image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

หน้าที่และความรับผิดชอบ

พฤศจิกายน 14, 2563 | หน้าเว็บ

หน้าที่และความรับผิดชอบ

กรอบหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 ๑. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามเป้าหมาย แผนงานและโครงการของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดและสำนักงานในเขตพื้นที่จังหวัด

๒.ดำเนินการด้านสำรวจรังวัด งานสอบสิทธิ งานข้อมูลสารบบที่ดินและแผนที่ งานกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม งานคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม งานเจรจาไกล่เกลี่ย และระงับข้อพิพาท งานคดี งานความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และงานออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน การพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัด

๓.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

วิสัยทัศน์ ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔

"อยุธยาเมืองมรดกโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ น่าเที่ยว น่าอยู่ น่าลงทุน”

ประเด็นยุทธศาสตร์ 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ : พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการบริการสู่มาตรฐานสากล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ : พัฒนาภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ฝ่ายบริหารทั่วไป

- มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ งานสารบรรณ งานธุรการและงานประชุม

-การจัดแผนงานงบประมาณประจำปี รายงานแผน / ผลความก้าวหน้าการปฏิรูปที่ดิน (PARA) รายงานผลการตรวจสอบพื้นที่และติดตามการใช้-ประโยชน์ที่ดิน (X-Ray) งานระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)

-งานบุคคลและพัฒนาบุคคล

-งานประสานราชการ

-งานยานพาหนะและสถานที่ ควบคุมดูแลการใช้ และบำรุงรักษายานพาหนะ ควบคุมดูแลสถานที่ของทางราชการ

-ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ งานจัดเก็บรักษาควบคุมรับ - จ่าย จัดทำทะเบียนรับ - จ่าย ลงทะเบียนคุมวัสดุครุภัณฑ์ การรายงาน-พัสดุคงเหลือสิ้นปี , การจำหน่ายพัสดุครุภัณฑ์ชำรุด

-ศูนย์บริการประชาชน

 -ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน

-งานพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน

-งานพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเกษตรกร

-งานอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน

-งานพัฒนาในพื้นที่เฉพาะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

-งานพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่และยุวเกษตร

-งานประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

-งานวางแผนการผลิตและปรับโครงสร้างทางการเกษตร

-การสร้างและพัฒนาอาสาสมัครผู้นำเกษตร , ปราชญ์เกษตร

-ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรทั่วไปและนอกการเกษตร

-วิเคราะห์โครงการและสินเชื่อแก่เกษตรกร , วิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร

-ประสานงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตปฏิรูปที่ดิน

-ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มการเงินบัญชีและจัดเก็บผลประโยชน์

-หน้าที่เกี่ยวกับงานงบประมาณ การเงินและบัญชี การจัดหาพัสดุ ตรวจสอบใบสำคัญ (เงินในงบประมาณ)

-ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดิน (เงินนอกงบประมาณ) ทั้งระบบตลอดจนการจัดทำบัญชี/การจัดทำรายงานต่างๆ

-งานบริหารแผนงานและงบประมาณ

-ปฏิบัติงานระบบบริหารเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System) : GFMIS

-ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มกฎหมาย

-จัดหาที่ดินของรัฐและจัดซื้อที่ดิน เพื่อนำมาปฏิรูปที่ดิน

-งานนิติกรรมสัญญา

-การดำเนินงานคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คลีล้มละลาย การบังคับคดี และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

-งานรับเรื่องราวร้องทุกข์เจรจาไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท

-งานคุ้มครองสิทธิในที่ดิน

-งานสอบสวนสิทธิและเจรจากระจายสิทธิ

-งานคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน

 -งานอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน ด้านสาธารณูปโภค ด้านกิจการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ-ติดตามตรวจสอบสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน

-ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานช่างและแผนที่

-สำรวจรังวัดและทำแผนที่ เพื่อการปรับปรุงสิทธิ จัดทำเอกสารสิทธิและพัฒนาพื้นที่

-รวบรวม จัดทำ ปรับปรุง (Update) ควบคุม ดูแล และพัฒนาระบบข้อมูลแผนที่เชิงเลข (Digital Map)

-ควบคุมสารบบแผนที่แปลงที่ดิน ทะเบียนที่ดินและควบคุมการจัดเก็บสารบบที่ดิน

-สำรวจรังวัดเพื่อการระวังแนวเขต

-สำรวจรังวัดเพื่อการออกแบบงานก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่ในโครงการพระราชดำริ

-สำรวจรังวัดเพื่อตรวจสอบการออกหนังสือสำคัญ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประกาศเขตการปฏิรูปที่ดิน

-สำรวจและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการทำประโยชน์ในที่ดิน

-สำรวจรังวัดการขอใช้ที่ดินในพื้นที่การปฏิรูปที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภค

-ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                                                   อำนาจหน้าที่


สำนักงานปฎิรูปทีดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1.ดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.ดำเนินการจัดหาทีดินเอกชน และที่ดินของรัฐ มาดำเนินการปฎิรูปที่ดิน ตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยจัดที่ดินให้เกษตรกรทำประโยชน์ เช่า เช่าซื้อ การให้กรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประสานงานส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการปฎิรูปที่ดินและวิชาการด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

3.ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำแนกการใช้ประโยชน์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากร ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และรักษาพื้นที่เกษตรกรรม

4.บริหารกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ การให้กู้ยืมเงินสำหรับการพัฒนาอาชีพ รวมตลอดถึงการใช้เงินกองทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมิให้สูญเสียสิทธิในที่ดิน รวมทั้งการจัดทำสารบบที่ดินเพื่อการปฎิรูปที่ดิน

5.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                                                                         ภารกิจการดำเนินงาน

ส.ป.ก.กำหนดภารกิจการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ 3 ประการ ดังนี้

งานจัดที่ดิน
เป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรได้เป็นเจ้าของที่ดินภายใต้กฏหมายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยดำเนินการในที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ ที่ดินของรัฐ และที่ดินเอกชน

ที่ดินของรัฐ
ส.ป.ก. จะทำการสำรวจรังวัด และสอบสวนสิทธิในที่ดิน เจรจากระจายสิทธิ ลดเนื้อที่และแบ่งแยกที่ดิน (กรณีมีที่ดินกินสิทธิตามกฎหมาย) เพื่อนำมาจัดให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ตามที่เกษตรกรได้ยื่นคำร้องไว้ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับสิทธิตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ได้รับหนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก.4-28) และหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) และมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป โดยที่ดินของรัฐ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพ ที่จำแนกเป็นที่จัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี ที่สาธารณประโยชน์ที่ราษฎรเลิกใช้ร่วมกัน ที่สาธารณสมบัติแผ่นดิน และที่รกร้างว่างเปล่าที่อยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร
ที่ดินเอกชน
ส.ป.ก.จะนำที่ดินที่จัดซื้อหรือเวนคืนมาจัดสรรแก่เกษตรกรผู้เช่า หรือผู้ไร้ที่ทำกิน หรือผู้มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งเกษตรกรจะต้องเช่า หรือเช่าซื้อจาก ส.ป.ก. และมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป โดย ส.ป.ก. จะจัดซื้อ หรือเวนคืนที่ดินจากเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเกินกว่าพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตกรรมกำหนด

งานพัฒนา
ดำเนินงานในส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำ เพื่อยกระดับสภาพความเป็นอยู่ตามความจำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร

งานเพิ่มรายได้
เป็นการดำเนินงานปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและโครงสร้างทางการเกษตร จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดิน จัดหาสินเชื่อและปัจจัยการผลิต พัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรและนอกการเกษตร การให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการรักษาดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบ และมติของ คปก. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในที่ดินสาธารณะ ที่ดินชุมชน และที่ดินที่จัดให้เกษตรกร โดย ส.ป.ก.จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามสภาพของท้องที่นั้นๆ สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
 

 

ป้ายกำกับ
ล่าสุด