image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ประวัติความเป็นมา

พฤศจิกายน 24, 2563 | หน้าเว็บ

"จัดที่ดิน สร้างมูลค่าที่ทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม"

คำขวัญประจำจังหวัด  

"เมืองร้อยเกาะ   เงาะอร่อย      หอยใหญ่   ไข่แดง     แหล่งธรรมะ   ชักพระประเพณี "  

สุราษฎร์ธานี เมืองแห่งคนดี ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย  ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศ มีเนื้อที่ทั้งหมด 12,891 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 8,057,125 ไร่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่มากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ และมีเนื้อที่มากที่สุดในภาคใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 635 กิโลเมตร ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี : ดอกบัวผุด      ส่วนต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นเคี่ยม

อาณาเขต 

  • ทิศเหนือ       ติดกับจังหวัดชุมพร
  • ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและทะเลอ่าวไทย
  • ทิศใต้          ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดกระบี่
  • ทิศตะวันตก    ติดกับจังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ส.ป.ก.สุราษฎร์ธานี) เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค  สังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มกราคม  2532  ตามความในมาตรา 11     แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518  กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด "มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด"   ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ใน 69 ตำบล 16  อำเภอ พื้นที่ประมาณ 1,181,113 ไร่   ซึ่งได้จัดที่ดินมอบหนังสืออนุญาติให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01)    แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 53,867 ราย ที่ดิน 70,945 แปลง รวมเนื้อที่  960,331 ไร่    คงเหลือพื้นที่ดำเนินการ 220,782 ไร่

สถานที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ส.ป.ก.สุราษร์ธานี) ตั้งอยู่อาคารส่วนราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด ถนนดอนนก ตำบลมะเขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

พันธกิจ    

  • จัดที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร
  • ฟิ้นฟูสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการเรียนรู้
  • สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกร

เป้าประสงค์

  • จัดและพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้รับการส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • สร้างโอกาส พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน
ป้ายกำกับ
ล่าสุด