มีนาคม 16, 2564 | ภาษาอังกฤษน่ารู้ (Interesting English)
Knowledge No.1
Agricultural Land Reform Office (ALRO)
Intendment of Agricultural Land Reform
According to Agricultural Land Reform Act B.E. 2518 (1975), the intendment of agricultural land reform was specified that "the reasons of the promulgation of the Agricultural Land Reform Act were because farmers lost their land ownership rights, became tenants, and had to pay exorbitant rents. Meanwhile, land maintenance went undone, leading to declining agricultural productivity. The farmers were underprivileged and disadvantaged in a land tenancy system and a marketing system within this time period. There were many severe problems faced by the farmers, resulting in economic, social, political, and administrative difficulties. The government during that time, therefore, decided to solve the problems through agricultural land reform.”
Eligible Persons Entitled to Land Allocation
Persons, who are eligible for land allocation through agricultural land reform, can be categorized into two groups:
1. Farmers and
2. Farmer Institutions
Qualifications for Those Who Can Apply for Land Utilization in Land Reform Area
Farmers, who have the following qualifications, can apply for land utilization in land reform area.
1. Having a Thai nationality
2. Attaining the age of majority or being the family leader
3. Having good manners and being honest
4. Having good health, being diligent, and having the ability to work in agriculture
5. Neither being insane nor having mental disorders
6. Being landless persons or having small land holdings insufficient for the subsistence
7. Agreeing to comply with the rules, regulations, and conditions imposed by Agricultural Land Reform Executive Committee and Provincial Land Reform Committee
Farmers’ Duties in Land Reform Area
1. Utilizing their land themselves
2. Agreeing to enter into a contract of ALRO and to comply with it
3. Do not change the land condition to be unsuitable for agriculture
4. Do not dig a pond for agriculture exceeding five percent of the granted area
5. Do not build any buildings, except for proper constructions for agricultural utilization
6. Maintaining the evidence pins and the boundary marks; do not neither damage nor move them
7. Do not cause damage to buildings in the land and its environment
8. Performing their duties as specified by the relevant committees
9. Abiding by the loan agreement signed with ALRO and other agencies cooperating with ALRO
Rights to Utilize Land
1. Receiving a land allotment and making a living on enough land
2. Having rights to build dwellings, barns, or any other proper constructions
3. Having rights to dig a pond, not exceeding five percent of the area
4. Having rights to get a loan from the Agricultural Land Reform Fund both at individual and group levels through an agricultural cooperative in land reform area and get a loan from Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC)
5. Receiving academic services from ALRO through the Community Sufficiency Economy Learning Center
6. Having rights to use services from the mobile unit public service center of ALRO
7. Gaining support from ALRO in order to bring farmers together in a form of a sufficiency economy settlement, including the establishment of community enterprises, farmer groups and cooperatives
8. Farmers have rights to receive support for arable land and water sources development for earning a living.
9. Farmers have rights to waive their rights to use the land so that the land can be redistributed for other farmers by ALRO.
10. ALRO land rights can be transferred and inherited
Inducing the King’s wisdom to farmers 4.0 development
The Mobile Unit Public Service Center of ALRO
Objective:
To facilitate the farmers and people in distant areas to reduce transportation costs
Process:
Central Administration: Coordinating, Planning, Allocating budgets, Determining satisfaction evaluation approaches, Monitoring and assessing outcomes
Regional Administration: Setting up public relations planning meetings, Organizing activities, Collecting satisfaction surveys, Inserting data into Plan Action Reporting Action (PARA) system, and Sending data table reports to Land Reform Management Bureau
Outcome:
The Farmers are satisfied with the service, together with receiving information and getting direct services.
Output:
The Farmers obtain equitable services and reduce their expenses.
"ALRO Land is Prohibited on Trading.
Buyers Do Not Have Rights; Sellers Lose Their Rights; Both Are Illegal.”
Created by: Public Relations and Publicity Sub-Bureau, Central Administration Bureau
Translated by : Supak Kaewwaree, Darin Pejaranan, Sirichat Saridniran
International Cooperation Sub-Bureau, Academic Affairs and Planning Bureau
A Vocabulary List (คำศัพท์น่ารู้)
1. Diligent = ความขยัน
2. Dwelling = ที่อยู่อาศัย
3. Eligible = มีสิทธิ
4. Facilitate = อำนวยความสะดวก
5. Fund = กองทุน
6. Loan = เงินกู้
7. Prohibit = ห้าม
8. Qualification = คุณสมบัติ
9. Subsistence = การเลี้ยงชีพ
10. Waive = สละสิทธิ
ความรู้ ครั้งที่ 1
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
เจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้ระบุถึงเจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินว่า "เหตุผลที่มีการประกาศใช้กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากเกษตรกรต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่า ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราที่สูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา ทำให้ผลผลิตเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเช่าที่ดินและจำหน่ายผลผลิตตลอดมาในช่วงเวลาดังกล่าว ปัญหาของเกษตรกรมีความรุนแรงหลายด้าน จนส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองของประเทศ รัฐบาลในสมัยนั้น จึงได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”
ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน
ผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกษตรกร
2. สถาบันเกษตรกร
คุณสมบัติผู้ที่สามารถยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
เกษตรกรผู้ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
1. มีสัญชาติไทย
2. บรรลุนิติภาวะ หรือ เป็นหัวหน้าครอบครัว
3. มีความประพฤติดีและซื่อสัตย์สุจริต
4. มีร่างกายสมบูรณ์ ขยัน แข็งแรง และสามารถประกอบการเกษตรได้
5. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
6. ไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือ มีที่ดินเพียงเล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอแก่การประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ
7. เป็นผู้ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด
หน้าที่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
1. ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง
2. ยินยอมทำสัญญาและปฏิบัติตามสัญญากับ ส.ป.ก.
3. ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนทำให้ไม่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม
4. ไม่ขุดบ่อเพื่อเกษตรกรรมเกินร้อยละ 5 ของเนื้อที่ที่ได้รับมอบ
5. ไม่ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ เว้นแต่การปลูกสร้างตามสมควร สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม
6. ดูแลรักษาหมุดหลักฐาน และหลักเขตที่ดิน มิให้ชำรุด หรือ เคลื่อนย้าย
7. ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างในที่ดินและสภาพแวดล้อม
8. ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
9. ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก. และหน่วยงานอื่นที่ดำเนินงานร่วมกับ ส.ป.ก
สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1. ได้รับการจัดที่ดินและทำกินในที่ดินที่เพียงพอแก่การครองชีพ
2. มีสิทธิที่จะสร้างที่อยู่อาศัย ยุ้งฉาง หรือ สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามสมควร
3. มีสิทธิขุดบ่อไม่เกินร้อยละ 5 ของพื้นที่
4. มีสิทธิจะได้รับสินเชื่อจากกองทุนการปฏิรูปที่ดิน ทั้งรายบุคคล และกลุ่มเกษตรกร ผ่านสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน และสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. ได้รับบริการด้านวิชาการจาก ส.ป.ก. ของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
6. มีสิทธิที่จะใช้บริการจาก ส.ป.ก. ในรูปของศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่
7. ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ป.ก. เพื่อให้เกษตรกรรวมตัวกันในรูปแบบนิคมเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์
8. เกษตรกรมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาที่ดินทำกินและแหล่งน้ำให้สามารถประกอบอาชีพได้
9. เกษตรกรมีสิทธิจะสละสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อ ส.ป.ก. จะได้นำที่ดินไปจัดให้เกษตรกรรายอื่นต่อไป
10. ที่ดิน ส.ป.ก. สามารถโอนและตกทอดมรดกสิทธิได้
น้อมนำศาสตร์พระราชา พัฒนา สู่เกษตรกร 4.0
ศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่
Objective:
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร ประชาชน ในอำเภอที่ห่างไกล ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
Process:
ส่วนกลาง แจ้งประสาน ทำแผนออก จัดสรรงบประมาณ กำหนดแนวทางประเมินความพึงพอใจ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ส่วนจังหวัด ประชุมจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ข่าวสาร จัดกิจกรรม เก็บแบบสำรวจความพึงพอใจ รายงานผลระบบ Para รายงานตารางคีย์ข้อมูล ส่ง สจก.
Outcome:
เกษตรกรมีความพึงพอใจ รับรู้ข่าวสารและรับบริการโดยตรง
Output:
เกษตรกรได้รับบริการทั่วถึง ลดค่าใช้จ่าย
"ที่ดิน ส.ป.ก. ห้ามซื้อขาย
คนซื้อไม่ได้สิทธิ คนขายเสียสิทธิ ผิดกฎหมายทั้งคู่”
จัดทำโดย: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง
แปล: สุภัค แก้ววารี, ดาริน เพชรานันท์, สิริฉัตร สฤษดิ์นิรันดร์
กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักวิชาการและแผนงาน