แนวทางในการสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่ 4.0
การสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่ 4.0 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานตัวอย่างการพัฒนาภาคเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น จึงมีแผนจะพัฒนาความร่วมมือเรื่องเกษตรสมัยใหม่ระหว่างสองประเทศ ใน 2 แนวทาง คือ
1) ดำเนินการร่วมกับ GISDA และประเทศญี่ปุ่น ให้มีการคัดเลือกพื้นที่แปลงใหญ่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะสร้างเป็นหัวขบวน ๔.๐ ทั้งในเรื่องลูกค้า สินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรม เบื้องต้นอาจเลือกสินค้าเพียง 1 – 2 ชนิด อาจมีการจัดทำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเพื่อสะท้อนพื้นที่และสินค้า และใช้แนวทางประชารัฐเกษตรสมัยใหม่
2) ดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพิจารณาเลือกพื้นที่และสินค้าตามระบบแปลงใหญ่ จึงขอให้เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องขนาดของพื้นที่ คน สินค้า และตลาด และศึกษาถึงวิธีการขับเคลื่อนเครื่องมือเป็นเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ ต้นทุนลดลง แก้ปัญหาแรงงานสูงอายุ และการเพิ่มขึ้นของคุณภาพสินค้า ต่อมาท่านได้มอบนโยบายและแนวทางในการสร้างหัวขบวนแปลงใหญ่เกษตร 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง/พัฒนาแปลงใหญ่เป็นรายสินค้าเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม งานวิจัย ตามแนวเกษตร 4.0 เป็นแปลงนำร่อง และทำตัวอย่างให้เกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรของตน ซึ่งมีเป้าหมายในปีงบประมาณ 2561 แยกตามรายสินค้าเกษตร โดยในเบื้องต้นได้กำหนดองค์ประกอบในการดำเนินการ ดังนี้
1) วิเคราะห์/กำหนดรายการสินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปศุสัตว์ ประมง พืชไร่/สวน
2) กำหนดแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพ จำแนกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ ฐานรายสินค้าที่มีศักยภาพ ขนาดพื้นที่เหมาะสม ความพร้อมของเกษตรกร ดิน/น้ำ และมีตลาดรองรับ
3) กำหนดวิธีการปฏิบัติ ประกอบด้วย ปรับปรุงบำรุงดิน เมล็ดพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก การอารักขาพืช (การให้น้ำ, ปุ๋ย) วิธีกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การแปรรูป/เก็บรักษา เชื่อมโยงตลาด
ประเด็นการพัฒนา คือ
1.การบริหารจัดการ
2.การลดต้นทุน
3. การบริหารจัดการผลิต
4.การเพิ่มมูลค่า
5.การตลาด
4) เป้าหมาย คือ ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพของสินค้า รวมถึงให้มีการเปรียบเทียบกับการผลิตรูปแบบเดิม เพื่อมุ่งสู่ตลาด/ผู้บริโภค
5) แหล่งเงินทุน ประกอบด้วย งบปกติตาม Function ของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งบกลุ่มจังหวัด และงบร่วมกับประชารัฐ
6) การขับเคลื่อน ได้แก่ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมงานวิจัย คำนึงถึงความคุ้มค่า (ต้นทุนต่อขนาดของพื้นที่) และการบริหารจัดการสินค้าครบวงจร
7) การสนับสนุนของภาครัฐ โดยพิจารณาว่า รัฐจะสนับสนุนอย่างไร/เท่าไร/เกษตรกรออกเท่าไร เมื่อกำหนดแผนการดำเนินงานและทุกหน่วยงานต้องมาบูรณาการร่วมกัน สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นลักษณะงบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจ เช่น การปรับปรุงดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน การปรับปรุงพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ต้องเห็นภาพการทำเกษตรที่มีความคุ้มกัน ซึ่งขยายต่อยอดจากแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งให้เกษตรกรทำบัญชีครับเรือนอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะหากเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับต้นทุนและกำไร จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรได้ สำหรับแนวทางการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจเป็นเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือ/ปัจจัยการผลิต โดยรัฐอาจสนับสนุนร้อยละ 50 เช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเกษตรกร และส่วนที่เหลือให้สหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ มอบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ โดยให้เร่งดำเนินการให้เกิดความชัดเจนและรายงานให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบภายในเดือนตุลาคม 2560 ปัจจุบันหน่วยงานในกระทรวงเกษตรได้คัดเลือกและนำเสนอพื้นที่แปลงใหญ่เพื่อขับเคลื่อนเป็นหัวขบวนแปลงใหญ่ ดังนี้
แปลงหัวขบวน 4.0 ข้าว ได้แก่
1.แปลงใหญ่ข้าวบ้านพระแก้ว ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการข้าว
2.แปลงใหญ่ข้าว นิคมสหกรณ์พิชัย จำกัด
กรมส่งเสริมสหกรณ์
3. แปลงใหญ่ข้าวสหกรณ์การเกษตรเชียงแสน จำกัด จังหวัดเชียงราย
กรมส่งเสริมสหกรณ์
แปลงใหญ่หัวขบวน 4.0 ด้านพืชไร่
4. แปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
5. แปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
6. แปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร/พื้นที่ ส.ป.ก.
แปลงหัวขบวน 4.0 ไม้ผล
7.แปลงใหญ่มังคุด ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กรมส่งเสริมการเกษตร
8. แปลงใหญ่ทุเรียน ตำบลพลวงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร
9. แปลงประชารัฐผลหม่อนสด จังหวัดน่าน
กรมหม่อนไหม
แปลงหัวขบวน 4.0 พืชสวน
10.แปลงใหญ่สมุนไพร (ประชารัฐ) ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
แปลงหัวขบวน 4.0 ด้านปศุสัตว์
11.แปลงใหญ่โคเนื้อ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร กรมปศุสัตว์/พื้นที่ ส.ป.ก.
12.สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด จังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ กรมปศุสัตว์/พื้นที่ ส.ป.ก.
13 .สหกรณ์โคนมการเกษตรไชยปราการ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่กรมปศุสัตว์
14. สหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด จังหวัดขอนแก่นกรมปศุสัตว์
แปลงหัวขบวน 4.0 ด้านประมง
15. แปลงใหญ่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทอง จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง
16.แปลงใหญ่ปลานิลปนกุ้งขาวแวนนาไม สหกรณ์นิคมบ้านสร้างพัฒนา จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี
กรมประมง
ที่มา : เยี่ยมพร ภิเศก , สรุปรายงานการประชุมผู้บริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 43/2560 วันที่ 27 กันยายน -2560 บันทึก กองแผนงาน กรมปศุสัตว์ ที่ กษ 0606/2093 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2560 , พรพรรณ คำศรี สรุปประเด็นการประชุม 6 ตุลาคม 2560