image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เข้าร่วมประชุมแนวทางปฏิบัติและการถอดบทเรียนการเบิกจ่ายภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และ Facebook Live) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)

กรกฎาคม 16, 2568 | ภาพข่าว

เข้าร่วมประชุมแนวทางปฏิบัติและการถอดบทเรียนการเบิกจ่ายภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และ Facebook Live) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) 

          ตามที่ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 มกราคม 2566 ส่งผลให้ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 คือกฎหมายที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐและการบริการประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน กฎหมายนี้จะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยสรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ดังนี้ กำหนดแนวทาง : กฎหมายนี้กำหนดแนวทางให้หน่วยงานรัฐสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน การเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว : ช่วยให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการและรับบริการจากภาครัฐได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนและภาระ : ลดภาระและต้นทุนในการเดินทางและการจัดเตรียมเอกสารของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ : ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของภาครัฐ ลดการใช้ทรัพยากรและลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน รองรับการทำงานในยุคดิจิทัล : ส่งเสริมการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการข้อมูลภาครัฐ : ช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถบูรณาการข้อมูลและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคทางกฎหมาย : ช่วยขจัดปัญหาและอุปสรรคทางข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อราชการ การยื่นคำขอและการติดต่อ : ประชาชนสามารถยื่นคำขอหรือติดต่อกับหน่วยงานรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ การแสดงหลักฐาน : ประชาชนสามารถแสดงใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานต่างๆ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้การเปิดเผยข้อมูล : หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลการอนุญาตผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตัวอย่างการนำ พ.ร.บ. ไปใช้งาน เช่น การยื่นคำขอออนไลน์ : การยื่นคำขอใบอนุญาตต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ การติดต่อราชการผ่านระบบออนไลน์ : การติดต่อสอบถามข้อมูลหรือแจ้งเรื่องต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ การรับบริการจากภาครัฐผ่านระบบออนไลน์ : การรับบริการต่างๆ เช่น การขอเอกสาร การชำระค่าธรรมเนียม ผ่านระบบออนไลน์ การจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานรัฐในรูปแบบดิจิทัล และการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางออนไลน์) สรุปสั้นๆ ได้คือ พ.ร.บ. นี้เป็นกฎหมายสำคัญที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานของภาครัฐ เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชน และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทางสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานในการรับผิดชอบ ติดตาม และขับเคลื่อนงานร่วมกับทางหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดการประชุมแนวทางปฏิบัติและการถอดบทเรียนการเบิกจ่ายภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และ Facebook Live) เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์จากการใช้วิธีการเบิกจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดจัดการประชุมในวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 09.30 – 12.00 น. (ในรูปแบบออนไลน์) โดยได้รับเกียรติจากทางท่าน ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นายณัฎฐา พาชัยยุทธ) มากล่าวเปิดการประชุม พร้อมนี้ทางผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล (นางสาวดารัตน์ โฆษิตพิพัฒน์) และ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ (นายอภิชาต กรรมสิทธิ์) มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ แนวทางการเบิกจ่ายภาครัฐในยุคดิจิทัล และมีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ การนำ e-Signature มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ โดยนางสาวจรินทร์ วงศ์สุวรรณวารี เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนากฎหมาย พร้อมนี้การประชุมดังกล่าวฯ มีการเปิดให้มีการ ถาม-ตอบ จากหน่วยงานที่เข้าร่วมต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์อีกด้วย 

          โดยในส่วนของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการมอบหมายให้ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ส.ป.ก. (กพร. ส.ป.ก.)  และสำนักบริหารกลาง ส.ป.ก. (สบก. ส.ป.ก.) ในการเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ฯ โดยทาง สบก. ส.ป.ก. ทาง ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง (นางสาวอมรรัตน์ แขวงโสภา) และ ทาง กพร. ส.ป.ก. ได้มอบหมายให้ นายทรงเกียรติ สุเทพากุล พนักงานพัฒนาระบบราชการ เข้าร่วมฯ การประชุมในครั้งนี้ (ผ่านการประชุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์) เพื่อเป็นการลดระยะเวลาของการเดินทาง และค่าใช้จ่าย รวมทั้งสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกที่ ร่วมทั้งเป็นการลดความเสี่ยง และป้องกันกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) พร้อมลดความแออัดของการมารวมตัวเข้าร่วมประชุมกันในห้องประชุมเป็นจำนวนมาก และลดความเสี่ยงของการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) พร้อมเฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม เป็นต้น ในส่วนของ กพร. ส.ป.ก. เข้าร่วมการอบรมฯ ณ ห้องควบคุมการประชุมออนไลน์ ห้องกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (ห้อง 105) ชั้น 1  ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ  

ข่าว และภาพโดย :  นายทรงเกียรติ สุเทพากุล 

 

 

ป้ายกำกับ
ล่าสุด