image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ประวัติความเป็นมา

เมษายน 6, 2559 | เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมา
สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี (ส.ป.ก. ชลบุรี) เป็นราชการส่วนภูมิภาคจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2519 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 มาตรา 11 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า " เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินตามมาตรา 25 ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดขึ้น สังกัดสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด..." ดังนั้น เมื่อได้มี พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลคลองพลูและตำบลเขาซก อำเภอหนองใหญ่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ 110 ตอนที่ 216 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2536 ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากประกาศเป็นต้นไป จึงมีสำนักงาน ปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี เพื่อดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในท้องที่จังหวัดชลบุรื ตั้งแต่ วันที่ 22 ธันวาคม 2536 จนกระทั่งปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานในการจัดที่ดิน โดยสร้างความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน มีระบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้ที่ดินมีคุณค่าในการผลิต รวมทั้งรักษาและคุ้มครองที่ดินให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
 
พันธกิจ
1. จัดที่ดินให้เกษตรกรตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดการผลิตและรายได้
3. พัฒนาเกษตรกรสู่สังคมคุณภาพ ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเบื้องต้น

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและอยู่อาศัยเป็นของตนเอง
2. เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด
3. เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
4. เพื่อป้องกันเกษตรกรละทิ้งที่ดินและย้ายถิ่นฐาน

กลยุทธ์
1. เร่งรัดการจัดที่ดินในที่ของรัฐโดยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศสนับสนุน
2. จัดชื้อที่ดินเอกชนเพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน
3. ติดตามการทำประโยชน์ในที่ดิน
4. พัฒนาระบบข้อมูลที่ดินและสารสนเทศ
5. เร่งรัดให้เกษตรกรเช่าและเช่าชื้อที่ดิน
6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
7. ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมอาชีพ
8. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรกร
9. ให้สินเชื่อการผลิต โดยใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
10. สร้างเครือข่ายผู้นำเกษตรกร
11. รักษาและพื้นฟูสภาพแวดล้อมร่วมกับองค์กรท้องถิ่น
12. แก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน
13. ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกร
ป้ายกำกับ
ล่าสุด