ฉบับวันที่ : 10 เม.ย. 2556 บ่าย รายละเอียด : จากความร่วมมือกันของ 10 ประเทศอาเซียน บวก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมเป็น 13 ประเทศ ในการทำโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออกขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมืออาหารขาดแคลนในช่วงภัยพิบัติของประเทศอาเซียน+3 ที่มีการดำเนินการนำร่องมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้น จนถึงปัจจุบันได้ขยายผลสู่การจัดตั้งเป็นองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 โดยมีสำนักงานเลขานุการอยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า องค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve : APTERR) เกิดขึ้นจากโครงการนำร่องระบบสำรองข้าวในเอเชียตะวันออกที่มีการดำเนินงานมาร่วม 10 ปี จนรัฐมนตรีอาเซียนมีความเห็นให้จัดตั้งเป็นองค์กรถาวรขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้นต้องถือว่าเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก เป็นผู้นำประเทศหนึ่งในเรื่องของข้าว อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานตั้งแต่เป็นโครงการนำร่อง ดังนั้น ไทยจึงเสนอตัวขอเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน+3 หรือ APTERR ซึ่งที่ประชุมก็เห็นชอบให้มาตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศไทย โดยตั้งอยู่ภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเลขานุการแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก APTERR ทั้ง 13 ประเทศ ในการบริหารจัดการสำรองข้าวฉุกเฉินของภูมิภาคอาเซียน+3 ช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ คณะมนตรีถาวรของ APTERR ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อรับรองร่างกฎระเบียบและคู่มือการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค โดยล่าสุดมีการรับรองร่างกฎระเบียบการดำเนินงานของ APTERR จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1. กฎระเบียบการระบายและเติมเต็มข้าวสำรองฉุกเฉิน 2. กฎระเบียบการดำเนินงานของคณะมนตรีAPTERR 3. กฎระเบียบของสำนักงานเลขานุการ APTERR 4. คู่มือการจัดจ้างผู้บริหารสำนักงานเลขานุการ APTERR นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้จ้างผู้จัดการทั่วไปของสำนักงานเลขานุการ APTERR และให้ประเทศสมาชิกเร่งส่งแผนการส่งมอบเงินกองทุน APTERR มายังสำนักงานเลขานุการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรต่อไป ในกลุ่มอาเซียนได้มีการสำรองข้าวฉุกเฉินไว้ประมาณ 87,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นของประเทศไทยประมาณ 15,000 ตัน ขณะที่ 3 ประเทศที่เข้ามาช่วยจะมีการสำรองข้าวประมาณ 7 แสนตัน โดยการสำรองข้าวนั้นอาจจะไม่ใช่รูปของข้าวอย่างเดียว จะเป็นการสำรองในรูปของเงินเพื่อนำไปซื้อข้าวบริจาคก็ได้ ส่วนการช่วยเหลือก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการพิจารณาของสำนักงานเลขานุการ APTERR เช่น เกิดภัยพิบัติที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร และประเทศสมาชิกไม่มีข้าวสำรอง ประชาชนเดือดร้อน แม้มีเงินแต่ก็หาซื้อข้าวไม่ได้ ทาง APTERR ก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยถ้าเป็นปริมาณขั้นต่ำ 50 ตัน ทางสำนักงานเลขานุการ สามารถตัดสินใจบริจาคได้ทันทีและแจ้งให้ทางคณะมนตรี APTERR ได้รับทราบ ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น แม้ว่าขณะนี้ความช่วยเหลือยังคงมุ่งเน้นไปที่สมาชิกอาเซียน+3 เท่านั้น ประเทศอื่นไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไข แต่ว่าถ้าพูดถึงในแง่ของมนุษยธรรม ถ้าประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเกิดความเดือดร้อน ก็น่าจะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรี APTERR ต่อไปในอนาคต. จากความร่วมมือกันของ 10 ประเทศอาเซียน บวก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมเป็น 13 ประเทศ ในการทำโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออกขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมืออาหารขาดแคลนในช่วงภัยพิบัติของประเทศอาเซียน+3 ที่มีการดำเนินการนำร่องมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้น จนถึงปัจจุบันได้ขยายผลสู่การจัดตั้งเป็นองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 โดยมีสำนักงานเลขานุการอยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า องค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve : APTERR) เกิดขึ้นจากโครงการนำร่องระบบสำรองข้าวในเอเชียตะวันออกที่มีการดำเนินงานมาร่วม 10 ปี จนรัฐมนตรีอาเซียนมีความเห็นให้จัดตั้งเป็นองค์กรถาวรขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้นต้องถือว่าเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก เป็นผู้นำประเทศหนึ่งในเรื่องของข้าว อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานตั้งแต่เป็นโครงการนำร่อง ดังนั้น ไทยจึงเสนอตัวขอเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน+3 หรือ APTERR ซึ่งที่ประชุมก็เห็นชอบให้มาตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศไทย โดยตั้งอยู่ภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเลขานุการแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก APTERR ทั้ง 13 ประเทศ ในการบริหารจัดการสำรองข้าวฉุกเฉินของภูมิภาคอาเซียน+3 ช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ คณะมนตรีถาวรของ APTERR ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อรับรองร่างกฎระเบียบและคู่มือการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค โดยล่าสุดมีการรับรองร่างกฎระเบียบการดำเนินงานของ APTERR จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1. กฎระเบียบการระบายและเติมเต็มข้าวสำรองฉุกเฉิน 2. กฎระเบียบการดำเนินงานของคณะมนตรีAPTERR 3. กฎระเบียบของสำนักงานเลขานุการ APTERR 4. คู่มือการจัดจ้างผู้บริหารสำนักงานเลขานุการ APTERR นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้จ้างผู้จัดการทั่วไปของสำนักงานเลขานุการ APTERR และให้ประเทศสมาชิกเร่งส่งแผนการส่งมอบเงินกองทุน APTERR มายังสำนักงานเลขานุการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรต่อไป ในกลุ่มอาเซียนได้มีการสำรองข้าวฉุกเฉินไว้ประมาณ 87,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นของประเทศไทยประมาณ 15,000 ตัน ขณะที่ 3 ประเทศที่เข้ามาช่วยจะมีการสำรองข้าวประมาณ 7 แสนตัน โดยการสำรองข้าวนั้นอาจจะไม่ใช่รูปของข้าวอย่างเดียว จะเป็นการสำรองในรูปของเงินเพื่อนำไปซื้อข้าวบริจาคก็ได้ ส่วนการช่วยเหลือก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการพิจารณาของสำนักงานเลขานุการ APTERR เช่น เกิดภัยพิบัติที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร และประเทศสมาชิกไม่มีข้าวสำรอง ประชาชนเดือดร้อน แม้มีเงินแต่ก็หาซื้อข้าวไม่ได้ ทาง APTERR ก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยถ้าเป็นปริมาณขั้นต่ำ 50 ตัน ทางสำนักงานเลขานุการ สามารถตัดสินใจบริจาคได้ทันทีและแจ้งให้ทางคณะมนตรี APTERR ได้รับทราบ ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น แม้ว่าขณะนี้ความช่วยเหลือยังคงมุ่งเน้นไปที่สมาชิกอาเซียน+3 เท่านั้น ประเทศอื่นไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไข แต่ว่าถ้าพูดถึงในแง่ของมนุษยธรรม ถ้าประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเกิดความเดือดร้อน ก็น่าจะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรี APTERR ต่อไปในอนาคต.