การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการของ ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบที่ 1 เขตตรวจราชการที่ 2 จังหวัดปทุมธานี และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดปทุมธานี

กุมภาพันธ์ 5, 2568 | กิจกรรมส่วนกลาง

ผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการของ ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบที่ 1 เขตตรวจราชการที่ 2 จังหวัดปทุมธานี และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดปทุมธานี

         วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นายคมกฤษ  แป้นโพธิ์กลาง ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เขตตรวจราชการที่ 1, 2, 8 ประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการของ ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบที่ 1 เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดปทุมธานี โดยมี พลตำรวจสมัครกฤษณะ  สิงห์เพชร  ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุมพร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค ณ ห้องประชุม ส.ป.ก.ปทุมธานี 
         โอกาสนี้ ผู้ตรวจราชการกรม ได้ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหา แนวทางการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งกำชับให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้ให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานสำเร็จตามแผนงาน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป 
        จากนั้นเวลา 13.00 น. ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วย ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปทุมธานี ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ปทุมธานี ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน แปลงที่ดินของนายสุทิน  ทองฉิม และนางเกษร  ทองฉิม ตั้งอยู่ที่ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นที่ดินพระราชทาน แรกเริ่มคุณพ่อบุญส่ง  ทองฉิม บิดาของนายสุทินฯ และครอบครัวรักในอาชีพเกษตรกรรม ได้รับที่ดินพระราชทานมาประมาณ 25 ไร่ ได้ทำการเพาะปลูกพืชผักเชิงเดี่ยวเป็นหลัก และได้ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ทำให้คุณพ่อบุญส่งฯ ล้มป่วยและจากไปเพราะสารเคมี จึงเป็นที่มาของการเลิกใช้สารเคมี มาทำการเกษตรแบบผสมผลานปลอดสารเคมี ช่วงแรกปลูกเอง กินเอง ต่อมามีคนสนใจที่จะบริโภคผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้น จึงได้ขยายแปลงผัก สร้าง “สวนต้นน้ำ” ขึ้นมา โดยมีผักผลไม้ปลอดสารพิษมากกว่า 40 ชนิด อาทิเช่น ผักสลัด พริก มะเขือเทศ ผักปลัง ขนุน มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น เมื่อประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงจากการใช้สารเคมีมาทำการเกษตรปลอดสาร จึงได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่คนในชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชน สร้างกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งบ้านเฮา คนในชุมชนจึงเรียกกันว่า “สวนต้นน้ำ” เพราะเป็นเหมือนต้นแบบให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ ว่าผักไม่ใช้สารเคมี ใช้เพียงน้ำหมักชีวภาพก็สามารถเจริญงอกงามเหมือนพืชผักที่ใช้สารเคมี ทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเกษตรกร จากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเปลี่ยนมาปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ทำให้ชุมชนสามารถเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากความร่วมมือกันในกลุ่ม ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยสร้างความร่วมมือและความสามัคคีในชุมชน ทำให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมความยั่งยืนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในชุมชน
 
 ข่าว/ภาพ : นางสาวสิริญา  โภชน์เจริญ  
ประสานข้อมูล : พีรญา  ทิพโชติ

ป้ายกำกับ
ล่าสุด