ่งเจ้าหนี้เงินกู้ไม่ยอมรับชำระหนี้ และไม่ส่งคืนที่ดิน ส.ป.ก. ให้เกษตรกรลูกหนี้ ให้ ส.ป.ก.จว. ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงว่า เป็นการซื้อ-ขายที่ดิน หรือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อ 7 (1) ให้ดำเนินการสั่งให้ สิ้นสิทธิ และผู้รับซื้อที่ดินหรือผู้เข้าทำประโยชน์ โดยมิได้รับการคัดเลือกจาก คปจ. ถือว่าขาดคุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดีและซื่อสัตย์สุจริต ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรได้รับการคัดเลือกตามหนังสือ ที่ กษ 1205/ว338 ลว. 4 มิ.ย. 2540 |
กษ 1204/8436 ลว. 29 ก.ย. 2549 จ. หนองบัวลำภู ข้อหารือกรณีเกษตรกรทำผิดระเบียบเข้าทำประโยชน์ (บันทึกช่วยจำ วันที่ 13 ก.ค. 2549) | กรณีเกษตรกรไม่ชำระหนี้ ธกส. และ คปจ. มีมติสั่งให้สิ้นสิทธิทุกแปลง แม้บางแปลงจะไม่ได้นำไปประกันเงินกู้ (ตามระเบียบเข้าทำประโยชน์ ข้อ 7(9)+ข้อ 11) แต่ก่อนที่จะเสนอ คปจ. สั่งให้สิ้นสิทธิ ส.ป.ก. จังหวัด ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบก่อน เช่น มีหนังสือเตือน เกษตรกรผู้กระทำผิดระเบียบต้องสิ้นสิทธิในที่ดินทุกแปลง (หากสิ้นสิทธิเฉพาะแปลงจะไม่เป็นธรรมกับผู้ได้รับที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียว ระเบียบไม่แยกเหตุแห่งการสิ้นสิทธิตามพฤติกรรมหนักเบา แต่ระเบียบให้โอกาสให้เกษตรกรแก้ไข/ปฏิบัติให้ถูกต้อง) |
กษ 1204/2403 ลว. 5 เม.ย. 250 ขอหารือและสอบถามขั้นตอนการดำเนินการ | กรณีการลงรายละเอียดในเอกสารเกี่ยวกับการจัดที่ดิน หากไม่ครบถ้วนผลจะเป็นอย่างไร ความไม่สมบูรณ์ของเอกสารไม่ทำให้เอกสารเสียไป สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ในภายหลัง แม้เอกสารบางส่วนอาจไม่สมบูรณ์ แต่มติยังสมบูรณ์อยู่ หากพบข้อเท็จจริงภายหลังว่าการใช้ดุลพินิจผิดพลาด คปจ. ในฐานผู้ออกคำสั่งทางปกครองขอทบทวนและเพิกถอนคำสั่งปกครองได้ตลอดเวลา |
กษ 1204/2954 ลว. 2 พ.ค. 2550 ปลัด กษ (จ. สุโขทัย) ปัญหาการทำกินในที่ ส.ป.ก. 4-01 | กรณีขุดสระน้ำ เกษตรกรทำได้หรือไม่ ระเบียบการเข้าทำประโยชน์ ข้อ 7(4) กำหนดให้ ขุดบ่อไม่เกินร้อยละ 5 ถ้าเกินต้องเสนอ คปจ. กรณีถางป่าเพื่อปรับพื้นที่ทำการเกษตร คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า การประกอบเกษตรกรรม ต้องมีการแผ้วถางป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ การแผ้วถางป่าจึงไม่ต้องขออนุญาต ตาม ม.54 พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 แต่ถ้ามีไม้หวงห้ามหรือมีป่าหวงห้ามขึ้นอยู่ การตัดฟันหรือเก็บของป่าหวงห้ามต้องขออนุญาตจากป่าไม้ก่อน การปรับพื้นที่หรือขุดสระน้ำในที่ของ ส.ป.ก. สามารถนำดิน / หิน / ลูกรัง ไปถมนอกที่ดิน ส.ป.ก. ได้หรือไม่ ตามระเบียบข้อ 9 วรรค 3 กรณีอนุญาตให้ขุดบ่อเกินจำนวนที่กำหนดในข้อ 7(4) ถ้ามีการนำดิน/สิ่งที่ขุดได้ออกนอกพื้นที่ เกษตรกรต้องใช้เงินเท่ามูลค่าของดินที่ขุดได้ และนำเข้ากองทุนฯ เว้นแต่เป็นการอนุญาตของ คปจ. ส่วนการนำลูกรังออกไปใช้นอกบริเวณที่ดิน ส.ป.ก. ให้นำระเบียบการให้ความยินยอมในการนำทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ไปใช้ตาม กม.อื่น พ.ศ. 2541 ข้อ 10(5) มาใช้บังคับ ซึ่งต้องขอความเห็นชอบจาก ส.ป.ก. เป็นรายๆไป แต่ขณะนี้ ส.ป.ก. ยังไม่มีนโยบายให้ดำเนินการ |
กษ 1204/37 ลว. 5 ม.ค. 2550 จ. อำนาจเจริญ หารือเกี่ยวกับการทำประโยชน์ในที่ดิน และกรรมสิทธิ์ไม้ในเขตปฏิรูปที่ดิน | กรณีการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ แต่ราษฎรอ้างว่าเป็นการนำไม้ออกจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 และ อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง การกระทำของราษฎรผิดระเบียบ ส.ป.ก. ส.ป.ก. ไม่ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตัดไม้ แต่การตัดไม้หวงห้ามต้องดำเนินการตาม กม.ป่าไม้ ไม้ของกลางตกเป็นของใคร คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อหารือ (เรื่องเสร็จที่ 791/49 ) กรณีที่ดิน ส.ป.ก. มี ไม้หวงห้าม ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 และไม้ดังกล่าวไม่ถือเป็นทรัพย์สินของ ส.ป.ก. (ต้องขออนุญาตกรมป่าไม้) |
กษ 1204/6021 ลว. 7 ก.ย. 2550 จ. พิจิตร การสละสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. | กรณีเกษตรกรที่ได้รับสิทธิจาก ส.ป.ก. มีหนี้สินมากและต้องสูญเสียสิทธิ โดยได้รับการแนะนำให้สละสิทธิและมีนายทุนเข้าครอบครองที่ดินแทน เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ - การสละสิทธิต้องดำเนินการตามระเบียบเข้าทำประโยชน์ ข้อ10 และมีผลเป็นการ สิ้นสิทธิตามข้อ 11 - การสิ้นสิทธิดังกล่าวไม่เป็นการสิ้นสิทธิ ตาม ม.39 เพราะสิทธิตาม ม.39 หมายถึง กรรมสิทธิ์ซึ่งตกอยู่ในบังคับห้ามแบ่งแยก หรือโอนสิทธิ ยกเว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือ โอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. - การสละสิทธิมีผลเป็นการสิ้นสิทธิทันทีที่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ระเบียบฯมิได้กำหนดต้องนำเสนอ คปจ. เพื่อมีมติสั่งให้สิ้นสิทธิ และมิได้กำหนดให้เกษตรกรอุทธรณ์ เพราะเป็นการสิ้นสิทธิโดยการแสดงเจตนา มิใช่สิ้นสิทธิเพราะถูก คปจ. สั่งให้สิ้นสิทธิ - หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าการสละสิทธิถูกบังคับ/ถูกฉ้อฉลให้สละสิทธิ ให้ ส.ป.ก.จว.จัดส่งข้อมูลให้ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการทางคดีต่อไป |
กษ 1205/8723 ลว. 30 พ.ย. 2544 จ. พิจิตร หารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสละสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน | การป้องกันการซื้อขายกรณีขอสละสิทธิ การเข้าทำประโยชน์ เมื่อ ส.ป.ก. ประกาศให้มายื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ โดยมีผู้ซื้อมายื่นขอเข้าทำประโยชน์เพียงรายเดียว ทำได้หรือไม่ ผู้รับซื้อที่ดิน หรือเข้าทำประโยชน์โดยมิได้รับการคัดเลือกจาก คปจ. หากปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่า ผู้นั้นกระทำการทั้งที่ทราบว่ามีระเบียบ คำสั่ง คปก./คปจ. ห้ามไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าขาดคุณสมบัติในเรื่องของการมีความประพฤติดี และการซื่อสัตย์สุจริต ไม่สมควรได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ อำนาจในการพิจารณาเป็นของ คปจ. (ที่ กษ 1205/ว338 ลว. 4 มิ.ย. 40) |
ลว. 3 ก.ย. 2552จ. พะเยา การสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ | - กรณี คปจ.พะเยา มีมติ ครม.ที่ 2/48 ให้นายสว่างฯ สิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ซึ่งเดิมมติ คปจ. ครั้งที่ 2/47 ได้ยกเลิกการจัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้แล้ว - มติ คปจ. ให้ยกเลิกการจัดที่ดินหรือให้สิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งจะมีผลใช้ยันบุคคลต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับคำสั่งดังกล่าว ตาม ม.42 พ.ร.บ. วิ ปกครอง พ.ศ. 2539 และเห็นว่ามติ คปจ. ดังกล่าว พิจารณาโดยใช้ข้อกฎหมายที่ต่างกัน คือกรณียกเลิกการจัดที่ดินเป็นการพิจารณาโดยอาศัยระเบียบคัดเลือกฯ ซึ่งมิได้กำหนดให้สิทธิในการอุทธรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เกษตรกรอุทธรณ์คำสั่ง ส่วนมติให้เกษตรกรสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ อาศัยระเบียบการเข้าทำประโยชน์ ซึ่งกำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งได้ เมื่อมีการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงมติใหม่ คปจ.พะเยา ต้องแจ้งมติที่สั่งให้สิ้นสิทธิพร้อมเหตุผล แจ้งสิทธิอุทธรณ์/โต้แย้งคำสั่ง และระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ ตาม ม.40 พ.ร.บ.วิ ปกครองฯ |