image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายสมศักดิ์  การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ได้เรียนเชิญ นางสาวกานดา  ศากยะโรจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ร่วมประชุมการถ่ายทอดความรู้ (Unit School) ผ่านระบบ Zoom Meeting ให้กับบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน เรื่องการถ่ายทอดการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน ด้วยเครื่องมือ OS Matrix (Owner – Supporter Matrix) ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านการจัดการที่ช่วยนำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการวัดหรือการประเมินสำหรับหน่วยงานและบุคคลให้เกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายสมศักดิ์ การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ได้เรียนเชิญ นางสาวกานดา ศากยะโรจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ร่วมประชุมการถ่ายทอดความรู้ (Unit School) ผ่านระบบ Zoom Meeting ให้กับบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน เรื่องการถ่ายทอดการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน ด้วยเครื่องมือ OS Matrix (Owner – Supporter Matrix) ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านการจัดการที่ช่วยนำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการวัดหรือการประเมินสำหรับหน่วยงานและบุคคลให้เกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

ธันวาคม 15, 2565 | ภาพข่าว

รายละเอียด >

วันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2565  นายสมศักด์ การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน มอบหมายให้ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมถอดบทเรียนฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช และ องค์การบริหารส่วนตำบลวังอ่าง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก นายก อบต.วังอ่าง สนับสนุนปูนซีเมนต์ปอร์ต แลนด์ 280 ถุง และ รถแบ็คโฮ ในการทำงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุภัทรดิศ ราชธา อนุกรรมาธิการศึกษาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นวิทยากร บรรยายพร้อมอบรมเชิงปฏิบัติการ การก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวด้วยนวัตกรรมแกนดินซีเมนต์ พร้อมเจ้าหน้าที่และ เกษตรกร จำนวน 50 คน ร่วมก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวด้วยนวัตกรรมแกนดินซีเมนต์  ขนาด กว้าง 4 ม. ยาว 10 ม. สูง 1.5 ม. ในพื้นที่ ตำบลวังอ่าง มีพื้นที่รับประโยชน์ 450 ไร่ เกษตรกร 21 ครัวเรือน ในเขตปฏิรูปที่ดิน

วันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2565 นายสมศักด์ การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน มอบหมายให้ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมถอดบทเรียนฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช และ องค์การบริหารส่วนตำบลวังอ่าง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก นายก อบต.วังอ่าง สนับสนุนปูนซีเมนต์ปอร์ต แลนด์ 280 ถุง และ รถแบ็คโฮ ในการทำงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุภัทรดิศ ราชธา อนุกรรมาธิการศึกษาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นวิทยากร บรรยายพร้อมอบรมเชิงปฏิบัติการ การก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวด้วยนวัตกรรมแกนดินซีเมนต์ พร้อมเจ้าหน้าที่และ เกษตรกร จำนวน 50 คน ร่วมก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบชั่วคราวด้วยนวัตกรรมแกนดินซีเมนต์ ขนาด กว้าง 4 ม. ยาว 10 ม. สูง 1.5 ม. ในพื้นที่ ตำบลวังอ่าง มีพื้นที่รับประโยชน์ 450 ไร่ เกษตรกร 21 ครัวเรือน ในเขตปฏิรูปที่ดิน

ธันวาคม 1, 2565 | ภาพข่าว

รายละเอียด >

วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายสมศักดิ์  การเจริญกุลวงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ประชุมเพื่อพิจารณาส่งเสริมด้านเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ในเขตปฏิรูปที่ดิน ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสถิติดิจิทัล (Depa)  เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยการนำเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์ ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อลดการใช้แรงงาน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ รวมถึงมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบันทึกกิจกรรม การดำเนินการต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อการรับรองตามมาตรฐาน GAP ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนทั้ง 2 หน่วยงานในอนาคตจะจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่เกษตรดิจิทัลในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป

วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายสมศักดิ์ การเจริญกุลวงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ประชุมเพื่อพิจารณาส่งเสริมด้านเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ในเขตปฏิรูปที่ดิน ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสถิติดิจิทัล (Depa) เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยการนำเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์ ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อลดการใช้แรงงาน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ รวมถึงมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบันทึกกิจกรรม การดำเนินการต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อการรับรองตามมาตรฐาน GAP ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนทั้ง 2 หน่วยงานในอนาคตจะจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่เกษตรดิจิทัลในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป

กันยายน 28, 2565 | ภาพข่าว

รายละเอียด >

เกษตรดิจิทัล วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.00 น. นายสมศักดิ์ การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ร่วมหารือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นำโดย ดร.อภิชาติบุตร รอดยัง รักษาการผู้จัดการสาขาภาคกลางตอนกลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ ผ่านระบบ Zoom Meeting แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน สู่การเกษตรอัจฉริยะ Smart Farmer ในพื้นที่72จังหวัด เพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานรับรองผ่านดิจิทัล (Start Up) เบื้องต้นร่วมกันคัดเลือกกลุ่มวิสากิจชุมชนที่ได้รับการติดตั้งโรงอบพาราโบล่า ในปี 2565 และ ปี 2566 จำนวน 80 แห่ง เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตรวจวัดความชื้นภายในโรงอบพาราโบล่า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทุเรียน กาแฟ และแปลงเมล่อน ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น รวมถึงมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบันทึกกิจกรรม การดำเนินการต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อการรับรองตามมาตรฐาน GAP ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนทั้ง 2 หน่วยงานในอนาคตจะจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่เกษตรดิจิทัลในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป

เกษตรดิจิทัล วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.00 น. นายสมศักดิ์ การเจริญกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ร่วมหารือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นำโดย ดร.อภิชาติบุตร รอดยัง รักษาการผู้จัดการสาขาภาคกลางตอนกลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ ผ่านระบบ Zoom Meeting แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน สู่การเกษตรอัจฉริยะ Smart Farmer ในพื้นที่72จังหวัด เพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานรับรองผ่านดิจิทัล (Start Up) เบื้องต้นร่วมกันคัดเลือกกลุ่มวิสากิจชุมชนที่ได้รับการติดตั้งโรงอบพาราโบล่า ในปี 2565 และ ปี 2566 จำนวน 80 แห่ง เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตรวจวัดความชื้นภายในโรงอบพาราโบล่า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทุเรียน กาแฟ และแปลงเมล่อน ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น รวมถึงมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบันทึกกิจกรรม การดำเนินการต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อการรับรองตามมาตรฐาน GAP ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนทั้ง 2 หน่วยงานในอนาคตจะจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่เกษตรดิจิทัลในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป

กรกฎาคม 8, 2565 | ภาพข่าว

รายละเอียด >