พฤศจิกายน 3, 2566 | ภาพข่าว
เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 2 (1) ร้อยละชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับหน่วยงาน
วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้จัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 2 (1) ร้อยละชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับหน่วยงาน จากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้กำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ตัวชี้วัด 2 (1) ร้อยละชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการประเมินการปฏิบัติราชการของหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และสำนักงานพัฒนาพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ในการสนับสนุนหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และจังหวัด ให้จัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการจัดทำระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด สสช. จึงได้กำหนดให้มีการประชุมชี้แจงการดำเนินงาน ตัวชี้วัด 2 (1) ร้อยละชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับหน่วยงานราชการ โดยเน้นการอบรมเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด วิธีการปรับปรุงและพัฒนาชุดข้อมูลให้มีความครบถ้วน เป็นปัจจุบัน วิธีการพัฒนาชุดข้อมูลไม่มีโครงสร้างและมีโครงสร้างให้มีความพร้อมใช้แบบอัตโนมัติ (Machine Readable) และการอบรมหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการนำชุดข้อมูลมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ นั้น
โดยในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีเจ้าหน้าที่จากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ส.ป.ก. และเจ้าหน้าที่จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส.ป.ก. เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวฯ จาก สสช. ในครั้งนี้ ผ่านการประชุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบออนไลน์ Zoom Meeting) โดยการประชุมในครั้งนี้ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุม เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมประชุม และลดระยะเวลาของการเดินทาง รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกที่ ร่วมทั้งเป็นการลดความเสี่ยง และป้องกันกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) พร้อมลดความแออัดของการมารวมตัวเข้าร่วมประชุมกันในห้องประชุมเป็นจำนวนมาก และลดความเสี่ยงของการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยการเข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องควบคุมการประชุมออนไลน์ ห้องกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ห้อง 105) ชั้น 1 ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ
ข่าว และภาพโดย : นายทรงเกียรติ สุเทพากุล