ส.ป.ก.กำแพงเพชร เปิดนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน "อ้อย"
?
เมื่อวันที่ 11? ตุลาคม? 2551 นายบรรหาร? ศิลปอาชา? นายกรัฐมนตรีคนที่? 21 นายสมศักดิ์? ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์? และ นายสมพัฒน์? แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นประธานเปิดนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน? ?(อ้อย)?? ?พร้อมมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ค??ให้เกษตรกรรวม 100??ราย มอบโล่รางวัลแก่เกษตรกรศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น??และวิสาหกิจชุมชนดีเด่น?มอบทะเบียนวิสาหกิจชุมชน? จากนั้นได้มอบนโยบายโดยเร่งรัดส่งเสริมการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการผลิต พร้อมกับการปรับโครงสร้างการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มประกอบอาชีพ อย่างเป็นระบบและครบวงจร? จากนั้นได้พบปะเกษตรกร พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมการจัดการภายใต้องค์ความรู้นิคมการเกษตร 4 ด้าน ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ?อาทิเช่น การจัดหาและพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร , การปรับโครงสร้างการผลิตและมูลค่าสินค้า , การพัฒนากลไกการรวมกลุ่มจัดตั้งสถาบันเกษตรกร , การพัฒนาด้านการตลาดภายใต้ความร่วมมือไตรภาคี เป็นต้น? โดยมี นายวิทยา? ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ,?????? นายอนันต์? ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ?, ผู้บริหาร ส.ป.ก. , นายธีระ? วงศ์สมุทร อธิบดีกรมชลประทาน ,??????????? นายบัณฑิต ตันศิริ? อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, นายสมชาย? ชาญณรงค์กุล? อธิบดีกรมวิชาการเกษตร , นายศุภชัย? บานพับทอง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ,? นายวรชัย? อุทัยรัตน์? ปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร , หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกำแพงเพชร ,นายเฉลิมพล? เล้าเจริญ นายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 6 กำแพงเพชร ,??นายอดุลย์? โพธิ์อ่วม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี , ผู้แทนเกษตรกร , ผู้แทนภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ? ณ? สหกรณ์การเกษตรคณฑีพัฒนา จำกัด? ตำบลคณฑี? อำเภอเมืองกำแพงเพชร? จังหวัดกำแพงเพชร
นายบรรหาร? ศิลปอาชา ได้กล่าวว่า "การพัฒนาด้านการเกษตรของไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและต้องจัดการให้ครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ทั้งการผลิตและการจัดการ สนับสนุนการปรับปรุงดิน?พันธุ์อ้อย???เทคโนโลยีการผลิต? โดยมุ่งหวังให้ได้ผลผลิตเป็น 18 ตัน/ไร่ โดยเริ่มดำเนินการในพื้นที่? 10,000? ไร่ ??รวมถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและการตลาดที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน ??การผลิตอ้อยของไทยเป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจไทยที่จะทำให้ชาติไทยสามารถยืนบนลำแข้งของตนเองได้ และก้าวไปข้างหน้าอย่างทัดเทียมนานาประเทศ โดยมุ่งหวังว่าโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตรฯ จะสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม"
นายสมศักดิ์? ปริศนานันทกุล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า??" โครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน เป็นการแปลงนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ เกษตรเพื่อเกษตร เกษตรเพื่อประชาชน และเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยในปี 2550 ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกอ้อย ประมาณ?? 6.3 ล้านไร่ ผลผลิตอ้อยรวมประมาณ 64 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ?10 ตัน/ไร่ และในปีนี้คาดว่ามีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 6.5 ล้านไร่ และน่าจะให้ผลผลิตประมาณ 73.5 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 11 ตัน/ไร่ ??
???????????? ปัจจุบัน?จังหวัดกำแพงเพชร?มีพื้นที่ปลูกอ้อย?426,352?ไร่?ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ? 11,468? ??กิโลกรัมต่อ/ไร่?ปริมาณผลผลิต??4,889??ล้านตันต่อปี?โดยมีโรงงานน้ำตาล??2??แห่ง?อยู่ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร
การจัดให้มีโครงการนำร่อง นิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน จังหวัดกำแพงเพชร? เน้นเรื่องการผลิตอ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแล้วยังสามารถใช้ผลิตเอทานอล เพื่อทดแทนพลังงานจากน้ำมันปิโตเลียมเป็นความตั้งใจหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดินและคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยการปรับโครงสร้างการผลิตทั้งระบบ คือเริ่มตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกร การสนับสนุนในเรื่องการพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเหมาะสมและเพียงพอสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าของอ้อยโดยกำหนด ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 13 ตัน/ไร่ เป็น 18 ตัน/ไร่ ที่สำคัญคือการเชื่อมโยงสู่ระบบการตลาดโดยเฉพาะความร่วมมือกับภาคเอกชน??และให้ความสำคัญกับกลไกการรวมกลุ่มของเกษตรกรและพัฒนาสถาบันเกษตรกร ให้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรและชุมชนเข้มแข็งและเกิดพลังอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน??"