image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

[KNOWLEDGE] Knowledge No.3: Land Allocation Project for The Community in Accordance with The Government Policy in Land Reform Area of Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province.

มกราคม 20, 2564 | ภาษาอังกฤษน่ารู้ (Interesting English)

Knowledge No.3
 
Land Allocation Project for The Community in Accordance with The Government Policy in Land Reform Area of Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province
 
Solving poverty and reducing social inequalities are essential goals of agricultural land reform. Agricultural Land Reform Office (ALRO) then has roles and responsibilities to allocate land, which is a fundamental resource for ensuring stability of life, to landless people or those whose lands are not sufficient to make a living. After land allocation, necessary infrastructure and career developments will be provided to improve the quality of life of farmers for achieving better livelihoods. These developments are in line with the development approach for solving poverty and reducing inequality of the Sustainable Development Goals (SDGs), and the National Development Strategy at all levels.
 
In 2014, the government launched a policy to solve the problem of landless people by using a mechanism of the National Land Policy Committee (NLPC). This policy has facilitated ALRO to speedily allocate land to the landless people, particularly expropriation of illegally occupied land for allocating to the landless people in many areas throughout the country in accordance with the Order No. 36/2016 of the Head of the National Council for Peace and Order (NCPO). An approximate area of 1,027 rai of Baan Nuea, No. 9, Pak Chong Sub-District, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province​​, was one of the expropriated areas under this Order. ALRO allocated this land area to the poor, who did not have land, to be utilized in accordance with the government policy without the right of land ownership for individuals. Instead, farmer institutions were allowed to be tenants for utilizing such land and managing the land as collective farms. Officers of Nakhon Ratchasima Provincial Land Reform Office were responsible for managing the land area as Area Managers, cooperating with farmers, to be a collaborative operations center. There was a memorandum of cooperation established for nine agencies to cooperate in the area. Therefore, all operations in the area were examined and monitored through the subcommittee and the working group. Operational results were openly and publicly announced  in the local area. Importantly, stakeholders especially the farmer leaders and community members of the NLPC took part in each step of the operation to obtain complete information, to reduce defects to lowest levels, to solve problems quickly and relevantly, and to be of most benefit to the farmers.
 
Work Processes
Area and infrastructure Developments
For road construction and betterment, Department of Military Engineering gentrified the area and constructed main roads and alleys. Operations of water resources development were divided into two parts: one for consumption and the other for agriculture. Department of Groundwater Resources explored appropriate groundwater sources, and ALRO drilled groundwater wells, installed water pumps, and built water towers. Community Organizations Development Institute: CODI (Public Organization) gave budget support for groundwater well drilling. The Military Department dredged ponds for agriculture; Regional Irrigation Office 8 constructed a reservoir with a capacity of 300,000 cubic meters, and ALRO offered construction support of live check dams in canals for ecosystem preservation and conservation. For electricity extension, Provincial Electricity Authority expanded electricity service areas while CODI gave budget support (40,000 baht per household) for building houses. Moreover, Cooperative Promotion Department also gave budget support for construction of a multi-purpose building to serve as an office of cooperatives.
 
Career Promotion and Development
1) Development of an operating mechanism at the community level
There are processes in adjusting attitude change, creating hometown consciousness, and promoting relationship building activities for people in a community to adjust concepts to be in the same direction by emphasizing on discussions, understandings, and exemplary actions, until a self-management mechanism of the community can be established through the cooperative committee and the mechanism within the community. The mechanism consists of (1) teachers, who know about various types of knowledge, invent, conduct experiments and search for new knowledge to pass it on to people in the community; (2) local intellectuals, who create community food security; (3) technicians, whose skills and knowledge of technology and innovation can be used for management support of production and productivity; (4) gurus, who can give advice or consultation in various sectors such as agriculture and lifestyle. The mechanism can be done by using self-management processes through studying data thoroughly, discussing, clarifying for understanding, taking actions as planned, monitoring, and assessing for the problem review and improvement action plans. Additionally, further development using technologies or innovations in various fields has been applied to work.
2) Making and implementing community development plans
1st Year (2018) was for area and people learning through activities in field experiments, data exchanges, and mutual area suitability analysis.

2nd Year (2019) was for area improvement by learning and experimenting from the first year. There were soil improvement and environmental conservation and restoration. Besides, a fertilizer and seed bank was established to help members and to provide alternative incomes.

3rd Year (2020) was for labor investment and farm activities focusing on production together with integrated farm planning. Kinds of plants depend on farmers’ preferences, but farmers have to committed to spend 1 rai for planting perennial trees, and fruits, corns, and cassavas have to be grown in the remaining 4 rai. Also, vegetables have to be planted in space between each row of the fruit, corn, and cassava trees.
 
4th Year (2021) is for return on investment and productivity management in a cooperative pattern for sale and income generation for the cooperatives.
 
5th Year (2022) will be for profit earning from what has been invested. The earning will not only be incomes, but also strong communities where people can live on their own and effectively transfer knowledge to other areas.
 
Using Innovation in Project Implementation
Land management has been performed by using data from Agri-Map for area utilization planning whereas unmanned aerial vehicles (drones) has been used to create aerial maps, aerial photographs, and 3D terrain models. In production management under Mega Farm using marketing-led approach and large-scale farming, farmers can control their production using the internet of things technologies through remote sensors and smart phones. They can be applied for automatically controlling water supply system and collecting water usage data, humidity, temperature, and fertilization. Furthermore, QR-Code has been used by consumers for quality inspection and assurance. Besides, the applications such as Line and Facebook were used by the farmers for coordination.
 
Outcomes/ Empirical Projects
1. Integration of various agencies focusing on participation in knowledge-sharing activities, management, and practices was developed to let the farmers think, analyze, and plan for taking action to solve community problems and creating farmer income security. Agricultural and non-agricultural incomes averaged 64,021 baht per year was found in 2018, and the average incomes were increased to 76,061 baht per year in 2019 even though they did not pass the poverty line of the country (National Statistical Office: NSO 2018) of 2,710 baht per person per month, or 32,520 baht per person per year, or 105,690 baht per household per year (average household size with 3.25 persons per household). There was a prediction that if farmers and related agencies implemented the five-year master plan, the farmers would pass the poverty line within 2022. Besides, the farmers had the savings of 100 baht per person per month since joining the project, leading to the savings of approximately 3,200 baht per person and the working capital for agriculture from agricultural cooperatives in the Pak Chong Land Reform Area (NLPC) Limited.
 
2. Farmers could access to the four requisites: shelter, clothing, food, and medicines. The level of better quality of life and well-being of the people in the area comprised three parts. First, 85 farmer households had security in housing and farming. Their products could also be consumed to reduce expenses and the rest of them could be sold in markets both inside and outside the community. Second, the farmers and community had food security. Safe food could be produced by integrated farming, organic farming, safe farming, herb growing, and community-forest growing. These processes improved soil quality, and reduced health risks of the farmers and nearby communities. Third, the farmers could effectively transfer their experiences and body of knowledge to other areas.
A Vocabulary List (คำศัพท์น่ารู้)
1. Announce (VT) = ประกาศ
2. Assurance (N) = การรับรอง
3. Attitude (N) = ทัศนคติ
4. Conservation (N) = การอนุรักษ์
5. Dam (N) = ฝาย/เขื่อน/ทำนบ/ประตูน้ำ
6. Empirical (ADJ) = เชิงประจักษ์
7. Exemplary (ADJ) = เป็นตัวอย่างที่ดี/เป็นแบบอย่าง
8. Expenditures (N) = งบประมาณ/การใช้จ่าย
9. Experiment (N) = การทดลอง
10. Fundamental (ADJ) = พื้นฐาน
11. Inequality (N) = ความไม่เท่าเทียม/ความเหลื่อมล้ำ
12. Insufficient (ADJ) = ไม่เพียงพอ/ขาดแคลน
13. Integrated farming (N) = เกษตรผสมผสาน
14. Memorandum (N) = บันทึกข้อความ
15. Pond (N) = สระน้ำ/บ่อน้ำ
16. Poverty (N) = ผู้ยากไร้
17. Betterment (N) = การทำให้ดีขึ้น
18. Quality of life (N) = คุณภาพชีวิต
19. Reservoir (N) = อ่างเก็บน้ำ
20. Stakeholders (N) = ผู้ถือผลประโยชน์ร่วม
 
องค์ความรู้ ฉบับที่ 3
 
โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
 
การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีบทบาทหน้าที่ในการจัดสรรที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้ไร้ที่ดินทำกินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอกับการครองชีพเมื่อจัดแล้วมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่จำเป็นและพัฒนาอาชีพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการลดความเหลื่อมล้ำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในทุกระดับ
 
ในปี 2557 รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขผู้ไร้ที่ดินทำกินโดยใช้กลไกคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) นโยบายดังกล่าวเอื้อให้ ส.ป.ก. สามารถขับเคลื่อนกิจการจัดที่ดินให้ผู้ไร้ที่ดินทำกินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการยึดคืนที่ดินที่มีการครอบครองโดยมิชอบเพื่อนำที่ดินมาจัดให้ผู้ไร้ที่ดินทำกินในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่ 36/2559 และพื้นที่บ้านเหนือ หมู่ 9 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 1,027 ไร่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ยึดคืนตามคำสั่งดังกล่าว และ ส.ป.ก. ได้นำมาจัดให้ผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าทำประโยชน์ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะไม่ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่เกษตรกรรายบุคคล แต่เป็นการบริหารจัดการที่ดินแบบแปลงรวมที่อนุญาตให้สถาบันเกษตรกรเป็นผู้เช่าทำประโยชน์ในที่ดิน และเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. นครราชสีมา เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการพื้นที่ในลักษณะ Area Manager ร่วมกับเกษตรกรกรโดยเป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงาน โดยมีการจัดทำบันทึกความร่วมมือ 9 หน่วยงาน เพื่อร่วมดำเนินการในพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินงานทุกขั้นตอนในพื้นที่มีการตรวจสอบและติดตามประเมินผลผ่านคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน มีการประกาศผลการพิจารณาอย่างเปิดเผยในท้องถิ่น ที่สำคัญคือในแต่ละขั้นตอนผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนนั้น ๆ โดยเฉพาะแกนนำเกษตรกรและสมาชิกชุมชน คทช. มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน เกิดข้อบกพร่องน้อยที่สุด แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ตรงจุดและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุด
 
กระบวนการทำงาน
การพัฒนาพื้นที่และปัจจัยพื้นฐาน
การสร้างและปรับปรุงถนน กรมการทหารช่างเข้ามาปรับพื้นที่ และก่อสร้างถนนสายหลัก-สายซอย การพัฒนาแหล่งน้ำ มีการดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้มีการสำรวจความเหมาะสมของแหล่งน้ำใต้ดิน ส.ป.ก. ได้ขุดเจาะบ่อบาดาลพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำและก่อสร้างหอถังสูงเก็บน้ำ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) สนับสนุนงบประมาณในการขุดเจาะบ่อบาลดาล กรมการทหารช่างได้ดำเนินการขุดลอกสระน้ำสำหรับเกษตรกรรม สำนักงานชลประทานที่ 8 ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำความจุ 300,000 ลบ.ม. และ ส.ป.ก. สนับสนุนการทำฝายมีชีวิตในคลองน้ำเพื่อการอนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศน์ การขยายเขตไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามาขยายเขตบริการไฟฟ้าและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) สนับสนุนงบประมาณในการสร้างบ้านจำนวนครัวเรือนละ 40,000 บาท พร้อมกันนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นที่ทำการสหกรณ์ จำนวน 1 หลัง
 
การส่งเสริมและการพัฒนาอาชีพ
1) การพัฒนากลไกในการดำเนินงานระดับชุมชน
มีขบวนการในการปรับทัศนคติ สร้างจิตสำนึกรับพื้นถิ่น ตลอดจนสร้างกิจกรรมสานสัมพันธ์ของคนในชุมชน เพื่อปรับแนวคิดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นการพูดคุยทำความเข้าใจและการปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง จนสามารถสร้างกลไกสำหรับการจัดการตนเองของชุมชนผ่านคณะกรรมการสหกรณ์และกลไกภายในชุมชน ประกอบด้วย (1) ครู ผู้รู้ด้านต่าง ๆ คิดค้น ทดลอง และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อถ่ายทอดให้คนในชุมชน (2) คลัง ผู้ที่สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับชุมชน (3) ช่าง ผู้มีความรู้ความสามารถด้านงานฝีมือ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อช่วยสนับสนุนในการจัดการผลิตและผลผลิต และ (4) หมอ ผู้ที่สามารถให้คำแนะนำหรือ ปรึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเกษตรและการดำเนินชีวิต โดยใช้กระบวนการจัดการตนเอง มีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและประชุมหารือร่วมกัน ชี้แจงทำความเข้าใจและวางแผน สร้างข้อตกลงร่วมกันจากนั้นจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน และวนำสู่การปฏิบัติตามแผนและมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานทั้งร่วมกันเพื่อทบทวนปัญหาและปรับปรุงแผนการดำเนินงาน และมีการพัฒนาต่อยอด ด้วยการใช้เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับการทำงาน
 
2) การจัดทำแผนและดำเนินการตามแผนพัฒนาชุมชน
ปีที่ 1 (2561) เป็นการเรียนรู้พื้นที่และคน โดยมีการทดลองทำกิจกรรมในแปลงแลกเปลี่ยนข้อมูล และวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ร่วมกัน
 
ปีที่ 2 (2562) การปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ โดยการเรียนรู้และทดลองจากปีแรกมีการปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมมากขึ้น พร้อมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยและพันธุ์พืชเพื่อช่วยเหลือสมาชิกและเป็นรายได้อีกทาง
 
ปีที่ 3 (2563) การลงทุนลงแรง เป็นการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ เน้นการผลิตในแปลงเกษตรกรรม โดยมีการวางแผนทำเกษตรผสมผสาน สำหรับชนิดพืชที่ปลูกและพื้นที่นั้นตามความชอบและความถนัด แต่มีจุดเน้นร่วมกันคือปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ไร่ ส่วนที่เหลือ 4 ไร่ จะเป็นไม้ผล ข้าวโพด มันสำปะหลัง โดยจะมีการปลูกพืชผักแซมตามพื้นที่ว่างระหว่างต้น
 
ปีที่ 4 (2564) การเก็บต้นทุนที่ลงทุนไปคืนมา จัดการผลผลิตในรูปแบบสหกรณ์ในการรวบรวมกันขายและสร้างรายได้ให้กับสหกรณ์
 
ปีที่ 5 (2565) การได้ผลกำไรจากสิ่งที่ได้ลงมือลงทุนไป ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่รายได้เพียงอย่างเดียวแต่หมายถึงชุมชนที่เข้มแข็งที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่พื้นที่อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การใช้นวัตกรรมในการดำเนินโครงการ
การจัดการที่ดิน การใช้ข้อมูลจาก Agri-Map เพื่อวางแผนการใช้พื้นที่ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและแบบจำลองภูมิประเทศ 3 มิติ การจัดการการผลิตแบบ Mega Farm ในรูปแบบการตลาดนำการผลิตการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การจัดการการผลิต เกษตรกรได้ควบคุมการผลิตด้วยเทคโนโลยีการควบคุมระยะไกล (Internet of Things) เป็นการนำเทคโนโลยี รีโมท Sensor และ Smartphone มาประยุกต์ใช้ควบคุมแบบอัตโนมัติในการเปิดปิดระบบน้ำ เก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ความชื้น อุณหภูมิ และการให้ปุ่ย รวมทั้งมีการใช้ QR- Code ในการตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยผู้บริโภค การประสานงาน เกษตรกรได้ใช้ Line, Facebook ในการประสานงาน
 
ผลงาน/ โครงการเป็นที่ประจักษ์
1. การบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมทั้งด้านความรู้ การจัดการ การฝึกปฏิบัติทำให้เกษตรกรสามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคงในรายได้ โดยในปี 2561 รายได้ทั้งในและนอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 64,021 บาทต่อปี และมีรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2562 เป็น 76,061 บาทต่อปี แม้ยังมีรายได้ไม่พ้นเส้นความยากจนของประเทศ (สสช. 2561) จำนวน 2,710 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 32,520 บาทต่อคนต่อปี หรือ 105,690 บาทต่อครัวเรือนต่อปี (สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.25 คนต่อครัวเรือน) โดยมีการคาดการณ์หากเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนนการตามแผนแม่บท 5 ปี ภายในปี 2565 เกษตรกรจะพ้นเส้นความยากจน นอกจากนี้เกษตรกรยังมีเงินออมตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ 100 บาทต่อคนต่อเดือน ทำให้ปัจจุบันมีเงินออมประมาณ 3,200 บาทต่อคน และมีทุนหมุนเวียนในการทำการเกษตรจากสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำกัด
 
2. การเช้าถึงปัจจัย 4 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค รวมไปถึงระดับคุณภาพชีวิตและการอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ ประกอบด้วย (1) เกษตรกรมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน จำนวน 85 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังสามารถนำผลผลิตจากในแปลงมาบริโภคเพื่อลดรายจ่ายมีเหลือจึงขายในตลาดภายในและภายนอกชุมชน (2) เกษตรกรและชุมชนมีความมั่นคงด้านอาหาร มีอาหารปลอดภัยจากการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย รวมทั้งปลูกพืชสมุนไพร ปลูกป่าชุมชน ทำให้สภาพดินดีขึ้นตามลำดับ เกษตรกรและคนในชุมชนใกล้เคียงลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และ (3) เกษตกรรสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ และองค์ความรู้สู่พื้นที่อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ