การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ส.ป.ก. ร่วมติดตาม รมว.กษ. แถลงผลการดำเนินงาน กษ. “เกษตรฯ 99 วัน ทำได้จริง”

ธันวาคม 21, 2566 | กิจกรรม ส.ป.ก.

ส.ป.ก. ร่วมติดตาม รมว.กษ. แถลงผลการดำเนินงาน กษ. “เกษตรฯ 99 วัน ทำได้จริง”

วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 14.30 น. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ติดตาม ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมว.กษ.) แถลงข่าวผลการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) “เกษตรฯ 99 วัน ทำได้จริง” พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมช.กษ.) ณ ห้องประชุมธารทิพย์ 01 ชั้น 4 ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) อาคาร 99 ปี ม.ล.ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ ในการนี้ รมว.กษ. ได้เยี่ยมชมนิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ตามที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) แถลงนโยบายการให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อสร้างโอกาสในการมีอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในชีวิต โดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นโฉนด เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ นำมาพัฒนาที่ดินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า (รมว.กษ.) ขานรับนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเน้นเกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และมุ่งสู่การยกระดับ ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด

ทั้งนี้ ส.ป.ก. จะมีการมอบโฉนดเพื่อการเกษตร เป็นของขวัญปีใหม่แก่เกษตรกร ตามนโนบายของ รมว.กษ. ในวันที่ 15 มกราคม 2567 พร้อมกันทั่วประเทศ ณ ส.ป.ก. จังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยแผนการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2567 เป้าหมาย 500,000 แปลง และแล้วเสร็จ 22 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ. 2571

เกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากโฉนดเพื่อการเกษตร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

1. การพัฒนาด้านสิทธิ การเปลี่ยนมือระหว่างเกษตรกรที่ไม่ใช่เครือญาติ สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งที่ไม่ประสงค์ทั้งแปลงหรือบางส่วน

2. การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่มากขึ้น เพื่อให้เกษตรมีเงินทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิต การลงทุนด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น นำมาซึ่งรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังขยายวงเงินสินเชื่อเต็มวงเงินตามราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขยายวงเงินกู้ที่ใช้โฉนดเพื่อการเกษตรค้ำประกัน จาก 50% เป็น 80 - 100% ของราคาประเมิน รวมถึงธนาคารของรัฐอื่น ๆ ในการใช้โฉนดเพื่อการเกษตรค้ำประกันสินเชื่อบุคคล และความร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการใช้โฉนดฯ ค้ำประกันสินเชื่อได้

3. การสร้างรายได้เพิ่มจากพื้นที่สีเขียว “โฉนดต้นไม้” ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่ได้รับโฉนดเพื่อการเกษตร เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของชุมชน เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ช่วยชะลอการขยายตัวของภาวะโลกร้อน รวมถึงการพัฒนากลไกการตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต โดยความร่วมมือกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กรมป่าไม้ และ ธ.ก.ส.

นอกจากนั้นยังวางแนวทางการรับรองมูลค่าของไม้เศรษฐกิจที่ปลูกในพื้นที่โฉนดเพื่อการเกษตร เช่นยางพารา เพื่อนำไปเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่เกษตรกร โดยร่วมมือกับ กรมป่าไม้, ธ.ก.ส. และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และวางแนวทางสู่การสร้างรายได้จากผลผลิตที่เกิดจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ขึ้น เช่น เห็ด พืชท้องถิ่น เป็นต้น ต่อยอดสู่การพัฒนาวนผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นไม้มรดกที่สร้างประโยชน์ระยะยาวให้แก่รุ่นลูกหลาน

4. การเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันตัวบุคคล โดย ส.ป.ก. มีแนวทางในการจัดทำข้อตกลงร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการใช้โฉนดเพื่อการเกษตรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันตัวบุคคลในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล

ข่าว/ภาพ : กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

ป้ายกำกับ
ล่าสุด