image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูนเข้าร่วมการตรวจประเมิน การประกวดรางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี 2566 ของจังหวัดลำพูน

กรกฎาคม 17, 2566 | ภาพข่าว

นางปรารถนา ชัยญานะ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูนเข้าร่วม กิจกรรมการตรวจประเมิน การประกวดรางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ประจำปี 2566 ของจังหวัดลำพูน

วันที่ 17 ก.ค. 66  เวลา 13.00 น. ที่ ห้องประชุมจามเวที ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ปลัดจังหวัดลำพูน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมการประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปี 2566 หมวด หมวด 2 ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ผ่านระบบการประชุมวีดีทัศน์ทางไกล ( Zoom Cloud Meetings ) โดยคณะผู้ตรวจประเมิน จากสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจประเมินให้คะแนน

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้นำเสนอหลักการ 5 P ในการจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีสำหรับการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติจังหวัดลำพูนได้นำแผนปฏิบัติไปสู่การไปปฏิบัติโดยใช้หลักการ LSTM (Lamphun Strategic Targeting Management) สำหรับกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์

จากนั้น หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดลำพูนได้นำเสนอผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เป็นการนำเสนอ Best Practice ในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ของ จังหวัดลำพูน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ การบริหารจัดการสินค้าลำไยเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยเกษตรจังหวัดลำพูน

การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ผ้าย้อมสีธรรมชาติ” โดยพัฒนาการจังหวัดลำพูน  

การรวมงานกับภาคีเครือข่าย"Lamphun City Lab" โดยภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ในนาม Lamphun City Lap

การบริหารจัดการสินค้าลำไยเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ลำพูนเมืองแห่งเกษตรสุขภาพ และเกษตรนวัตกรรมสร้างสรรค์ ในประเด็นการพัฒนาที่ 3 เมืองเกษตรสีเขียว (Green Agricultural City) มีการคาดคะเนสถานการณ์การผลิตลำไย ปี 2566 ผลผลิตรวมประมาณ 352,644 ตัน แบ่งเป็น ผลผลิตลำไยในฤดู จำนวน 220,479 ตัน (62.42 %) และนอกฤดู จำนวน 132,164 ตัน (37.48%) โดยมีการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP ลำไย ร้อยละ 29.41 ของเนื้อที่ให้ผลผลิตทั้งหมด จังหวัดลำพูนมีแนวทางพัฒนาต่อยอด โดย ส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ มาตรฐาน GAP อย่างต่อเนื่อง ยกระดับมาตรฐานการผลิตเป็นลำไยอินทรีย์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจด้านการเกษตรของจังหวัดลำพูน (ปี 2566 – 2570) ในประเด็นการพัฒนาที่ 3 เมืองแห่งเกษตรสุขภาพและเกษตรนวัตกรรม สร้างสรรค์

การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ผ้าย้อมสีธรรมชาติ”จังหวัดลำพูน ได้ให้ความสำคัญ กับการส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมชุมชนที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์  สร้างชื่อเสียง ให้กับจังหวัดลำพูน และเป็นหนึ่งในอาชีพที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนชาวจังหวัดลำพูนมาอย่างยาวนาน โดยมุ่ง ส่งเสริมการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการได้นำชมบูธนิทรรศการ พร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการ ได้แก่ ลำไยพันธุ์เศรษฐกิจและพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดลำพูน ลำไยพันธุ์ดอ (พันธุ์เศรษฐกิจ) ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ไม้ผลอัตลักษณ์จังหวัดลำพูน (GI) ลำไยพันธุ์สีชมพู (พันธุ์ดั้งเดิม) การพัฒนาคุณภาพการผลิต และการผลิตตามาตรฐาน GAP การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยี/นวัตกรรม มาใช้ในพื้นที่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ผ้าจากสีเคมีผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าบาติก และเส้นทางสู่ความสำเร็จและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของจังหวัดลำพูน ผ่านระบบการประชุมวีดีทัศน์ทางไกล ( Zoom Cloud Meetings )

ขอบคุณข้อมูลข่าวและภาพจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูนและสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน 

ป้ายกำกับ
ล่าสุด