การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

คณะเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. เดินทางไปประชุมหารือด้านการประเมินความเสี่ยงการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร ร่วมกับบรรษัทการเงินแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Finance Cooperation: JFC) ณ ประเทศญี่ปุ่น

พฤษภาคม 31, 2567 | กิจกรรม ส.ป.ก.

คณะเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. เดินทางไปประชุมหารือด้านการประเมินความเสี่ยงการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร ร่วมกับบรรษัทการเงินแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Finance Cooperation: JFC) ณ ประเทศญี่ปุ่น

   วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. นายสุรชัย ยุทธชนะ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ประกอบด้วยนางบุณฑริกา กระจ่างวงษ์ อัครราชทูต ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ และนายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. คณะข้าราชการ ส.ป.ก. เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. เดินทางไปศึกษาดูงานองค์กรที่ได้รับสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเกษตรจากบรรษัทการเงินแห่งประเทศญี่ปุ่น (JFC)

   ช่วงเช้า คณะเดินทางไปศึกษาดูงานที่ฟาร์มสตอเบอรี่ Granberry Daichi เนื้อที่ 23.75 ไร่ จุดเด่นคือการปลูกสตอเบอรี่ภายในโรงเรือนอัจฉริยะ รางปลูกสตอเบอรี่สามารถปรับระดับได้ เพื่อตอบสนองความสูงของลูกค้าที่มารับบริการทำให้สามารถเข้าไปเก็บสตอเบอรี่ผลสดได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น ภายในบริเวณฟาร์มยังมีร้านจำหน่ายสตอเบอรี่ ผลผลิตทางการเกษตร และร้านอาหารให้บริการ และเป็นสถานที่มีชื่อเสียงในด้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร

   ช่วงบ่าย คณะเดินทางไปศึกษาดูงานที่ Yokota Farm เนื้อที่ 400 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่มีการเช่าพื้นที่ทำการเกษตรจากหน่วยงาน Farm Bank ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เช่าทำการเกษตร ภายในฟาร์มมีการปลูกข้าวปลอดสาร จำนวน 8 สายพันธุ์ โดยเป็นการปลูกแบบหมุนเวียน และวางแผนการปลูกเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี พร้อมทั้งมีการบริหารจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยี อาทิ การตรวจแปลงข้าวจากมุมสูง เพื่อประเมินการจัดการแปลง และมีการเก็บและบันทึกข้อมูลผลผลิตรายแปลง ประกอบกับ มีการบริหารจัดการที่สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะแรงงาน และการบริหารจัดการผลผลิตโดยมีโรงสีที่ใช้ในการแปรรูปข้าว และผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองสำหรับจำหน่ายให้ผู้สนใจ

   ผลจากการศึกษาดูงาน คาดว่าจะนำมาปรับใช้ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินได้ โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการลดต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการแปลง และการจัดการผลผลิตที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร

ป้ายกำกับ
ล่าสุด