Knowledge No.2
Vegetable learning plots with a drip irrigation system in the area of land allocation project for community in accordance with the government policy, Sa Kaeo Province
Sa Kaeo is one of Thailand’s provinces in which allocates land in land reform area under the land allocation project for community in accordance with the government policy. In B.E. 2558 (2015), Sa Kaeo Provincial Land Reform Office allocated over 3,342 rai to 301 farmers for housing units and living land farms. The area management pattern was for the first time expressly organized. Each farmer received 1 rai for the housing unit and 5 rai for agriculture. Collective farms were also allocated to farmer groups for jointly conducting activities. Furthermore, portions of land were provided to construct a co-operative store building, as well as to improve water resources management and other public utilities.
This land allocated by Agricultural Land Reform Office (ALRO) under the government policy was mostly used for Monocropping such as growing eucalyptus, sugarcane, or cassava, causing soil degradation. Almost all of the allocated land had no water resources for farmers to use for activities both household use and agricultural use. Land Reform Area Development Bureau then planned the development of fundamental public utilities from the beginning of subdividing the land, especially for water consumption. Two activities: household water consumption and agricultural water use were developed. 1) For the household water consumption, collaborated with Department of Groundwater Resources on groundwater exploration and drilling for groundwater supply system, electric-powered pumping was designed and constructed by The Department of Groundwater Resources, whereas solar-powered pumping was designed and constructed by Land Reform Area Development Bureau. These two pumping systems could accommodate areas lacking access to electricity. 2) For the agricultural water use, ALRO collaborated with Royal Irrigation Department on exploration, design, and construction. Small-scale water resources less than ten thousand cubic meters were operated by ALRO while large-scale ones were operated by the Royal Irrigation Department.
In consequence of land allocation with collaborations from all parties, it enabled the farmers to reside in the area of land allocation project for community in accordance with the government policy, aiming at enhancing the quality and stability of life for farmers. However, their occupation could not be thoroughly operated due to pending problems of water for agriculture. Sa Kaeo Provincial Land Reform Office has realized these problems and found resolutions to the problems. One of the projects operated by Sa Kaeo Provincial Land Reform Office to improve the occupation development was vegetable learning plots with a drip irrigation system in the area of land allocation project for community in accordance with the government policy. The collective farm was selected for operation so that the farmers in each area of the land allocation project could utilize the farm land for mutual benefit and learn together about soil, water, crops, and holistic management.
For the body of knowledge about water system and water management, Water Supply and Farm Irrigation Designation Sub-Bureau invited guest speakers to conduct a workshop for the farmers according to Sa Kaeo Provincial Land Reform Office’s request. Topics discussed at the workshop covered a variety of crop watering systems, water management, and installation practice of drip irrigation system in the collective farm. This workshop leading to vegetable learning plots with the drip irrigation system established in the area of the land allocation project for community in accordance with the government policy had main purposes as follows:
1. The vegetable learning plots were provided for the farmers so that collaborative learning involving soil, water, crops and holistic management would be occurred. The body of any knowledge was then transferred within farmer groups. They drew their planting and water use plans collaboratively, enabling them to apply the knowledge to their farm plots.
2. The farmers could grow their crops although water volumes were limited. They initially used water for household purposes from the solar-powered pumping system operated by ALRO. Good water-sharing arrangements for agriculture and high-quality water-saving systems were needed to prevent water grabbing.
3. Food security was ensured for the farmers. They could consume crops derived from the collective farm in their household, which were fresh, hygienic, and safe, helping reduce their household expenses. If there were leftover crops, they would sell them to earn income and get a second job.
The operation of the vegetable learning plots with a drip irrigation system in the area of land allocation project for community in accordance with the government policy started joint learning, which was essential for sustainable development needed to be done together in many aspects of the area and the body of knowledge development for farmers. The sustainable development would allow farmers to be self-reliant and to achieve sustainable self-reliance in the future.
Written by : Tarawut Kaikaew, Professional Level Agricultural Engineer
Water Supply and Farm Irrigation Designation Sub-Bureau,
Land Reform Area Development Bureau
Translated by : Darin Pejaranan, Supak Kaewwaree, Sirichat Saridniran
International Cooperation Sub-Bureau, Academic Affairs and Planning Bureau
A Vocabulary List (คำศัพท์น่ารู้)
1. Arrangement (N) = การจัดการ
2. Collaborate (V) = ร่วมมือ
3. Collective Farm (N) = แปลงรวม
4. Discuss (V) = อภิปราย
5. Drip Irrigation System (N) = ระบบน้ำหยด
6. Essential (ADJ) = สำคัญจำเป็น
7. Exploration (N) = การสำรวจ
8. Holistic (ADJ) = แบบองค์รวม
9. Household (N) = ครัวเรือน
10. Hygienic (ADJ) = สะอาด/ถูกสุขลักษณะ
11. Learning Plot (N) = แปลงเรียนรู้
12. Monocropping (N) = การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือการปลูกพืชชนิดเดียว
13. Mutual (ADJ) = ร่วมกัน
14. Organize (V) = จัดการ
15. Thoroughly (ADV) = อย่างเต็มที่
16. Purpose (N) = วัตถุประสงค์
17. Quality (N) = คุณภาพ
18. Self-reliance (N) = การพึ่งพาตนเอง
19. Stability (N) = ความมั่นคง
20. Sustainable development (N) = การพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์ความรู้ ครั้งที่ 2
แปลงเรียนรู้การปลูกผักด้วยระบบสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่ คทช. จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสระแก้ว เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการจัดสรรพื้นที่ตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยในปี พ.ศ. 2558 ส.ป.ก. สระแก้ว ได้จัดสรรพื้นที่กว่า 3,342 ไร่ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรรวม ๓๐๑ ราย โดยมีรูปแบบการจัดการพื้นที่เป็นสัดส่วนที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก คือ จัดแบ่งเป็นที่พักอาศัยให้เกษตรกรรายละ ๑ ไร่ จัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมรายละ ๕ ไร่ และจัดแบ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับให้กลุ่มเกษตรกรใช้ทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากนี้ยังได้แบ่งพื้นที่สำหรับใช้สร้างอาคารสหกรณ์ พื้นที่เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
พื้นที่ที่ ส.ป.ก. นำมาจัดสรรตามนโยบายรัฐบาลนี้ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว เช่น ยูคาลิปตัส อ้อย หรือ มันสำปะหลัง ทำให้ดินมีสภาพที่เสื่อมโทรมและในพื้นที่ที่นำมาจัดสรรแทบทั้งหมดไม่มีแหล่งน้ำสำหรับที่จะให้เกษตรกรที่จะเข้าไปดำรงชีวิตในพื้นที่ได้ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร ส.ป.ก. โดยสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (สพป.) จึงได้วางแผนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้ตั้งแต่เริ่มต้นที่ได้ทำการปูผังแบ่งแปลงพื้นที่โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ สพป. ได้แบ่งการพัฒนาเป็น 2 กิจกรรมคือ 1) น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนได้ร่วมดำเนินการกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในการสำรวจและขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ทำเป็นระบบประปาบาดาล.ซึ่งมีทั้งที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการออกแบบก่อสร้างให้เป็นระบบประปาบาดาลแบบใช้ไฟฟ้า และที่ สพป. ดำเนินการออกแบบก่อสร้างเองจะเป็นระบบประปาบาดาลแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าร์เซลล์เพื่อให้ใช้ได้กับพื้นที่ที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง 2) น้ำเพื่อการเกษตร ส.ป.ก. ได้ดำเนินการร่วมกับกรมชลประทานในการสำรวจออกแบบก่อสร้างซึ่งถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กไม่กี่หมื่นลูกบาศก์เมตร ส.ป.ก. จะดำเนินการสำรวจออกแบบก่อสร้างเอง แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ความจุหลักแสน หรือ หลักล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานจะเป็นผู้ดำเนินการ
ผลการดำเนินการจัดที่ดินที่ผ่านมาจากการร่วมมือกันในทุกฝ่ายทำให้เกษตรกรสามารถเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ คทช. ได้ตามนโยบายที่รัฐบาลมุ่งหวัง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและมีความมั่งคงในชีวิตมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการประกอบอาชีพก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากปัญหาด้านน้ำเพื่อการเกษตรที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส.ป.ก. สระแก้ว ซึ่งได้ตระหนักถึงปัญหาจึงได้หาแนวทางต่าง ๆ มาเพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในโครงการในการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาอาชีพที่ ส.ป.ก. สระแก้วนำมาใช้ คือ การจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกผักระบบสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่ คทช. โดยได้เลือกพื้นที่แปลงรวม หรือแปลงกลางเป็นพื้นที่ดำเนินการ เพื่อให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ คทช. ได้เข้ามาทำประโยชน์ร่วมกันมีการเรียนรู้ร่วมกันทั้งในเรื่องดิน น้ำ พืช และระบบการบริหารจัดการแบบองค์รวม
โดยในส่วนขององค์ความรู้ด้านระบบน้ำและการบริหารจัดการน้ำนั้น สพป. โดยกลุ่มออกแบบแหล่งน้ำและเกษตรชลประทาน (กอช.) ได้ให้การสนับสนุนวิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรตามที่ ส.ป.ก. สระแก้ว ร้องขอ หัวข้อที่ใช้ในการอบรมนั้นครอบคลุมทั้งเรื่องระบบการให้น้ำพืชแบบต่าง ๆ การบริหารจัดการน้ำ และการฝึกปฏิบัติติดตั้งระบบสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่แปลงรวม ทั้งนี้จากการอบรมนี้ทำให้นำไปสู่การร่วมกันจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกผักด้วยระบบสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่ คทช. โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ
1. เป็นแปลงเรียนรู้ให้กับเกษตรกรที่จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งในเรื่องของดิน น้ำ พืช และการบริหารจัดการแบบองค์รวม เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ภายในกลุ่มมีการวางแผนการปลูกและการใช้น้ำร่วมกันซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่แปลงเกษตรกรรมของตนเองได้
2. เกษตรกรสามารถปลูกพืชผักได้แม้จะมีปริมาณน้ำต้นทุนที่จำกัด โดยในเบื้องต้นได้ใช้น้ำจากระบบประปาบาดาลโซล่าเซลล์ที่ ส.ป.ก. ดำเนินการสร้างให้ ซึ่งน้ำดังกล่าวเป็นน้ำใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก การแบ่งน้ำ
มาใช้เพื่อการเกษตรจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีและจำเป็นต้องมีระบบน้ำที่ประหยัดน้ำและมีประสิทธิภาพสูง จึงจะไม่เกิดการแย่งน้ำกัน
3. เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหาร สามารถเก็บผลผลิตจากแปลงเรียนรู้ไปบริโภคภายในครัวเรือนได้เป็นการลดรายจ่ายภายในครัวเรือน และได้บริโภคพืชผักที่สด สะอาดและปลอดภัย และถ้าเหลือจากการบริโภคภายในครัวเรือนก็สามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับตนเองได้
ทั้งนี้จากการดำเนินการจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกผักด้วยระบบสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่ คทช. ที่ผ่านมานั้น นับเป็นอีกจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องพัฒนาไปพร้อมกันในหลายมิติ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ในเบื้องต้น และพัฒนานำไปสู่การที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต
เขียนโดย : ธราวุฒิ ไก่แก้ว วิศวกรการเกษตรชำนาญการ
กลุ่มออกแบบแหล่งน้ำและเกษตรกรชลประทาน สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
แปลโดย : ดาริน เพชรานันท์, สุภัค แก้ววารี, สิริฉัตร สฤษดิ์นิรันดร์
กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักวิชาการและแผนงาน