image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เข้าร่วมรับฟังกิจกรรม Live Your ldea Mattter และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น เรื่องที่จะสนับสนุนให้บุคลากรของรัฐ ของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ผ่านระบบ Facebook Page และ Youtube)

มิถุนายน 21, 2566 | ภาพข่าว

เข้าร่วมรับฟังกิจกรรม Live Your ldea Mattter และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น เรื่องที่จะสนับสนุนให้บุคลากรของรัฐ ของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ผ่านระบบ Facebook Page และ Youtube)

        ด้วยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมจัดกิจกรรม Live Your ldea Matter โดยเชิญหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น / เรื่องที่จะสนับสนุนให้บุคลากรของรัฐ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนางานให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของประชาชน ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2566 มีกำหนดจัดกิจกรรม 3 ครั้ง ได้แก่ 1) ครั้งที่ 8 หัวข้อ “บริหารคนยุคใหม่ กล้าคิด กล้าทำ ไม่ติดกรอบ” ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566  เวลา 14.00 – 15.30 น. ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณธีรยุทธ์ ดาวเรือง Development Center Lead เป็นวิทยากร 2) ครั้ง 9  หัวข้อ “Stakeholder Management บริหารผู้มีส่วนได้เสียอย่างไรให้สำเร็จ” ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 – 15.30 น. ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณธนวิชญ์ ต้นกันยา CEO บริษัท Horganice ที่พัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของตลาด หอพัก และหน่วยงานรัฐบริหารพื้นที่ได้อย่างมืออาชีพ เป็นวิทยากร และ 3) ครั้งที่ 10 หัวข้อ “เคล็ดลับเล่าเรื่องอย่างไร ให้คนบอกต่อ” ในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 – 15.30 น. ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณลินดา ไกรวณิช ผู้ร่วมก่อตั้ง Magnetolabs และ Content Shifu ที่ส่งต่อองค์ความรู้ด้าน Content Marketing เป็นวิทยากร โดยกิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ Facebook Page : Opengovthailand และผ่านระบบ Youtube ของสำนักงาน ก.พ.ร. ทั้ง 3 ครั้ง

        ในการนี้ เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ส.ป.ก. (กพร. ส.ป.ก.) ได้เข้าร่วมรับฟังกิจกรรมดังกล่าวฯ ในส่วนของครั้ง 9  หัวข้อ “Stakeholder Management บริหารผู้มีส่วนได้เสียอย่างไรให้สำเร็จ” ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 – 15.30 น. ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณธนวิชญ์ ต้นกันยา CEO บริษัท Horganice ที่พัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของตลาด หอพัก และหน่วยงานรัฐบริหารพื้นที่ได้อย่างมืออาชีพ เป็นวิทยากร โดยสรุปประเด็นการเข้าร่วมรับฟังกิจกรรม Live Your Idea Matter ของ สำนักงาน ก.พ.ร. หัวข้อบริหารผู้มีส่วนได่ส่วนเสียอย่างไรให้สำเร็จ ดังนี้ 1.) ในทุกการเปลี่ยนแปลงจะมีความผิดพลาด แต่ความผิดพลาดมันคือการเรียนรู้ แต่คนเรามักจะกลัวว่าเวลาผิดพลาดแล้ว จะหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ดังนั้นเราต้องออกแบบวิธีการสร้างความรับผิดชอบใหม่ที่ Save คนทำงานให้กล้าตัดสินใจ เพราะถ้าออกแบบดีเมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็จะช่วยลดความเสี่ยง ไม่บั่นทอนกำลังใจของคนทำงาน จนทำให้ไม่กล้าตัดสินใจที่สุดท้ายก็กลับไปอาศัยวิธีการตัดสินใจแบบเดิมๆที่เคยทำกันมา ซึ่งเราจะต้องหาจุดร่วมๆกัน ว่าผิดแค่ไหนที่พอยอมรับได้  เพราะถ้าเรายอมรับไม่ได้เลย การเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจเกิดขึ้น 2). เราควรเข้าใจสิ่งที่ประชาชนอยากได้ แล้วหาจุดร่วมๆกันว่า มันควรอยู่ตรงไหน เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมักจะคิดถึงสิ่งที่เราอยากได้ อยากให้เป็น แล้วเอาไป force ประชาชน โดยไม่มองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3). วัฒนธรรมไทย เรื่องความอาวุโส ที่มักมองว่าเด็กคิดต่างมองไม่เหมือนตนเอง = ผิด ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความคิดว่าความเห็นต่าง ไม่เท่ากับ ผิด เราควรเอาสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมาเป็นจุดร่วม แล้วหาแนวทางบนความคิดเห็นที่แตกต่างร่วมกัน เพราะประสบการณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยของคนไม่เหมือนกัน ต้องเปิดใจ อย่าเอาตำแหน่งและวัยเป็นตัวตั้ง หรือเป็นฐานในการตัดสินใจ 4). Mind set ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ ต้องมีการออกแบบโดยมีการเข้าใจคนอื่นก่อน 5). ในการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรมองว่า ความคาดหวังของประชาชน คือ เป้าหมาย โดยที่ ข้อจำกัดของภาครัฐ คือ เงื่อนไข ดังนั้นผู้บริหารองค์กรอาจต้องทบทวนว่าบนข้อจำกัด เราสามารถปลดล็อคเพื่อให้คนทำงาน ทำงานได้ง่ายขึ้นไหม และภายใต้ข้อจำกัด เราสามารถยอมรับความเสี่ยง และมีแนวทางบริหารความเสี่ยงไหม 6). ถ้าสิ่งที่ทำไม่เป็นไปตามสิ่งที่หวัง เราจะบริหารจัดการความรู้สึกอย่างไร = เราต้องหาจุดร่วมๆกัน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเราต้องเข้าใจความรู้สึก/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการผิดหวัง 7). แนวทางบริหารอำนาจในความสัมพันธ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย = เราควรเปลี่ยน mindset ของคนจากบนลงล่าง และจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเราควรตั้งคำถามว่าบนข้อจำกัด ว่ามันควรจะมีข้อจำกัดนั้นอยู่อีกไหม ซึ่งถ้าคำตอบคือไม่ ดังนั้นคนที่ควรจะแก้ไขข้อจำกัดจริงๆแล้วอาจไม่ใช่คนทำงาน 8). จริยธรรมในการทำงานกับการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีแนวทางโดยเราต้องมองให้ออกว่า จริยธรรมเป็นข้อจำกัด หรือเป็นปัญหา ถ้าจริยธรรมเป็นปัญหาในการทำงาน ก็ควรตั้งคำถามว่าจริยธรรรมนั้นควรมีอยู่หรือเปล่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปตามคาดหวังของประชาชน 9). เครื่องมือ หรือตัวช่วยในการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรใช้วิธีปรับ mindset ของคนทำงาน เช่น ใช้การ Brainstorm ฟังผู้อื่นให้มากขึ้น /แลกเปลี่ยนมุมมองที่แตกต่างเพื่อผลลัพธ์ 10). เทคโนโลยีสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง ยังต้องมีการลองผิดลองถูก 11). คำแนะนำสำหรับข้าราชการในการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย = เราไม่ควรท้อกับการเป็นข้าราชการที่เวลาเจอเงื่อนไข/ข้อจำกัดในการทำงาน เราควรมองว่าการเป็นข้าราชการ = การได้โอกาสทำงานเพื่อประชาชน เพื่อเปลี่ยน mindset และเกิดจุดร่วมในการทำงานร่วมกันของคนในทีม โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุมชี้แจงครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้บริการสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้ความสนใจ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และอยู่ตามส่วนภูมิภาคต่างๆ ได้เข้าร่วมรับฟัง และให้ข้อคิดเห็นผ่านช่องทางแซทผ่านสื่อออนไลน์ด้วย เพื่อเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Facebook Live) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาของการเดินทาง และสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกที่ ร่วมทั้งเป็นการลดความเสี่ยง และป้องกันกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) พร้อมลดความแออัดของการมารวมตัวเข้าร่วมประชุมกันในห้องประชุมเป็นจำนวนมาก และลดความเสี่ยงของการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในส่วนของ กพร. ส.ป.ก. เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องควบคุมการประชุมออนไลน์ ห้องกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ห้อง 105) ชั้น 1  ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ  

 

ข่าวโดย : นายทรงเกียรติ สุเทพากุล และ นางสาวกรวรรณ เตชะภัทรเมธากุล

ภาพโดย :  นายทรงเกียรติ สุเทพากุล และ นายสุทธิวัฒน์ แสงไทยทวีพร

ป้ายกำกับ
ล่าสุด