สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
• ได้รับการจัดที่ดินและทำกินในที่ดินที่พอเพียงแก่การครองชีพ
• มีสิทธิที่จะสร้างที่อยู่อาศัย ยุ้งฉาง ขุดบ่อ โดยไม่เกินร้อยละ 5 ของพื้นที่
• มีสิทธิที่จะได้รับสินเชื่อจากกองทุนปฏิรูปที่ดิน โดยผ่านทางสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินในพื้นที่นั้นๆ
• ได้รับการบริการทางด้านวิชาการจาก ส.ป.ก. ในรูปแบบของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
• มีสิทธิที่จะใช้บริการจาก ส.ป.ก. ในรูปแบบของศูนย์บริการประชาชนที่ ส.ป.ก.จังหวัด และศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่ดินของเกษตรกรตั้งอยู่
• ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ป.ก. เพื่อให้เกษตรกรรวมตัวกันในรูปของนิคมเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
• เกษตรกรมีสิทธิจะได้รับการพัฒนาที่ดินทำกินและแหล่งน้ำให้สามารถ ประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• เกษตรกรมีสิทธิที่จะสละสิทธิ์การทำประโยชน์ที่ดิน เพื่อ ส.ป.ก.จะได้นำที่ดินไปจัดให้เกษตรกรรายอื่นต่อไป
• กรณีเกษตรกรเสียชีวิต ทายาท เช่น คู่สมรส ลูก หลาน สามารถเข้าทำประโยชน์ในที่ดินสืบต่อไปได้
หน้าที่ของเกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดิน
• ต้องทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง และไม่นำที่ดินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนไปให้บุคคลอื่นไม่ว่าจะโดยการขาย ให้เช่า หรือเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
• ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนเป็นเหตุให้ที่ดินเสื่อมสภาพความเหมาะสมแก่การประกอบการเกษตร
• ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก. และปฏิบัติตามพันธะกรณีที่มีอยู่สถาบันการเงินหรือบุคคลที่ดำเนินงานร่วมกับ ส.ป.ก.
• ไม่ขุดบ่อเกินร้อยละ 5 ของเนื้อที่ที่ได้รับมอบ
• ไม่ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างเกินสมควร
• ดูแลทรัพย์สินของทางราชการ ทั้งที่ใช้ประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม เช่น หมุดหลักเขตที่ดิน ถนน แหล่งน้ำ
• ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
• ยินยอมทำสัญญาเช่าหรือซื้อ หรือสัญญาจัดให้ โดยมีค่าชดเชยและต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น