image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ประวัติความเป็นมา

พฤษภาคม 16, 2559 | เกี่ยวกับเรา

\"จัดที่ดิน สร้างมูลค่าที่ทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม\"

คำขวัญประจำจังหวัด  

\"เมืองร้อยเกาะ   เงาะอร่อย      หอยใหญ่   ไข่แดง     แหล่งธรรมะ   ชักพระประเพณี \"  
 
สุราษฎร์ธานี เมืองแห่งคนดี ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย  ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศ มีเนื้อที่ทั้งหมด 12,891 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 8,057,125 ไร่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่มากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ และมีเนื้อที่มากที่สุดในภาคใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 635 กิโลเมตร ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี : ดอกบัวผุด      ส่วนต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นเคี่ยม

อาณาเขต 
  • ทิศเหนือ       ติดกับจังหวัดชุมพร
  • ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและทะเลอ่าวไทย
  • ทิศใต้          ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดกระบี่
  • ทิศตะวันตก    ติดกับจังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ส.ป.ก.สุราษฎร์ธานี) เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค  สังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มกราคม  2532  ตามความในมาตรา 11     แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518  กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด \"มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด\"   ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ใน 69 ตำบล 16  อำเภอ พื้นที่ประมาณ 1,181,113 ไร่   ซึ่งได้จัดที่ดินมอบหนังสืออนุญาติให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01)    แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 53,867 ราย ที่ดิน 70,945 แปลง รวมเนื้อที่  960,331 ไร่    คงเหลือพื้นที่ดำเนินการ 220,782 ไร่

สถานที่ตั้งสำนักงาน
 
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ส.ป.ก.สุราษร์ธานี) ตั้งอยู่อาคารส่วนราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด ถนนดอนนก ตำบลมะเขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
 
พันธกิจ    
  • จัดที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร
  • ฟิ้นฟูสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการเรียนรู้
  • สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกร                                               
เป้าประสงค์
  • จัดและพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้รับการส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
  • สร้างโอกาส พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน
ป้ายกำกับ
ล่าสุด