กุมภาพันธ์ 24, 2564
สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตราพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ออกใช้ใน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และทันทีที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้บังคับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุนให้โครงการปฏิรูปที่ดินดำเนินไปโดยสัมฤทธิ์ผล พระองค์จึงได้พระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 51,967 ไร่ 95 ตารางวา ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ดินเป็นประเดิมเริ่มแรก พระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานที่ดินในครั้งนั้น ยังเป็นการหล่อหลอมให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ มีความเข้าใจ ในนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของรัฐบาลตรงกัน และทำให้เกิดผลดีต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดิน
ต่อมาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้กันเนื้อที่บางส่วนออก เนื่องจากที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเกษตร และมีภาระผูกพันกับหน่วยราชการอื่น จึงคงเหลือพื้นที่ที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินได้ 44 ,321 -0-39.46 ไร่ อยู่ในท้องที่ 5 จังหวัด คือจังหวัดฉะเชิงเทรา 14,617-3-69 ไร่ จังหวัดนครปฐม 1,009 -3-26 ไร่ จังหวัดนครนายก 3, 542-3-49 ไร่ จังหวัดปทุมธานี 14, 015-1-28.46 ไร่ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 11, 135-0-67 ไร่ จัดเกษตรกรเข้าทำประโยชน์จำนวน 3, 346 ราย รวมเนื้อที่ 40, 577-0-78.46 ไร่ ส่วนพื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เพื่อการสาธารณูปโภค เนื้อที่ 3, 743-3-61 ไร่
การพัฒนาในที่ดินพระราชทาน
กิจกรรมพัฒนาขั้นพื้นฐานเป็นกิจกรรมที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของพื้นที่ โดยดำเนินงานเกี่ยวกับการก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตของเกษตรกรในที่ดินพระราชทาน
1. การพัฒนาเส้นทางคมนาคม
ที่ดินพระราชทานส่วนใหญ่สภาพเป็นที่นา ไม่มีถนนเข้าถึงแปลงที่ดิน เดิมเกษตรกรต้องใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงถนน เพื่อเป็นการคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตทางการเกษตรในที่ดินพระราชทาน 5 จังหวัด โดยก่อสร้างถนนลูกรังสายหลัก รวมระยะทาง 15 , 320 กิโลเมตร และก่อสร้างถนนลูกรังสายซอย รวมระยะทาง 91 .147 กิโลเมตร
2. การพัฒนาระบบชลประทาน
ที่ดินพระราชทานส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชลประทาน แต่เกษตรกรบางส่วนยังผันน้ำไปใช้ในการเกษตรได้ไม่เต็มที่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบชลประทานในที่ดินพระราชทาน 5 จังหวัด โดยขุดคลองส่งน้ำ รวมระยะทาง 18 .411 กิโลเมตร และขุดลอกคลองส่งน้ำ และคลองระบายน้ำ รวมระยะทาง 97.147 กิโลเมตร
3. การพัฒนารายได้และปรับปรุงโครงสร้างการผลิต
เป็นกิจกรรมเสริมเพื่อเป็นการสนับสนุนในการพัฒนาที่ดิน ปรับปรุงวิธีการและเทคนิคการผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งให้การส่งเสริมสถาบันเกษตรกรและฝึกอบรมอาชีพการเกษตรและนอกการเกษตรให้แก่เกษตรกร
4. การพัฒนาอาชีพทางการเกษตร
เกษตรกรในที่ดินพระราชทานส่วนใหญ่ประสบปัญหาดินเปรี้ยว ผลผลิตต่ำ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงได้ร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ จนเกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ประกอบเกษตรกรรมได้โดยสมบูรณ์ ปัจจุบันที่ดินพระราชทานในเขตปฏิรูปที่ดินมีการพัฒนาระบบแปลงเกษตรกรรมแล้วเสร็จ เนื้อที่ประมาณ 17 , 150 ไร่ เกษตรกรเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนจากการทำนาเพียงอย่างเดียว มาเป็นสวนผลไม้ สวนส้ม การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน
พื้นที่ที่ไม่ได้จัดระบบแปลงเกษตรกรรม ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบชลประทานและเส้นทางคมนาคม ทำให้เกษตรกรได้พัฒนาพื้นที่สวนไม้ผล สวนยางพารา และไร่นาสวนผสม เนื้อที่ประมาณ 3 , 500 ไร่
ส่วนพื้นที่ที่เหลือเนื้อที่ ประมาณ 13 , 720 ไร่ เกษตรกรสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ข้าวพันธุ์ปรับปรุงใหม่ ให้ผลผลิตสูงกว่า 50 ถังต่อไร่ขึ้นไป และมีอาชีพเสริมในการปลูกไม้ผลปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู และเพาะเห็ดฟาง เป็นต้น
5. การพัฒนาอาชีพนอกการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้จัดฝึกอบรมอาชีพเสริมนอกการเกษตร โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
5.1 ประเภทงานหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
5.2 ประเภทฝีมือช่าง ได้แก่ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง
5.3 ประเภทส่งเสริมคุณภาพชีวิต ได้แก่ การฝึกอบรมความรู้ทางด้านโภชนาการ ตัดเย็บเสื้อผ้า
6. การพัฒนาสถาบันเกษตรกร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มีการรวมกลุ่มในระดับหมู่บ้านเป็นสหกรณ์ในเขตปฏิรูปที่ดิน และพระราชทานเงินชดเชยค่าที่ดินเป็นเงินหมุนเวียน สำหรับดำเนินงานของสหกรณ์ในเขตที่ดินพระราชทานสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในที่ดินพระราชทานรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดิน 8 สหกรณ์ ปัจจุบัน แต่ละสหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเองจนมีกำไร และพัฒนาเติบโตขึ้นต่อไป
7. การพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้และรับบริการด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนด้านที่ดินทำกินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน โดยมีทิศทางการบริการ 7 รูปแบบ คือ
1.) บริการข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2.) บริการปฏิรูปที่ดินด้านการจัดที่ดิน
3.) บริการปฏิรูปเกษตรกรด้านองค์ความรู้ควบคู่การสร้างอาชีพและการพัฒนาจริยธรรม
4.) บริการปฏิรูปด้านการจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ที่ดิน
5.) บริการการแปลงสินทรัพย์ที่ดิน เพื่อเข้าสู่แหล่งทุน
6.) บริการจัดตั้งสถาบันเกษตรกร และการพัฒนาธุรกิจภาคประชาชน
7.) บริการข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในเขตที่ดินพระราชทาน
การถือครองที่ดิน | ||||||||||||
จังหวัด | ทั้งหมด | ที่ของตนเอง | ที่เช่า | ที่ได้ทำฟรี | ||||||||
ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | |
พระนครศรีอยุธยา | 153 | 184 | 1,225 | 3 | 3 | 35 | 153 | 182 | 1,190 | 0 | 0 | 0 |
ปทุมธานี | 264 | 357 | 4,283 | 7 | 10 | 115 | 264 | 356 | 4,168 | 0 | 0 | 0 |
นครปฐม | 64 | 87 | 912 | 0 | 0 | 0 | 64 | 87 | 912 | 0 | 0 | 2 |
นครนายก | 239 | 351 | 2,645 | 0 | 0 | 0 | 239 | 351 | 2,645 | 0 | 0 | 0 |
ฉะเชิงเทรา | 74 | 117 | 1,007 | 0 | 0 | 0 | 74 | 117 | 1,007 | 0 | 0 | 0 |
รวม | 794 | 1,096 | 10,072 | 10 | 13 | 150 | 794 | 1,093 | 9,922 | 0 | 0 | 2 |
การทำประโยชน์ในที่ดินของตนเองและที่เช่า | ||||||||||
จังหวัด | ที่ของตนเอง | ที่เช่า | ||||||||
การทำประโยชน์ | ประเภทที่ดิน | |||||||||
ทำเอง | ให้เช่า | ที่นา | ที่ไร่ | อื่นๆ | ||||||
ราย | แปลง | ราย | แปลง | ราย | แปลง | ราย | แปลง | ราย | แปลง | |
พระนครศรีอยุธยา | 3 | 3 | 0 | 0 | 31 | 35 | 3 | 3 | 117 | 142 |
ปทุมธานี | 8 | 9 | 1 | 1 | 5 | 7 | 57 | 57 | 203 | 267 |
นครปฐม | 0 | 0 | 0 | 0 | 37 | 43 | 0 | 0 | 36 | 44 |
นครนายก | 1 | 0 | 0 | 0 | 76 | 81 | 14 | 16 | 188 | 212 |
ฉะเชิงเทรา | 0 | 0 | 0 | 0 | 66 | 103 | 1 | 1 | 9 | 11 |
รวม | 12 | 12 | 1 | 1 | 215 | 269 | 75 | 77 | 553 | 676 |
การใช้ประโยชน์ในที่ดิน | ||||||||||||||||||
จังหวัด | ที่อยู่อาศัย | ที่นา | ที่ไร่ | ที่ปลูกไม้ผล | ที่ปลูกไม้ยืนต้น | อื่นๆ | ||||||||||||
ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | ราย | แปลง | ไร่ | |
พระนครศรีอยุธยา | 84 | 88 | 598 | 43 | 48 | 450 | 2 | 2 | 22 | 85 | 90 | 564 | 14 | 17 | 108 | 66 | 75 | 574 |
ปทุมธานี | 202 | 218 | 2,447 | 7 | 8 | 154 | 49 | 51 | 781 | 73 | 80 | 1,129 | 12 | 12 | 167 | 182 | 204 | 2,792 |
นครปฐม | 30 | 32 | 336 | 37 | 42 | 490 | 0 | 0 | 0 | 44 | 53 | 583 | 2 | 3 | 40 | 26 | 32 | 352 |
นครนายก | 150 | 150 | 496 | 77 | 83 | 1,252 | 16 | 18 | 264 | 28 | 29 | 182 | 12 | 12 | 33 | 80 | 91 | 660 |
ฉะเชิงเทรา | 56 | 55 | 714 | 62 | 100 | 969 | 0 | 0 | 0 | 4 | 4 | 49 | 0 | 0 | 0 | 35 | 39 | 472 |
รวม | 522 | 543 | 4,591 | 226 | 281 | 3,315 | 67 | 71 | 1,067 | 234 | 256 | 2,507 | 40 | 44 | 348 | 389 | 441 | 4,850 |