image banner

Agricutural Land Reform Office

กระทรวงเกษตรฯ ผลักดันยโสธร โมเดล

เมษายน 4, 2559 | ข่าว ส.ป.ก.

            กระทรวงเกษตรฯ ผลักดัน"ยโสธร โมเดล" ด้านเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน กระทรวงเกษตรฯ จับมือผู้ว่าฯ เมืองบั้งไฟ ลงนาม MOU ร่วมสร้าง ?ยโสธร โมเดล? เป็นจังหวัดต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์ก้าวสู่ตลาดโลก วางเป้าขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 % ต่อปี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ขานรับนโยบายเชิงรุกขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืนในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินทั้ง 72 จังหวัด คาดว่าจะยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรไทยสอดคล้องกับความต้องการตลาดภายในและต่างประเทศ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวกับราษฎรผู้เป็นเกษตรกรกลุ่มโคขุนหนองแหน ว่า การขับเคลื่อนการดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตามรูปแบบ"ยโสธร โมเดล"(Yasothon Model) เป็นนโยบายที่มีความสำคัญและเป็นภารกิจที่ส่งเสริมกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตนับตั้งแต่ เริ่มต้นการคัดเลือกสายพันธุ์ จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้เดิมเป็นนโยบายของ นายประวัติ ถีถะแก้ว อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ต่อมานายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้ดำเนินการขับเคลื่อนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงการขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรอย่างมั่นคงและยั่งยืน ณ บ้านหนองแหน หมู่ ๗ ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จ.ยโสธร และเยี่ยมชมบริษัทกรีนเนท อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ผู้ผลิตและขำหน่ายข้าวเกษตรอินทรีย์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์และกะทิกล่อง นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวเสริมว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่และการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ต้นแบบในเขตปฏิรูปที่ดินในหลายพื้นที่ในจังหวัดยโสธร ซึ่งแต่ละพื้นที่ล้วนประสบความสำเร็จ โดย ตั้งเป้าหมายการสร้างพื้นที่ต้นแบบในพื้นที่จังหวัดยโสธรในปี 2558 จำนวน ๔ ตำบล คือ ต.กำแมด อำเภอกุดชุม จำนวน ๒,๒๔๐ ไร่ ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จำนวน ๒๖๐ ไร่ ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จำนวน ๑,๓๐๐ ไร่และตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิกนกทา จำนวน ๑,๕๐๐ไร่ และในพื้นที่จังหวัดอื่นๆอีก ๑๖ จังหวัด ๒๗ กลุ่ม ๗๔๔ ครัวเรือน โดยส.ป.กได้เตรียมความพร้อมเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ จำนวน ๙๑๐ รายและผ่าน กระบวนการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และการจัดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรอินทรีย์ จำนวน ๖๕๐ราย