การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการจัดตั้ง"เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลาและจังหวัดมุกดาหาร

มีนาคม 14, 2563 | กิจกรรม ส.ป.ก.

รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการจัดตั้ง "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดสงขลาและจังหวัดมุกดาหาร
 
          เมื่อวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา นายธนู มีแสงเงิน รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเขตโครงการจัดตั้ง "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลาและจังหวัดมุกดาหาร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลของที่ตั้งที่ดิน สภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ได้รับฟังปัญหาด้านต่างๆในการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่จังหวัดสงขลา มุกดาหาร สกลนคร และได้มอบแนวทางการปฏิบัติงาน ตามนโยบายการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
          จากการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าว รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะจัดตั้ง "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ในจังหวัดต่าง ๆ ตามแนวชายแดน
         เขตเศรษฐกิจพิเศษคืออะไร เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับอยู่แล้วตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 การนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 และเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496 โดยมีสาระสำคัญการให้สิทธิประโยชน์ ดังนี้
         การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรออกเป็นพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496 เพิ่มบทบัญญัติในหมวด 10 ตรี "เขตเศรษฐกิจพิเศษ"การจัดตั้งให้ออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและผู้ที่ประกอบการในเขตดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดี่ยวกับผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496 ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
        ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 และประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อประเทศไทย เพราะเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้
  1.เป็นการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  2.เป็นการส่งเสริมการส่งออก เพราะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการต่างๆ เช่น ค่าแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน
  3.เป็นการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตสินค้าจากต่างประเทศเข้าดำเนินการในประเทศไทย
  4.เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากประเทศไทย และประเทศต่างๆ ไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ
  5.ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
       เป้าหมายในปี 2557-2558 จะมีการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้สมบูรณ์โดยพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ ได้แก่
  1 .ด่านแม่สอด จ.ตาก
  2. ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว
  3. ด่านหาดเล็ก (ท่าเรือคลองใหญ่) จ.ตราด
  4. ด่านมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
  5. ด่านสะเดา จ.สงขลา
  6. ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ส่วนที่เหลืออีก 12 ด่านจะทยอยดำเนินการในระยะต่อไป
ป้ายกำกับ
ล่าสุด