ปุ๋ยชนิดนี้เป้นปุ๋ยที่ได้จากการนำมูลวัตว์ชนิดต่างๆ มาผสมคลุกเคล้ากับขี้แกลบ กากอ้อย รำข้าว และเศษซากจากพืชต่างๆ โดยใช้น้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย เมื่อหมัก และย่อยสลายจนสมบูรณ์แล้ว จะได้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพซึ่งส่วนผสมต่างๆ สามารถดัดแปลงได้ ตามวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ
1. สูตรมูลสัตว์ ส่วนประกอบ 1 มูลสัตว์ 1 กระสอบ 2 แกลบ เศษใบไม้ หรือซังข้าวโพด 1 กระสอบ 3 ขี้เถ้าแกลบ 1 กระสอบ 4 รำอ่อน 1 กระสอบ 5 น้ำสะอาด 10 กระสอบ ถ้าวัตถุดิบแห้งมาก ก็สามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้ 6 หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 กระสอบ วิธีทำ 1 นำมูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ และรำอ่อนมาผสมคลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
2 ผสมน้ำกับหัวจุลินทรีย์เข้มข้นให้เข้ากัน รดลงบนกองวัสดุ และทำการผสมให้เข้ากันจนมีความชื้นประมาณ 35% (โดยทดลองกำดู) จะสามารถเกาะกันเป็นก้อนได้แต่ไม่เหนียว และเมื่อปล่อยทิ้งลงพื้นจากความสูงประมาณ 1 เมตร ก้อนปุ๋ยจะแตก แต่ยังมีรอยนิ้วมือเหลืออยู่
3 คลุกเค้าให้เข้ากันดี ตักปุ๋ยใส่กระสอบและมัดปากถุงให้แน่น
4 กองกระสอบปุ๋ยซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ และควรวางกระสอบแต่ละตั้งให้ห่างกัน เพื่อให้ความร้อนสามารถระบายออกได้ทั้ง 4 ด้าน (เพื่อไม่ต้องกระสอบทุกวัน)
5 ทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน ตรวจเช็คถ้ามีกลิ่นหอมและไม่มีไม่มีไอร้อน ก็สามารถนำไปใช้งานได้ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน วิธีใช้ ควรใช้ตั้งแต่ในขั้นตอนของการเตรียมดิน โดยผสมคลุกเคล้ากับดินด้วยฟาง ใบไม้ หรือกิ่งไม้ และควรหมักดินทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงจะเริ่มลงมือปลูกพืช (ในกรณีที่เป็นนาข้าว พืชไร่ และพืชผัก) อัตราการใช้ 1 นาข้าว 200 กก./ 1 ไร่ 2 พืชไร่ 2 กำมือ/ 1 ตรม. 3 ไม้ยืนต้น พืชสวน 1 กก./ 1 ตรม. ข้อแนะนำ ถ้าจะใช้ปุ๋ยชนิดนี้ให้ได้ผลดีนั้น หลังจากหว่าน หรือคลุกผสมปุ๋ยหมักแห้งกับดินแล้ว ควรคลุมดินด้วยฟาง เศษหญ้า หรือเศษใบไม้ต่างๆ จากนั้นใช้ปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพรดราดลงไปในอัตราส่วน 1: 200 จะช่วยให้ดินร่วนซุย และฟูขึ้นทำให้รากพืชเติบโตได้ดี ประโยชน์ของปุ๋ยินทรีย์ชีวภาพ 1. เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่นแบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส 2. ให้ธาตอาหาร และกระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารกว่า 93 ชนิดแก่พืช 3. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ และโครงสร้างดินให้ดีขึ้น 4. ช่วยดูดซับ หรือดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช 5. ช่วยปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช
6. ช่วยจำกัด และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคต่างๆ
7. ทำให้พืชสามารถสร้างพิษได้เอง สามารถต้านทานโรค และแมลงได้ดี