การแสดงผลตัวอักษร
1764 ศูนย์บริการข้อมูล
TH EN
image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้ตรวจราชการ กษ.และผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จังหวัดนครสวรรค์ (รอบที่ ๑) ณ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์

กันยายน 14, 2562 | กิจกรรมส่วนกลาง

           เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๒ จังหวัดนครสวรรค์ (รอบที่ ๑) ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โอกาสนี้ นางสาววรรณพร ดอกจำปา ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นายวิวรรธน์ สงประเสริฐ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ชั้น ๓ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
         ทั้งนี้ มีสาระสำคัญในการประชุมตามระเบียบวาระที่ ๑ และ ระเบียบวาระที่ ๓ คือ
        ๑. แนวทางการตรวจติดตามงานโครงการตามแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ (รอบที่ ๑)
        ๒. การตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          - โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (เกษตรกรมีระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ๑๓ ชนิดสินค้า จำนวน ๗๕ แปลง เกษตรกร ๔,๙๓๑ ราย พื้นที่ ๑๒๓,๗๒๔ ไร่)
          - โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.หลัก ๑๕ แห่ง คือ ศพก.ข้าว ๑๒ แห่ง ศพก.มันสำประหลัง ๒ แห่ง ศพก.อ้อยโรงงาน ๑ แห่ง ศพก.เครือข่าย ๑๘๐ แห่ง โดยพัฒนาศูนย์เครือข่ายด้านเกษตร ๙๐ ศูนย์ /พัฒนาศูนย์เครือข่ายด้านประมง ๗๕ ศูนย์/พัฒนาศูนย์เครือข่ายด้านปศุสัตว์ ๑๐ ศูนย์/พัฒนาแปลงต้นแบบ ๗ แปลง)
          - โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ในปีพ.ศ.๒๕๖๒ มีเป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง ๓๐๐ ราย พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer ๔๐ ราย พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ในพื้นที่ ๑๕ อำเภอ รวม เกษตรกรที่ผ่านการอบรม ๒๑๐ ราย อยู่ระหว่างดำเนินการอีก ๙๐ ราย
          - โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map ) พื้นที่เป้าหมาย ๓,๘๙๐ ไร่
          - โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร (เป้าหมายอบรมเกษตรกร ๔๒๐ ราย)
          - โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ (อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่เกษตรกร ๒๙๒ ราย)
          - โครงการตลาดเกษตรกร (อบรมเกษตรกรผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตรกร รวม ๓ หลักสูตร เกษตรกร ๑๕ ราย)
          - โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่(เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ ๑,๑๔๔ ราย อบรมเกษตรกร โดยปรับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ , จัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพ, จัดทำผังแปลงและแผนการผลิต)
           - แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร (พื้นที่ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนปี ๒๕๖๒ เนื้อที่ ๔๑๖,๖๑๔ ไร่)
           - การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (พื้นที่เป้าหมาย ๗๘๗ บ่อ)
           - โครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร
           -โครงการธนาคารสินค้าเกษตร
           - โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน
           - แก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย (IUU) 
         ๓. การตรวจติดตามโครงการกรณีพิเศษ
           - โครงการสานพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา(พื้นที่เพาะปลูก ๖๙,๗๖๗ ไร่ ใน ๑๔ อำเภอ)
           - การตลาดนำการผลิต
           - โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๒
           - โครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน(โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสังกัดสพฐ. ,สังกัดเทศบาล , สังกัดเอกชน รวม ๙๐๐ แห่ง)
           - โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
           - การส่งเสริมและพัฒนาระบบการเกษตรพันธสัญญา
           - หนี้สินเกษตรกร(เกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้ ปี ๒๕๔๖ - ๒๕๖๑ รวม ๖,๓๗๔ ราย จำนวนเงินหนี้ ๑,๕๕๑,๘๐๖,๗๕๘.๒๘ บาท
           - การแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร
           - การรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ตามข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑)
ป้ายกำกับ
ล่าสุด