การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ส.ป.ก. ร่วมงานสัมมนา "ตลาดนำการผลิต แซนด์บ๊อกซ์ เชียงราย เกษตรกรได้อะไร"

ธันวาคม 30, 2564 | กิจกรรมส่วนกลาง

     เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานสัมมนา "ตลาดนำการผลิต แซนด์บ็อกซ์ เชียงราย เกษตรกรได้อะไร" โดยนางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะทำงานรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ นายกิตติ แดงพลอย ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เขตตรวจราชการที่ 15, 16 และ17 พร้อมด้วยนายวีระ หอยสังข์ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน ผู้แทนปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ ส.ป.ก. ให้ร่วมงานสัมมนาฯ พร้อมทั้ง หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย ตลอดจนผู้นำภาคประชาชน และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ เข้าร่วมงานสัมมนาฯ ณ อาคารคชสาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

     โดยในงานสัมมนาฯ ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสมาคมผู้ค้าผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย กับเครือข่ายโคเนื้อล้านนา พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสมาคมการค้าผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย กับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โอกาสนี้ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บรรยายพิเศษและร่วมเสวนา เรื่องตลาดนำการผลิต แซนด์บ็อกซ์ เชียงราย เกษตรกรได้อะไร
ในตอนหนึ่งนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า "รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งประสบปัญหานานัปการ ทั้งสภาพดินฟ้าอากาศไม่เหมาะสม เกิดภัยพิบัติ ราคาผลผลิตตกต่ำ รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จึงมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการขับเคลื่อนแซนด์บ็อกซ์ ปศุสัตว์ เพื่อส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่นำร่องในการขับเคลื่อนแซนด์บ็อกซ์ ปศุสัตว์ โดยมอบกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด โครงการนี้ เน้นชนิดสัตว์โคเนื้อ ส่งเสริมการผลิตและส่งออก ตามความต้องการของตลาด ลดต้นทุนด้วยการปลูกพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันทางการค้ากับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์ ในพื้นที่ "Sandbox ปศุสัตว์" ผลิตโคเนื้อและพืชอาหารสัตว์ ภายใต้มาตรการควบคุมพิเศษ ตามแนวทางการผลิตที่กำหนด เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากดำเนินการในพื้นที่ Sandbox เชียงราย ประสบผลสำเร็จ จะเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ มีศักยภาพและความเหมาะสมต่อไป ให้มีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน"
ป้ายกำกับ
ล่าสุด