เมื่อวันพุธที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีนางสาววรรณพร ดอกจำปา ผู้ตรวจราชการกรม (เขต ๑๕,๑๖,๑๗,๑๘) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) และในฐานะผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสงคราม ปลอบโยน ปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร นางอรนันท์ อภิวัฒน์ปุญญบาล นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน
นางสาวพรพรรณ ภูวนธรรม นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการพิเศษ กลุ่มตรวจและประสานราชการ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต ๑๘ จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร
โอกาสนี้ ผู้ตรวจราชการกรม และปฎิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานตามภารกิจและร่วมชี้แจงโครงการตามภารกิจของส.ป.ก และให้ข้อแนะนำ/ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และงานสำคัญตามนโยบาย/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ มีสาระสำคัญใน ๒ เรื่อง คือ
- การตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑๔ หัวข้อ คือ
๑.โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๔ แปลง เกษตรกร ๓,๒๔๑ ราย เนื้อที่ ๖๑,๘๖๗ ไร่
๒. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศพก.หลัก ๑๑ แห่ง
๓.โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง(Smart Farmer) เกษตรกรเป้าหมาย ๕๗๖ ราย(ส.ป.ก.อบรมเกษตรกร ๙๐ ราย)
๔.โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก(Zoning by
Agri-Map) พื้นที่เป้าหมาย ๓,๘๕๐ ไร่ รวม ๕ กิจกรรม (๑.สนับสนุนปัจจัยการผลิต ๒.ปรับเปลี่ยนพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ ๓.ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยการผลิต และติดตามผล ๔.ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยการผลิตและติดตามผล ๕.จัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพฯ)
๕.โครงการยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร เกษตรกร เป้าหมาย๑,๙๗๘ ราย รวม ๑๖ กิจกรรม
๖.โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์(เกษตรกรรมยั่งยืน) เป้าหมายพื้นที่พัฒนา เนื้อที่ ๒,๓๔๕ ไร่ พื้นที่เกษตรปลอดภัย(ที่ได้รับการรับรอง) รวม ๑,๒๒๒ ราย ๑๓,๓๒๖ ไร่ และ ๒๕๓ ฟาร์มมาตรฐาน และมีเกษตรกร
ที่ได้ผ่านหลักสูตรมาตรฐานอินทรีย์ จำนวน ๒๓๙ ราย เนื้อที่ ๒,๔๗๐.๑๔ ไร่
๗. โครงการตลาดเกษตรกร รวม ๓ กิจกรรม คือ ๑.พัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกร ๑๕ ราย ๒.พัฒนาตลาดเกษตรกร ๑ แห่ง ๓. การเชื่อมโยงและส่งเสริมเครือข่ายตลาด ๑๕ ราย โดยตลาดเกษตรกร จัดทุกวันศุกร์ เวลา ๐๖.๓๐ - ๑๑.๐๐ น. ณ บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
๘. โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ รวม ๑๔ กิจกรรม เกษตรกรเป้าหมาย ๖,๔๐๙ ราย
๙. แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร พื้นที่ปลูก ๑,๐๓๐,๒๕๑ ไร่ ประเภทพันธุ์ข้าวที่ส่งเสริม คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไทย ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวตลาดเฉพาะ
๑๐.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สถานการณ์น้ำโดยรวม มีพื้นที่ขาดแคลนน้ำบางแห่ง คือ ๑.พื้นที่ฝั่งขวาโครงการส่งน้ำฯ แม่ยม(บางแห่ง) ๒.พื้นที่นาข้าวโครงการอ่างฯห้วยท่าแพ ขาดแคลนน้ำประมาณ ๓๙,๐๐๐ ไร่ ๓.พื้นที่นาข้าวโครงการส่งน้ำฯวังบัว ขาดแคลนน้ำ
๑๑.โครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร จังหวัดกำแพงเพชร ไม่มีการดำเนินการ
๑๒.โครงการธนาคารสินค้าเกษตร รวม ๕ กิจกรรม คือ ๑.ธนาคารสินค้าเกษตร ปี ๒๕๖๐ (จัดทำแผนประจำแหล่งน้ำ และติดตามผลอยาางต่อเนื่อง) ๒.ธนาคารสินค้าเกษตร ปี ๒๕๖๒(แหล่งน้ำใหม่) ๓.สนับสนุนธนาคารฯ แหล่งใหม่ ๔.ติดตามธนาคารสินค้าเกษตร(แหล่งเก่าฯ) ๕.ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม (โดยจัดประเภทธนาคาร ได้แก่ ผลผลิตเกษตรด้านประมง ปุ๋ยอินทรีย์ หม่อนไหม และโค-กระบือตามพระราชดำริ)
๑๓.โครงการจัดล ผที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน รวม ๕ พื้นที่ เนื้อที่ ๔,๘๒๐ ไร่ ๑๒ ตาราวา ในพื้นที่ ๕ ตำบล คือตำบลพานทอง ตำบลหนองคล้า ตำบลสระแก้ว ตำบลอ่างทอง และตำบลลานดอกไม้ และดำเนินการแล้ว ๒ พื้นที่
๑๔.การแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย(IUU) จังหวัดกำแพงเพชร ไม่มีการดำเนินการ
- การตรวจติดตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายเฉพาะเรื่องหรือเป็นกรณีพิเศษ ๘ หัวข้อ คือ
๑.โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป้าหมายพื้นที่เหมาะสม S1+S2 เนื้อที่ ๓๓๙,๑๖๒ ไร่ ในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ผลสำรวจความต้องการของเกษตรกร ๓,๑๖๖ ราย จำนวน ๓,๙๒๔ แปลง เนื้อที่ ๔๐,๔๒๐.๕๐ ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ในเขตชลประทาน มีเกษตรกร ๑,๔๒๓ ราย จำนวน ๑,๘๔๙ แปลง เนื้อที่ ๑๙,๖๑๒.๕๐ ไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน มีเกษตรกร ๑,๗๔๖ ราย จำนวน ๒,๐๗๒ แปลง เนื้อที่ ๒๐,๗๙๒ ไร่
๒. การตลาดนำการผลิต จำนวนการรับซื้อผลผลิต ๑,๖๓๘ ตัน มูลค่า ๑๗.๓ ล้านบาท จำนวนการขายผลผลิต ๑,๒๐๓ ต้น มูลค่า ๑๖.๑ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๑ การซื้อขายล่วงหน้า จำนวน ๕ แปลง มีปริมาณ ๒,๗๖๒ ตัน มูลค่า ๒๕ ล้านบาท
๓. โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยสำรวจสุนัขและแมว ๒๐๓,๙๖๗ ตัว สนับสนุนการจัดซื้อวัคซีน ๘๙ แห่ง บริการผ่าตัดทำหมัน ๑,๒๘๒ ตัว บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า(รอบจุดเกิดโรครัศมี ๕ กิโลเมตร
๔. โครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน รวม ๖๕๒ แห่ง (โรงเรียนรัฐบาลสังกัด สพฐ.๔๐๘ โรงเรียนเอกชน ๓๖ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนสังกัด อปท. ๒๐๘ แห่ง)
๕. โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์
ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร (๑.สินค้าข้าว ๒.สินค้าผัก ๓.สินค้าผลไม้)
๖. การส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลทุกช่องทาง และรับขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบการในระบบเกษตรพันธสัญญา จำนวน ๓ แห่ง
๗. หนี้สินเกษตรกร เป้าหมายลูกหนี้ ธกส. (โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ,สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ) เป้าหมาย ลูกหนี้ ธกส.จำนวน ๑,๑๘๔ ราย
๘. การแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร เชิญชวนขึ้นทะเบียนเกษตรกร วางมาตรการจำกัดการใช้ สารเคมี ๓ ชนิด ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ
- ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร
- ข้าราชการสำนักงานเกษตรและสำนักงานอำเภอ ที่ผ่านการอบรมจากกรมวิชาการเกษตร ๒๔ ราย
- ร้านค้าที่จำหน่ายสารเคมีทางการเกษตร ๘๗๘ ร้านค้า
- จัดอบรม เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ณ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง หรือทางเวปไซต์ หรือ ผ่าน App ของหน่วยงาน
ข่าว...กลุ่มตรวจและประสานราชการ
ภาพ...นางสาวพนิดา นามสีฐาน