image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

กระบวนการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

มิถุนายน 30, 2559 | โครงการที่สำคัญตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัจจุบันภาคเกษตรของไทยยังคงประสบปัญหา สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีความรุนแรงขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) จึงประกาศให้ปีงบประมาณ 2559 เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร เพื่อเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในอนาคต เป้าหมายการทำงาน คือ เกษตรกรเป็นศูนย์กลางและการทำงานทุกระดับต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจน โดยแนวทางการดำเนินงานยึดนโยบายของรัฐบาลที่มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล 6 ด้าน ได้แก่ 1. ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ 2. ปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการ 3. บริหารจัดการทรัพยากรของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติ 4. สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผล 5. ป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ และ 6. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ โปรงใส ตรวจสอบได้ โดยกำหนดเป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการ 3 ระดับ คือ 1) งานที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) การลดต้นทุนการผลิต การจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรที่ครอบคลุม การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 2) งานที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง ต้องพลักดันให้มีการทำเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ ปัจจัยการผลิตและความต้องการของตลาด พัฒนาผลผลิตของเกษตรกรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีสุขภาพอนามัยระดับสากล ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการให้เหมาะสม ปรับปรุงรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ กำหนดมาตรการในการตรวจสหกรณ์ที่จริงจัง รวมทั้งเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร 3) งานเพื่อความยั่งยืน ต้องเร่งพลักดันงานวิจัยเพื่อสนับสนุนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ตรงตามความต้องการของตลาด การจัดโซนนิ่งการปลูกพืช มีผลผลิตที่ตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ จัดหาแหล่งน้ำที่เพียงพอ พัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งรวมกลุ่มสมาชิกดูแลช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต ส.ป.ก. ได้จัดทำโครงการกระบวนการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทีรีย์แบบกลุ่ม ซึ่งเป็นระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) โดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมเข้าสู้ระบบเกษตรอินทรีย์แก่แกษตรกร 910 รายในเขตปฏิรูปที่ดิน เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ให้เป็นนักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 30 ราย ปัจจุบันได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (ข้าว)ในเขตปฏิรูปที่ดินที่จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม หนองบัวลำภู อุดรธานี นครปฐม พิจิตร น่าน แพร่ ฉะเชิงเทรา(ระยะปรับเปลี่ยน) ศรีสะเกษ ลำพูน (ระยะปรับเปลี่ยน) แม่ฮ่องสอน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 5,974.63 ไร่
 
ป้ายกำกับ
ล่าสุด