image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ประวัติความเป็นมา

พฤศจิกายน 28, 2563 | หน้าเว็บ

ประวัติความเป็นมา ส.ป.ก. พิจิตร

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้จัดตั้งขึ้นโดยของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มีฐานะเทียบเท่ากรมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในส่วนกลาง) และได้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร (ส.ป.ก.พิจิตร) เป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2521 โดยมีประกาศเขตปฏิรูปที่ดินขึ้นครั้งแรก ในเขตพื้นที่ ที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามของราชการกรมป่าไม้ พ.ศ. 2486 ต่อมากรมป่าไม้กำหนดเป็นเขตป่าเตรียมการสงวนบึงนาราง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ประมาณ 358,514 ไร่

ที่ตั้ง สถานที่ติดต่อ ส.ป.ก. พิจิตร

ส.ป.ก. พิจิตร ตั้งอยู่อาคารเลขที่ 29/19 ถนนคลองคะเชนทร์ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000 โทร. 0-5661-2006,0-5669-90395 โทรสาร 0-5661-2006 ในที่ราชพัสดุ เนื้อที่ 8 ไร่ 10 ตารางวา

พื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร มีพื้นที่ที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน มี 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ที่ดินของรัฐ
  2. ที่ดินของเอกชน
  3. ที่ดินโครงการกองทุนที่ดิน

1.พื้นที่ดินของรัฐ โครงการป่าเตรียมการสงวนบึงนาราง

ป่าบึงนาราง เป็นป่าที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามทางราชการกรมป่าไม้ เมื่อ พ.ศ. 2486 ต่อมากรมป่าไม้ได้เตรียมการสงวน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้เตรียมการสงวน เมื่อ พ.ศ.2509 มีเนื้อที่ประมาณ 362,121 ไร่ (พื้นที่ตามการสำรวจรังวัดของ ส.ป.ก.)และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้ ส.ป.ก. นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อ พ.ศ. 2520 มีอาณาเขตครอบคลุม 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล กิ่งอำเภอบึงนาราง และอำเภอวชิรบารมี (ปัจจุบันมีตำบลและหมู่บ้าน 14 ตำบล 108 หมู่บ้าน) และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2521  

ป่าที่จัดสรรหนองปลาไหล หัวดง เขาทราย เขาเจ็ดลูก ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2542 มีเนื้อที่ดำเนินการ5,713 ไร่

ป่าคอปล้อง อำเภอโพทะเล ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอบึงนาราง มีพื้นที่คาบเกี่ยวจังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ซึ่งบางส่วนเป็นพื้นที่ซ้อนกับป่าเตรียมการสงวนบึงนาราง มีเนื้อที่รวมประมาณ 5,303 ไร่ มีพื้นที่ซ้อนกันกับป่าเตรียมการสงวน บึงนาราง ประมาณ 3,935 ไร่

2.พื้นที่เอกชน

โครงการปฏิรูปที่ดินอำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ และอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ได้มีพระราชกฤษฏีกากำหนด เขตที่ดินในท้องที่อำเภอทับคล้อ ประกอบด้วย 4 ตำบล คือ ตำบล ทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง ตำบลเขาทราย และตำบลเขาเจ็ดลูก ท้องที่ อำเภอตะพานหิน 3 ตำบล คือ ตำบลวังหลุม ตำบลดงตะขบ และ ตำบลหนองพยอม และได้ประกาศเขตเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2526 และวันที่ 27 ธันวาคม 2527 และอำเภอ โพทะเล ทั้งอำเภอ ปัจจุบัน ส.ป.ก.พิจิตร จัดซื้อที่ดินได้รวม 12,789 ไร่

3.ที่ดินโครงการกองทุนที่ดิน ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินในพื้นที่ อำเภอ ตะพานหิน ครั้งแรกในปี 2536 ตามแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิรูปที่ดิน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 133-2-77 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้าน ไผ่เกาะ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัด พิจิตร จัดเป็นแปลงให้เกษตรกรผู้รับจ้างทางการเกษตรเข้าทำ ประโยชน์ทั้งสิ้น 9 ครอบครัว ปัจจุบันได้ดำเนินการแปลงหนี้ ค่าที่ดินตามโครงการกองทุนที่ดินเป็นเช่าซื้อ ตามโครงการ กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ข้อมูลอื่น ๆ ส.ป.ก.พิจิตร
รายชื่อเกษตรกรตัวอย่างในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร

ลำดับที่ชื่อ-สกุล
 
ประเภท
 
ปีที่ได้รับการคัดเลือก
1นายสมภาร แก้วเกิดผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2540
2นางสายบัว เสือนารางอาชีพทางการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2540
3นายบัวลี ผังดีผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2541
4นายบุญยืน เมินดีอาชีพทางการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2541
5นายคำมาย แถวนาชมผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2542
6นางทุมมา คำเรียนอาชีพทางการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2542
7นายอาทิตย์ นุตรินทร์อาชีพทางการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2543
8        นางบุบผา ถวิลไพรอาชีพเสริมนอกการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2543
9นายอ้อย เสือนารางผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2544
10นายบุญเลิศ จงธรรมผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2545
11นายจุก เอี่ยมแย้มผู้นำกลุ่ม/องค์กร/ชุมชนระดับจังหวัดพ.ศ.2546
12นางเฉลียว แต้มทองอาชีพทางการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2546
13นางภาวดี ปวงปะชังอาชีพเสริมนอกการเกษตรระดับจังหวัดพ.ศ.2548

สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.พิจิตร

  1. สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินโพทะเลหนึ่ง จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร (เลิกกิจการแล้ว)
  2. สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินสามง่ามหนึ่ง จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร

วัดท่าหลวง วัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ใกล้ศาลากลางจังหวัด ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มีพุทธลักษณะงดงามมาก ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร

           อุทยานเมืองเก่าพิจิตร มีลักษณะเป็นเมือโบราณ ประกอบด้วยกำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมาร ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิด ภายในอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ ศาลหลักเมือง และวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีพระธาตุเจดีย์ทรงลังกา ถ้ำชาละวัน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย ไปตามเส้นทางสายพิจิตร สามง่าม วังจิก หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลัก กม.ที่ 6

          

          วัดโพธิ์ประทับช้าง หน้าวัดมีต้นตะเคียนที่มีอายุราว 260 ปี วัดนี้เป็นวัดที่มีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณ กม.ที่ 6 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือ เข้าไปอีก 4 กิโลเมตร

          วัดเขารูปช้าง ไปตามเส้นทางสายพิจิตร ตะพานหิน ระยะทาง 15 กิโลเมตร โบราณสถานของวัดเขารูปช้างที่มองเห็นเด่นเป็นสง่า คือ เจดีย์แบบลังกา ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่ภายในมณฑปประดิษฐ์ฐานพระพุทธบาทสำริด ที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วง

            พระพุทธเกตุมงคล หรือหลวงพ่อโตตะพานหิน ตั้งอยู่ที่วัดเทวปราสาท เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วนและใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากท่านเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกลจากตัวเมืองใช้เส้นทาง 1118

               วัดหิรัญญาราม หรือวัดบางคลาน ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1067 เลี้ยวซ้ายเข้าไป 8 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ทางวัดได้สะสมไว้นานแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุที่มีผู้นำมาถวาย สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ พิพิธภัณฑ์นครไชยบวร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์รูปมณฑป 2 ชั้น ชั้นบนประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของหล่วงพ่อเงินเกจิอาจารย์ ที่ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศรู้จักและเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และเป็นเถระฯ ที่ทรงคุณวิปัสสนาธุระสูงรูปหนึ่งได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ศิลปวิทยาอาคมต่าง ๆ หลายสำนักและจากครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณพิเศษหลายองค์รวมทั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม และปี พ.ศ. 2378 หลวงพ่อเงินก็ได้กลับมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร รวมศิริอายุได้ 109 พรรษา

                  บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ ที่นี่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร จากศาลากลางจังหวัดให้มุ่งหน้าไปบนถนนบึงสีไฟ ภายในบึงสีไฟมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก เช่น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ รูปปั้นพญาชาละวัน ตั้งอยู่ด้านหน้าของบึงสีไฟ สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง

ของดีเมืองพิจิตร
 

                  ทอมือบ้านป่าแดง ของดีประจำอำเภอตะพานหิน เป็นผ้าทอจากฝ้ายผสมไหมที่มีสีสันต่าง ๆ สวยงาม และราคาถูก สามารถซื้อหาได้ที่บ้านป่าแดง

                  ส้มโอท่าข่อย เป็นส้มโอพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในภาคเหนือ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวกลมกล่อม ไม่มีเมล็ดและเนื้อละเอียด ให้ผลผลิตในเดือนตุลาคม- เมษายน นอกจากนี้ยังมีผลไม้ขึ้นชื่ออีกมากมาย ทั้งขนุนพันธุ์ตะเภาแก้ว มะปรางพันธุ์ปรางไข่ มะไฟหวานพันธุ์เหรียญทอง

                    ประเพณีแข่งเรือยาว ทุกเสาร์ -อาทิตย์แรกของเดือนกันยายน จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วนพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำทุกปี ณ ลำน้ำน่านหน้าวัดท่าหลวง

                     เหมืองแร่ทองคำ เขาพนมพา

ป้ายกำกับ
ล่าสุด