การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้ตรวจราชการกรม ประชุมตรวจราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ 2566 รอบ 1 เขต 5 จังหวัดพัทลุง พร้อมลงพื้นที่ตรวจติดตามงานเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง

มีนาคม 16, 2566 | กิจกรรมส่วนกลาง

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 น. นายสมภพ ศรีเจริญ ผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. เขต 5 และนายสราวุฒิ แต่งสถิตย์ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.จังหวัด ร่วมประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงาน ตามแผนการตรวจราชการ ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบที่ 1 ได้รับทราบผลการดำเนินงานของพบว่าส่วนใหญ่แล้วเสร็จตามแผนงาน ทั้งงานจัดที่ดิน งานพัฒนา การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ด้านเงินกองทุน ส่วนกิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการได้รับแจ้งว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน

เวลา 11.00 น. ผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. ปฏิรูปที่ดินจังหวัด และคณะ ลงพื้นที่ติดตามงานจังหวัดพัทลุง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่
     1. พื้นที่ปฏิรูปที่ดินโครงการป่าเกาะเต่า-คลองเรียน ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ทับซ้อนที่สาธารณประโยชน์ทุ่งลานโย
เดิมมหาวิทยาลัยทักษิณขอใช้ประโยชน์ เนื่องจากเข้าใจว่าอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์ ต่อมาได้คืนพื้นที่ให้ ส.ป.ก.
    2. โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม เยี่ยมชมแปลงนางเกษร ทองคำ เจ้าของสวนเกษตรทองคำ เกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมภายในแปลงได้แก่ การปลูกผักบนกระเบื้อง ไม้ผล พืชผักสวนครัว ประมง เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจากพื้นที่ต่างๆ เข้าศึกษาดูงาน ฝึกอบรม และฝึกภาคปฏิบัติด้านการทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้กลับไปใช้ปฏิบัติในแปลงของตนได้อย่างแท้จริง

เวลา 15.00 น. ลงพื้นที่ติดตามงานจังหวัดตรัง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่
   1. พื้นที่ คทช. ในเขตปฏิรูปที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าใสป่าแก่ แปลง No. 108  เนื้อที่ 663.98 ไร่ ท้องที่หมู่ 4 ต.กะลาเส อ.สิเกา ซึ่ง ส.ป.ก. ได้ปิดป้ายประกาศขอยึดคืนเมื่อปี 2564 แต่ในปี 2565 ผู้ถือครองที่ดินแปลงดังกล่าวได้ร้องขอต่อศาลปกครองให้คุ้มครองชั่วคราวเพื่อทบทวนการพิจารณาการดำเนินงานของ ส.ป.ก. จึงอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของศาลปกครองก่อน

   2. พื้นที่สาธารณประโยชน์นาโต๊ะหมิง ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จังหวัดตรัง  พื้นที่ 106 ไร่
เดิมเป็นพื้นที่น้ำท่วม สภาพดินเป็นดินพรุ หากจะนำมาจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ รวมถึงวิเคราะห์ความเหมาะสม และความคุ้มค่าที่จะได้รับจากการพัฒนาพื้นที่

ภาพ/ข่าว : กลุ่มตรวจและประสานราชการ

ป้ายกำกับ
ล่าสุด