การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้ตรวจราชการ กษ. ประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (รอบที่ ๑) ณ ห้องประชุมโครงการชลประทานอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

กุมภาพันธ์ 25, 2563 | กิจกรรมส่วนกลาง

    เมื่อวันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๙.๐๐ น. นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต ๑๔ เป็นประธานการประชุม ตรวจติดตามความก้าวหน้าผลดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (รอบที่ ๑) พร้อมด้วย ผู้แทนส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม ๓๐ แห่ง ณ ห้องประชุมชำนาญระเบียบกิจ โครงการชลประทานอำนาจเจริญ เลขที่ ๖๐ หมู่ ๒ ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    โอกาสนี้ นางสาววรรณพร ดอกจำปา ผู้ตรวจราชการกรม (เขตตรวจราชการที่ ๙, ๑๓, ๑๔) ในฐานะผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางพยอม บุญทศ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน ผู้แทนปฏิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ นางสาวพรพรรณ ภูวนธรรม นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มตรวจและประสานราชการ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้เข้าร่วมประชุมและรายงานผลความก้าวหน้าผลดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการ 

    การประชุมครั้งนี้ มีสาระสำคัญการพิจารณา รวม ๖ เรื่อง คือ

    ๑. ความก้าวหน้าผลดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๑. โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่(ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) การบริหารจัดการการผลิตสินค้าการเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) การยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ตลาดเกษตรกร เกษตรทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร และธนาคารสินค้าเกษตร) ๒. โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ๓. การบริหารจัดการสินค้าเกษตร โดยใช้หลักการตลาดนำการเกษตร ๔. การส่งเสริมงานด้านเกษตรอินทรีย์ ๕. การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ๖. การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของเกษตรกรเชิงรุกฉับไวและการหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที ๗. การส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา ๘. การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ๙. การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ๑๐ .การแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร ๑๑. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ๑๒. แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร

    ๒. การตรวจติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการ (๑. สถานการณ์มันสำปะหลังในพื้นที่ ๒. การทำการเกษตรอัจฉริยะ ๓. สถานการณ์การผลิตพืชสมุนไพร)

    ๓. ผลความก้าวหน้าตามแผนงาน/โครงการบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๘ โครงการ) ได้แก่ ๑. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กรมชลประทาน) ๒. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อและโคนมคุณภาพสูง (กรมปศุสัตว์) ๓. การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ (กรมพัฒนาที่ดิน) ๔. การพัฒนาคุณภาพดินพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ (กรมพัฒนาที่ดิน) ๕. โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรไปสู่สินค้าชนิดใหม่ตามศักยภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กิจกรรมเพิ่มศักยภาพไม้ดอกไม้ประดับครบวงจร) (กรมส่งเสริมการเกษตร) ๖. โครงการยกระดับการผลิตหม่อนไหมและฝ้ายแบบครบวงจร (กรมหม่อนไหม) ๗. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐ่านเกษตรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓๐,๐๐๐ ไร่ (กรมการข้าว) ๘.โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรมประมง)

    ๔. การป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ไม้ผลเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดบุรีรัมย์)

    ๕. การเฝ้าระวังการเผาเศษซากพืชและวัสดุทางการเกษตร (กรมส่งเสริมการเกษตร)

    ๖. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน/โครงการที่มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร
 
ข่าว/ภาพ : กลุ่มตรวจและประสานราชการ สำนักบริหารกลาง
ผู้ประสานข้อมูล : สมชาติ รัตนมาลี
ป้ายกำกับ
ล่าสุด