image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

กษ.ชี้แนวทางการขับเคลื่อนแปลงใหญ่หัวขบวน 4.0

ตุลาคม 19, 2560 | ข่าวประชาสัมพันธ์

แนวทางในการสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่ 4.0 

            การสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่ 4.0 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานตัวอย่างการพัฒนาภาคเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น จึงมีแผนจะพัฒนาความร่วมมือเรื่องเกษตรสมัยใหม่ระหว่างสองประเทศ ใน 2 แนวทาง คือ
 1) ดำเนินการร่วมกับ GISDA และประเทศญี่ปุ่น ให้มีการคัดเลือกพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะสร้างเป็นหัวขบวน ๔.๐ ทั้งในเรื่องลูกค้า สินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรม เบื้องต้นอาจเลือกสินค้าเพียง 1 – 2 ชนิด อาจมีการจัดทำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเพื่อสะท้อนพื้นที่และสินค้า และใช้แนวทางประชารัฐเกษตรสมัยใหม่
2) ดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพิจารณาเลือกพื้นที่และสินค้าตามระบบแปลงใหญ่ จึงขอให้เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องขนาดของพื้นที่ คน สินค้า และตลาด และศึกษาถึงวิธีการขับเคลื่อนเครื่องมือเป็นเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ ต้นทุนลดลง แก้ปัญหาแรงงานสูงอายุ และการเพิ่มขึ้นของคุณภาพสินค้า ต่อมาท่านได้มอบนโยบายและแนวทางในการสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่เกษตร 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง/พัฒนาแปลงใหญ่เป็นรายสินค้าเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม งานวิจัย ตามแนวเกษตร 4.0 เป็นแปลงนำร่อง และทำตัวอย่างให้เกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรของตน ซึ่งมีเป้าหมายในปีงบประมาณ 2561 แยกตามรายสินค้าเกษตร โดยในเบื้องต้นได้กำหนดองค์ประกอบในการดำเนินการ ดังนี้
1) วิเคราะห์/กำหนดรายการสินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปศุสัตว์ ประมง พืชไร่/สวน
2) กำหนดแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพ จำแนกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ ฐานรายสินค้าที่มีศักยภาพ ขนาดพื้นที่เหมาะสม ความพร้อมของเกษตรกร ดิน/น้ำ และมีตลาดรองรับ
3) กำหนดวิธีการปฏิบัติ ประกอบด้วย ปรับปรุงบำรุงดิน เมล็ดพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก การอารักขาพืช (การให้น้ำ, ปุ๋ย) วิธีกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การแปรรูป/เก็บรักษา เชื่อมโยงตลาด
          ประเด็นการพัฒนา คือ
             1.การบริหารจัดการ
             2.การลดต้นทุน
             3. การบริหารจัดการผลิต
             4.การเพิ่มมูลค่า
             5.การตลาด
4) เป้าหมาย คือ ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพของสินค้า รวมถึงให้มีการเปรียบเทียบกับการผลิตรูปแบบเดิม เพื่อมุ่งสู่ตลาด/ผู้บริโภค
5) แหล่งเงินทุน ประกอบด้วย งบปกติตาม Function ของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งบกลุ่มจังหวัด และงบร่วมกับประชารัฐ
6) การขับเคลื่อน ได้แก่ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมงานวิจัย คำนึงถึงความคุ้มค่า (ต้นทุนต่อขนาดของพื้นที่) และการบริหารจัดการสินค้าครบวงจร
7) การสนับสนุนของภาครัฐ โดยพิจารณาว่า รัฐจะสนับสนุนอย่างไร/เท่าไร/เกษตรกรออกเท่าไร เมื่อกำหนดแผนการดำเนินงานและทุกหน่วยงานต้องมาบูรณาการร่วมกัน สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นลักษณะงบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจ เช่น การปรับปรุงดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน การปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ต้องเห็นภาพการทำเกษตรที่มีความคุ้มกัน ซึ่งขยายต่อยอดจากแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งให้เกษตรกรทำบัญชีครับเรือนอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะหากเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับต้นทุนและกำไร จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรได้ สำหรับแนวทางการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจเป็นเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือ/ปัจจัยการผลิต โดยรัฐอาจสนับสนุนร้อยละ 50 เช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเกษตรกร และส่วนที่เหลือให้สหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ มอบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ โดยให้เร่งดำเนินการให้เกิดความชัดเจนและรายงานให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบภายในเดือนตุลาคม 2560 ปัจจุบันหน่วยงานในกระทรวงเกษตรได้คัดเลือกและนำเสนอพื้นที่แปลงใหญ่เพื่อขับเคลื่อนเป็นหัวขบวนแปลงใหญ่ ดังนี้ แปลงหัวขบวน 4.0 ข้าว ได้แก่
 
ชื่อแปลง
ผู้รับผิดชอบหลัก
แปลงใหญ่หัวขบวน 4.0 ด้านข้าว
1.แปลงใหญ่ข้าวบ้านพระแก้ว ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการข้าว

2.แปลงใหญ่ข้าว นิคมสหกรณ์พิชัย จำกัด
กรมส่งเสริมสหกรณ์
3. แปลงใหญ่ข้าวสหกรณ์การเกษตรเชียงแสน จำกัด จังหวัดเชียงราย
กรมส่งเสริมสหกรณ์
แปลงใหญ่หัวขบวน 4.0 ด้านพืชไร่
4. แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
5. แปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
6. แปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
แปลงหัวขบวน 4.0 ไม้ผล
 
7.แปลงใหญ่มังคุด ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กรมส่งเสริมการเกษตร
8. แปลงใหญ่ทุเรียน ตำบลพลวงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร
9. แปลงประชารัฐผลหม่อนสด จังหวัดน่าน
กรมหม่อนไหม
แปลงหัวขบวน 4.0 พืชสวน
10.แปลงใหญ่สมุนไพร (ประชารัฐ) ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
แปลงหัวขบวน 4.0 ด้านปศุสัตว์  
11.แปลงใหญ่โคเนื้อ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร  กรมปศุสัตว์/พื้นที่ ส.ป.ก.
12.สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด จังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ กรมปศุสัตว์/พื้นที่ ส.ป.ก.
13 .สหกรณ์โคนมการเกษตรไชยปราการ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ กรมปศุสัตว์
14. สหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด จังหวัดขอนแก่น กรมปศุสัตว์
แปลงหัวขบวน 4.0 ด้านประมง
15. แปลงใหญ่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทอง จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง
16.แปลงใหญ่ปลานิลปนกุ้งขาวแวนนาไม สหกรณ์นิคมบ้านสร้างพัฒนา จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
กรมประมง
 
Header40
ที่มา : เยี่ยมพร ภิเศก , สรุปรายงานการประชุมผู้บริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 43/2560 วันที่ 27 กันยายน -2560 บันทึก กองแผนงาน กรมปศุสัตว์ ที่ กษ 0606/2093 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2560
, พรพรรณ คำศรี สรุปประเด็นการประชุม 6 ตุลาคม 2560
 
ป้ายกำกับ
ล่าสุด