Knowledge No. 4
Large Scale Agricultural Extension System Project or Mega Farm Project (Rice) in land reform area, Ban Kaeng Subdistrict, Na Kae District, Nakhon Phanom Province
Promotion of Participative Work in Project Implementation
Most farmers in land reform area are small holder farmers. They prefer to work individually and focus on traditional production for selling their products, resulting in high production costs and a lack of bargaining power in markets. Therefore, Agricultural Land Reform Office (ALRO) has implemented a large scale agricultural extension system project or a mega farm project in land reform area, which is an important government policy and consistent with farmers’ current needs. A crucial principle of this project emphasizes on farmer groups and participative management through area-based collaborative production and distribution. Farmers are the center of operations. There is a manager, who arranges for the area management. Integrated operations among related agencies based on participation of public sectors, private sectors, and citizens are also highlighted.
Objectives of this project are as follows:
1. To support the farmers to form groups and to work together for collaborative production and distribution with certain markets
2. To reduce the farmers’ costs of production, to increase their productivity per unit, and to meet production standards
3. To have an integrated collaboration with relevant agencies, both public and private sectors
4. To enhance the efficiency of agricultural product management along the supply chain
According to the above mentioned guideline, Ban Kaeng Sub-district, Na Kae District, Nakhon Phanom Province was therefore selected by Nakorn Phanom Provincial Land Reform Office, together with the farmer leaders. This area had been developed through the Sufficiency Economy Community Driving Project in land reform area from the fiscal year of 2015 to that of 2018. There was a readiness of area potential with the basic concept of self-reliance. The farmer leaders and members initially started the group formation, but there was still a lack of rice management in the way of combining areas, combining productivities, and unifying management; rice was the major product of their community. The farmers therefore wanted to make further development in enhancing the potential of their group to manage areas and products more efficiently. As a result, the farmer leaders and Nakorn Phanom Provincial Land Reform Office had prepared a community in the area of approximately 420 rai in total with 51 farmers to enter mega farm development since 2018. The main product of this community was rice. Hence, all information was presented to Chief of Operation (CoO), the committee who drives important policies and solves problems in the provincial agricultural sector, to consider and endorse the area as a mega farm. This area has been in Large Scale Agricultural Extension System Project or Mega Farm Project in land reform area from the fiscal year of 2019 to present.
Patterns or Processes or Methods of Project Implementation
1) Making participatory plans, using agricultural maps for proactive management, analyzing areas and organizing community forums for letting the farmers provide information and express opinions to build awareness and clarify project implementation guidelines, setting goals and development guideline together under mega farm development guidelines describing 5 components: cost reduction, productivity improvement, quality development according to standards, management, and marketing
2) Supporting and developing knowledge and technologies to reduce production costs, increasing production efficiency, managing, developing product quality standards, and supporting inputs, equipment, and facilitates, as well as accessing to low interest rates of capital by collaborating with integrated agencies under the Ministry of Agriculture and Cooperatives or other ministries and private sectors in terms of soil and fertilizer management, plant production according to organic standards, enhancement of distribution channels, and development of smart farmers for being farm managers
3) Linking markets with farmer groups, developing production/processing/marketing, and improving market management as content marketing platforms in terms of connecting buyers and sellers, negotiating in building marketing plans for production, processing, value adding, improving production quality, and enhancing distribution channels through IT systems
4) Further developing and extending rice products as the main products, and developing other activities of farmers in the groups such as mushroom cultivation, mat weaving, and herb growing, as well as facilitating technical expansion and production technology of organic products with quality standards and environmental friendly measures for farmers, farmer groups, or general public to learn and to use the appropriate technology for reducing costs and linking markets to be their learning centers
5) Giving collaborative evaluations and past performance reports, conclusions, and lessons learned, as well as analyzing the success factors, problems, and obstacles to find solutions for problem solving and to create a collaborative environment for sustainable development, and finally reporting all results to the CoO (by the farmers together with the integrated agencies)
Knowledge Transfer for Creating Learning Exchange Processes
The farmers participated in defining learning contents and learned about production technology, quality improvement of agricultural products, cost reduction, organic certification, productivity and marketing management from the integrated agencies through processes of training, seminars, workshops, and field-trips. The farmer leaders continued to organize community forums to conclude the lessons learned, to exchange information, experiences, and problems, and to find solutions between the officials and the farmers, as well as between farmers and farmers. Moreover, the farmer leaders also developed leadership potential, transferred knowledge to those who came in the area for field-trips and knowledge exchange, and became guest speakers at various meetings of government agencies.
Successful Conclusions or Benefits from Achieving Goals
Conclusions of empirical successes affecting organizations, communities, societies, and the country (emphasizing an impact on better quality of life of people) were as follows:
Area aspect: Area management through production plans, water resource development, and intercropping combinations (instead of monocropping) was implemented by the farmers collaborating with other agencies to initiate other projects such as New Theory Agriculture, Agroforestry, and Agri-map, as well as to promote herbal cultivation in the area for various activities and ecosystem diversity in the farmers’ fields.
Production aspect: The use of innovative seeding machines (instead of sowing rice), the use of good quality seeds suitable for areas, the production of compost and fermented bio-extracts, and the use of non-chemical methods for production could reduce production costs. The averaged production cost per rai fell to 3,822 baht from 4,900 baht. Additionally, the use of green manures as technical knowledge for soil improvement and the efficient production planning could increase average yield per rai from 321 kilograms to 390 kilograms. For production quality improvement, the farmers initially used a self-inspection system within the groups following the principle of reliability among their members. They currently collaborate with the Sakon Nakhon Rice Seed Center to provide knowledge and to perform standard inspection tasks. In 2019, 51 farmers of 51 plots were certified organic under phase 1 (T1: the conversion period) of Organic Thailand Standard.
Marketing aspect: The farmer groups were formed to collect and to transform their products. Modern packaging and their product brand called "Khirirom” were also developed. In 2019, their approximate 8.5-ton rice products counted as 500,000 baht were wholesaled through farmer networks (70%), online marketing (20 %), and booth sales (10%). The selling price was set by the farmer groups. In addition, other products such as six-varieties of rice germ, herbal tea, shampoo and herbs, were sold at Big C, Nakhon Phanom province, every weekend.
Group management aspect: Farmer group management in terms of committees was performed. The farmer members participated in all aspects of management such as product distribution, farm product processing, selling, and delivery. Moreover, their small group activities were also supported and extended to increase a variety of activities and products by establishing groups for seeding and planting herbs, growing mushrooms, and making woven mats. These activities were operated under a Mage Farm group in land reform area of Ban Kaeng Subdistrict, Na Kae District, Nakhon Phanom Province.
Key success factors of this mega farm project (rice) in land reform area of Ban Kaeng Sub-district, Na Kae District, Nakhon Phanom Province, can be concluded as models for driving, promoting, and further expanding the participative agricultural development in other areas.
Information by: Administrative System Development Unit
Translated by: Supak Kaewwaree, Darin Pejaranan, Sirichat Saridniran, Pariyanee Photcharoen International Cooperation Sub-bureau, Academic, Affairs and Planning Bureau
A Vocabulary List (คำศัพท์น่ารู้)
1. Agroforestry (N) = วนเกษตร
2. Awareness (N) = การรับรู้
3. Bargaining (N) = การต่อรอง
4. Clarify (VT) = อธิบาย/ทำให้ชัดเจน
5. Compost (N) = ปุ๋ยหมัก
6. Cultivation (N) = การเพาะปลูก
7. Emphasize (V) = จุดเด่น/เน้น
8. Endorse (VT) = ให้การรับรองอย่างเป็นทางการ
9. Enhance (VT) = ทำให้ดีขึ้น/เพิ่ม
10. Fermented Bio-Extract (N) = น้ำหมักชีวภาพ
11. Field-Trip (N) = การศึกษานอกสถานที่
12. Fiscal Year (N) = ปีงบประมาณ
13. Green manure (N) = ปุ๋ยพืชสด
14. Lack (V) = ขาดแคลน/ไม่เพียงพอ
15. Mat Weaving (N) = การทอเสื่อ
16. Mega Farm (N) = เกษตรแบบแปลงใหญ่
17. Negotiating = การเจรจา
18. Obstacle (N) = อุปสรรค/สถานการณ์ที่ยากลำบาก
19. Participative (ADJ) = การมีส่วนร่วม
20. Unify (V) = ทำให้เป็นหน่วยเดียวกัน/รวม
องค์ความรู้ ฉบับที่ 4
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ข้าว) ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
การส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขนาดเล็ก โดยมีลักษณะการผลิตแบบต่างคนต่างทำเน้นการผลิตแบบดั้งเดิมเพื่อขายผลผลิต ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง ขาดอำนาจต่อรองด้านการตลาด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จึงได้ดำเนินการโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในปัจจุบัน โดยหลักการสำคัญของโครงการนี้ คือ มุ่งเน้นให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน ร่วมกันผลิตและร่วมกันจำหน่าย โดยยึดพื้นที่ (Area - based) และเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน มีผู้จัดการแปลงเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ และดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนฐานการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่ายโดยมีตลาดที่แน่นอน 2) ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น และผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน 3) บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน 4) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)
จากแนวทางดังกล่าว ส.ป.ก. นครพนมจึงร่วมกับผู้นำเกษตรกรคัดเลือกพื้นที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาผ่านโครงการขับเคลื่อนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2561 และมีความพร้อมด้านศักยภาพพื้นที่ แนวคิดพื้นฐานการพึ่งตนเอง มีผู้นำและเกษตรกรเริ่มมีการรวมกลุ่ม แต่ยังขาดการบริหารจัดการสินค้าข้าวซึ่งเป็นผลผลิตหลักของชุมชนในลักษณะการรวมพื้นที่ รวมผลผลิตและการจัดการแบบครบวงจร เกษตรกรจึงต้องการพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับศักยภาพของกลุ่มในการบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้นำเกษตรกร และ ส.ป.ก. จังหวัดนครพนม ได้เตรียมความพร้อมชุมชน เพื่อเข้าสู่การพัฒนาแบบแปลงใหญ่ตั้งแต่ปี 2561 เนื้อที่รวมประมาณ 420 ไร่ เกษตรกร 51 ราย มีข้าวเป็นสินค้าหลัก โดยได้นำเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : CoO) พิจารณารับรองเป็นแปลงใหญ่ และการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
รูปแบบหรือขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินโครงการ
1) จัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม ใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก Agri – map วิเคราะห์พื้นที่และการจัดเวทีประชาคมสร้างการรับรู้และชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็น ร่วมกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ภายใต้แนวทางการพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้าน ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน การบริหารจัดการ และการตลาด
2) การสนับสนุนและพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้เทคโนโลยีการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งการเข้าถึงเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ โดยร่วมบูรณาการหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกระทรวงอื่น ๆ และภาคเอกชน เช่น การจัดการดินและปุ๋ย การผลิตพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า และการพัฒนาแกนนำเกษตรกรให้สามารถเป็นผู้จัดการแปลง
3) การเชื่อมโยงตลาดด้านการรวมกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริหารจัดการตลาด เป็นเวทีการให้ความรู้ด้านการตลาด เช่น การเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขาย การเจรจาจัดทำแผนการตลาดเพื่อนำมาสู่การผลิต การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า การปรับปรุงคุณภาพการผลิต รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านระบบสารสนเทศ IT
4) การพัฒนาต่อยอดและขยายผล พัฒนาต่อยอดสินค้าข้าว เป็นสินค้าหลัก และพัฒนาสินค้าอื่น ๆ ที่เกษตรกรในกลุ่มมีองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การเพาะเห็ด การทอเสื่อ และด้านพืชสมุนไพร รวมทั้งการขยายผลด้านเทคนิค และวิทยาการในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษที่มีคุณภาพมาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดต้นทุน และการเชื่อมโยงตลาดเพื่อเป็นแหล่งเรียนให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ และนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้
5) การประเมินผลและรายงาน เกษตรกรร่วมกับหน่วยงานบูรณาการมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาร่วมกัน กระบวนการสรุปผล การถอดบทเรียน การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรค เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาร่วมกันสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้มีการรายงานผลประเมินผลดังกล่าวให้กับ CoO ทราบ
การถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เกษตรกรร่วมกำหนดเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการผ่านกระบวนการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร การลดต้นทุนการผลิต การรับรองมาตรฐานอินทรีย์ การจัดการผลผลิตและการตลาด รวมถึงแกนนำเกษตรกรได้ร่วมจัดเวทีชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไขระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกัน นอกจากนี้ผู้นำเกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพผู้นำ และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ ตลอดจนเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุมสัมมนาต่าง ๆ ของส่วนราชการด้วย
สรุปบทเรียนความสำเร็จ หรือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการบรรลุเป้าหมาย
สรุปผลสำเร็จเชิงประจักษ์ ที่ส่งผลต่อองค์การและชุมชน สังคม และประเทศ (เน้นผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน)
ด้านพื้นที่: การบริหารจัดการพื้นที่ โดยเกษตรกรวางแผนการผลิต การพัฒนาแหล่งน้ำ เน้นการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำโครงการต่าง ๆ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร Agri – map และส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ ทำให้เกิดความหลากหลายของกิจกรรมในแปลง รวมถึงสร้างความหลากหลายในระบบนิเวศในแปลงของเกษตรกร
ด้านการผลิต: การใช้นวัตกรรมเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์แทนการหว่านข้าว การส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้เหมาะกับพื้นที่ และการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ รวมถึงการไม่ใช่สารเคมีในการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยต้นทุนการผลิตเดิมเฉลี่ย 4,900 บาท/ไร่ ลดเหลือ 3,822 บาท/ไร่ นอกจากนี้ยังมีความรู้ทางวิชาการในการใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน การวางแผนการเพาะปลูกและการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยผลผลิตเดิมเฉลี่ย 321 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 390 กิโลกรัม/ไร่ ในด้านการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตช่วงแรกเกษตรกรใช้ระบบตรวจสอบกันเองภายในกลุ่มโดยยึดหลักความไว้ใจระหว่างสมาชิก และปัจจุบันได้มีบูรณาการการทำงานร่วมกับศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวสกลนคร ในการให้ความรู้และตรวจรับรองมาตรฐาน โดยในปี 2562 เกษตรกรผ่านการรับรองในระยะปรับเปลี่ยนข้าวอินทรีย์ Organic Thailand ระยะที่ 1 (T1) จำนวนทั้งสิ้น 51 ราย 51 แปลง
ด้านการตลาด: เกษตรกรมีการรวมกลุ่มรวบรวมผลผลิต และมีการแปรรูป รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย พัฒนาแบรนด์สินค้าของกลุ่มในชื่อ คีรีรมณ์ โดยในปี 2562 กลุ่มมีการจำหน่ายสินค้าข้าวอยู่ที่ประมาณ 8.5 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500,000 บาท โดยจำหน่ายผ่านการขายส่งกลุ่มเครือข่ายฯ (70%) ช่องทางตลาดออนไลน์ (20%) และการออกบูธจำหน่ายสินค้า (10%) โดยทางกลุ่มเป็นผู้เสนอและกำหนดราคาขายเองได้ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าแปรรูปอื่น ๆ เช่น จมูกข้าว 6 สายพันธุ์ ชาสมุนไพร แชมพู และด้านพืชสมุนไพร ซึ่งทางกลุ่มได้จำหน่ายผลผลิตที่บิ๊กซีนครพนมทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์
ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม: เกษตรกรมีการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของคณะกรรมการโดยสมาชิก มีส่วนร่วมและมีบทบาทในการบริหารจัดการกลุ่มในทุก ๆ ด้าน ทั้งการจำหน่ายผลผลิตให้กลุ่ม การแปรรูป การจำหน่ายและจัดส่งสินค้า นอกจากนี้กลุ่มยังมีการสนับสนุนและต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มย่อย เพื่อเพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมและสินค้า โดยมีการจัดตั้งกลุ่มเพาะกล้าไม้และพืชสมุนไพร กลุ่มเพาะเห็ด และกลุ่มทอเสื่อ โดยการดำเนินงานภายใต้กลุ่มแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ผลสำเร็จของโครงการที่สามารถนำไปเป็นต้นแบบ หรือปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินโครงการจนเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ข้าว) ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม สามารถสรุปบทเรียนเพื่อให้เห็นเป็นตัวแบบการขับเคลื่อนงาน (Model) ส่งเสริมพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วมที่สามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ได้
ข้อมูล: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
แปล: สุภัค แก้ววารี, ดาริน เพชรานันท์, สิริฉัตร สฤษดิ์นิรันดร์, ปริญานี โภชน์เจริญ
กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักวิชาการและแผนงาน