แผนภูมิโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างการแบ่งงานภายในสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามที่ อ.ก.พ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมติอนุมัติในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี -
ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน -
ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ดำเนินการด้านวิชาการและแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาบุคลากรและเกษตรกรของสำนักงาน -
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ดำเนินการด้านศูนย์เรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน -
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ฝ่ายบริหารทั่วไป -
ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานแผน งานบุคลากร งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานการประชุม และงานบริหารทั่วไป -
การจัดทำแผนงานประจำปี การตรวจสอบติดตามประเมินผล -
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณงานบุคคล งานพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง งานจำหน่ายทรัพย์สิน งานทะเบียนควบคุม วัสดุ - ครุภัณฑ์ -
งานยานพาหนะและสถานที่ งานจัดประชุม และเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ -
งานประสานและส่งเสริมสนับสนุนส่วนต่างๆ ภายในสำนัก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย กลุ่มพัฒนาบุคลากร -
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของ ส.ป.ก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และรองรับ พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 -
ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทนั้นๆ -
สร้างฐานข้อมูลด้านการฝึกอบรมรายบุคคลของ ส.ป.ก. เชื่อมโยงในระบบ DPIS -
วิเคราะห์และพัฒนาโครงการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและศักยภาพบุคลากรของ ส.ป.ก. ให้มีคุณภาพและมีนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติการ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่ดีขึ้น -
เป็นศูนย์กลางประสานงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่ และนำเสนอตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานปฏิรูปที่ดิน -
สร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านการปฏิรูปที่ดินทั้งในและต่างประเทศ -
เป็นวิทยากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน -
ให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริม บริการความรู้ และถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านการปฏิรูปที่ดิน -
ดำเนินการติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มพัฒนาเกษตรกรและเครือข่ายผู้นำ -
รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ฐานข้อมูลเกษตรกรเพื่อวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ -
วิเคราะห์ศักยภาพผู้นำเกษตรกรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความรู้และความชำนาญเฉพาะด้าน -
สร้างเกณฑ์หรือมาตรฐานการคัดเลือกผู้นำเกษตรกร เพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน (ผู้แทน คปจ./คปก./อสปก./ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน/ปราชญ์เกษตร ฯลฯ) -
สนับสนุนกิจกรรม/ปัจจัย หรือวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและเอื้ออำนวยต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม -
จัดทำแผนสืบทอดแนวคิดปราชญ์เกษตรและขยายผลภายใต้ "เครือข่ายผู้นำเกษตร” -
ศึกษา วิเคราะห์/สร้างรูปแบบการสร้างกำลังใจในการทำงานให้แก่ผู้นำเกษตรกรหรือหาช่องทางยกระดับผู้นำเกษตรกรให้ได้รับรางวัลต่างๆ เช่น เกษตรกรดีเด่น ส.ป.ก./ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน/เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ฯลฯ -
ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ฐานข้อมูลผู้นำเกษตรกร ควบคู่กับพิจารณาเลือกพื้นที่ดำเนินงานที่มีศักยภาพ -
ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และประสานงานกับหน่วยงาน/องค์กรชาวบ้าน/องค์กรพัฒนาชุมชนที่มีบทบาทช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อเป็นเครือข่ายการทำงานของ ส.ป.ก. -
กำหนดกระบวนการดำเนินงานร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลศักยภาพชุมชน -
จัดสัมมนาการสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้นำเกษตรกร เวทีระดับภาค และระดับประเทศ รวมทั้งเวทีเสวนาเชิงประเด็นในพื้นที่ที่เลือก -
วิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมจากแผนพัฒนาชุมชน เพื่อเตรียมการสนับสนุน/ผลักดันกิจกรรม ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาศักยภาพผู้นำเกษตรกร/ชุมชนให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย -
วางแผนศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดเนื้อหากิจกรรม/องค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ส.ป.ก. (http:www.alro.go.th) และจัดทำสื่อ/สิ่งพิมพ์ แผ่นพับ บทความ รายงาน ฯลฯ เผยแพร่สู่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินและผู้สนใจทั่วไป -
รวบรวม จัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ของเกษตรกรให้มีสถานะเป็นปัจจุบันพร้อมเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของ สพท. และระบบฐานข้อมูลกลางของ ส.ป.ก. -
สนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานด้านศูนย์บริการประชาชน -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มพัฒนาสถาบันและธุรกิจชุมชน -
ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดตั้งกลุ่มและพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชน ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดิน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้นำสตรี และกลุ่มเกษตรกรของ ส.ป.ก.) และการจัดการธุรกิจชุมชน เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองให้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไปสู่การปฏิบัติ -
ศึกษา วิเคราะห์การพัฒนาสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน -
กำกับ ดูแล การดำเนินงานตามแผนงานของสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน -
จัดทำเอกสารวิชาการและองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สถาบันเกษตรกรและกลุ่มธุรกิจชุมชน -
พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านพัฒนาธุรกิจชุมชน เสริมสร้างปัญญาทางบัญชีให้กับสมาชิกสถาบันเกษตรกรและกลุ่มธุรกิจชุมชน ตลอดจนสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ -
พัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน -
จัดทำฐานข้อมูลวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการรายสินค้า วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโครงการภาคีความร่วมมือ ต่างๆ เพื่อปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรเชิงการตลาดนำการผลิต -
พัฒนาสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นต้นแบบ ในการขยายผล -
จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สหกรณ์ มูลนิธิและอื่นๆ เพื่อพัฒนาสถาบันเกษตรกรและธุรกิจชุมชนให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน -
ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่โครงการส่งเสริมการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือไตรภาคี -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ -
ดำเนินการร่วมกับสถาบันการศึกษาในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรกรรม -
ศึกษา วิเคราะห์หาความจำเป็น เสริมสร้างความรู้เพื่อให้มีความรู้ทักษะในการเกษตร -
ศึกษา วิเคราะห์สร้างโอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงองค์ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ -
พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ดำเนินงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องทั้งด้านการประกอบอาชีพการเกษตรและอาชีพนอกการเกษตรตลอดจนสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการจัดการระหว่างปราชญ์เกษตรและชุมชน -
กำกับ ดูแล ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน -
จัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกรในอนาคต -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน -
เป็นศูนย์การฝึกอบรมเพื่อ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากร เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร -
เป็นศูนย์การฝึกอบรมอาชีพนอกการเกษตร -
เป็นศูนย์การฝึกอบรมความรู้ ด้านการปฏิรูปที่ดิน -
เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการปฏิรูปที่ดิน -
จัดทำแผนงานและประสานงานการพัฒนาด้านที่ดินพระราชทาน (โครงสร้างพื้นฐาน จัดรูปที่ดิน ปรับปรุงคุณภาพดิน พัฒนาศักยภาพการผลิต ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม) -
จัดทำแผนงานและประสานงานการพัฒนาด้านการเกษตรกรในที่ดินพระราชทาน (พัฒนาองค์ความรู้ การรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ อาสาสมัครปฏิรูปที่ดิน ไตรภาคี) -
ร่วมปฏิบัติงานในคณะกรรมการที่ปรึกษาในการ จัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์ เพื่อการเกษตรในที่ดินพระราชทาน -
จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ดินและเกษตรกรรายแปลงในที่ดินพระราชทาน -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม -
ศึกษา วิเคราะห์นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประกอบการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อตกลง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง -
ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกื้อหนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน -
ส่งเสริม และสนับสนุนการปลูกป่า การปลูกสร้างป่า และการปลูกป่าเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ ในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ส่งเสริม สนับสนุน และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด -
ส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่าย เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินและข้างเคียง -
สร้างกระบวนการเรียนรู้และสำรวจ จัดทำฐานข้อมูล องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในเขตปฏิรูปที่ดิน -
สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดการเกื้อหนุนและสอดคล้องกับการพัฒนาอาชีพหลักของชุมชน -
สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยการรวบรวมข้อมูล เพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณี คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน -
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสนับสนุนการดำเนินงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในโรงเรียน -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ -
กำหนดแผนงาน และแนวทางการดำเนินงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษ ตามนโยบาย -
ศึกษาวิเคราะห์ จัดทำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษตามนโยบาย -
กำกับดูแลงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษตามนโยบาย -
แปลงโครงการสู่แผนปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษ -
ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษตามนโยบาย -
ประสานงานการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง -
ติดตามประเมินผลงานโครงการ -
ศึกษา เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาปฏิรูปที่ดินรายพื้นที่ (Area approach)ดัง เช่น นิคมการเกษตรครบวงจร รายพืชเศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อการพัฒนาและขยายผล ในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร ด้านพัฒนาการผลิต การจัดการพัฒนาระบบการผลิต การบริหารจัดการผลผลิต การบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบต่างๆ และการตลาด -
ศึกษา เพื่อสร้างต้นแบบในเชิงพื้นที่ในจุดเริ่มต้นของทฤษฎีใหม่ (New Theory) บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง -
ศึกษา และจัดทำแผนการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินรายพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาศักยภาพกระบวนการปฏิรูปที่ดินรายพื้นที่ -
ศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกษตรกรรมเพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสร้างสวัสดิการชุมชนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน -
ควบคุม และกำกับดูแลการตรวจประเมิน เพื่อให้การรับรองแก่เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินในการผลิตพืช ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) หรือตามมาตรฐานอื่นๆ ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ประกาศใช้หรือให้การยอมรับในระดับสากล -
ให้การบริการฝึกอบรม ร่วมมือ สนับสนุน เผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมแก่เกษตรกรในการปรับระบบการผลิตพืชตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP)เพื่อเข้าสู่การขอการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรทั้งในรูปแบบของรายบุคคลและรายกลุ่ม -
สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและผลผลิตพืชของเกษตรกรให้มีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รองรับการเปิดเขตการค้าเสรีในประชาคมอาเซียน -
ให้บริการตรวจประเมินแปลงเพื่อให้การรับรองแก่ผู้ขอรับบริการด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม -
พัฒนาศักยภาพและคงสถานการณ์เป็นหน่วยรับรอง (CB) ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065 หรือตามมาตรฐานที่มีการเปลี่ยนแปลง -
สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจประเมินให้มีความเชี่ยวชาญและมีสมรรถนะในการเป็นผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานสากล -
พัฒนาองค์กรในการขยายขอบข่ายเพื่อเป็นหน่วยรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ -
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและประเมินผลเพื่อจัดทำเอกสารวิชาการด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร -
ปฏิบัติงานร่วมมือสนับสนุนและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนภารกิจสู่เป้าหมาย -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมศิลปาชีพ -
ดำเนินกิจกรรม เพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการฝึกอบรมศิลปาชีพแก่เกษตรกร ผู้ยากไร้ทั่วประเทศ -
ติดตามและประเมินผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน -
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ ที่ได้รับมอบหมาย -
หน่วยงานภายใต้ดังนี้ -
ฝ่ายบริหารทั่วไป -
ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานการประชุม และงานบริหารทั่วไป -
งานบุคลากร -
การจัดทำแผนงานงบประมาณประจำปี การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลการปฏิบัติงาน -
งานจำหน่ายบัตรและบริการ -
งานการเงินและบัญชี -
งานรักษาความปลอดภัยและการจัดการจราจร ภายในศูนย์ฯ -
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ -
ดำเนินการงานพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง งานจำหน่ายทรัพย์สิน งานทะเบียนควบคุมวัสดุ-ครุภัณฑ์ -
งานยานพาหนะและสถานที่ -
งานประสานและส่งเสริมสนับสนุนส่วนต่างๆ ภายในศูนย์ฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย -
กลุ่มงานฝึกอบรมศิลปาชีพ -
กำหนดแผนงาน และแนวทางการดำเนินงานฝึกอบรมศิลปาชีพ -
งานคัดเลือกเกษตรกร ลงทะเบียนอบรมศิลปาชีพ -
ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กร ส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการฝึกอบรมศิลปาชีพ -
กำกับ ดูแล การดำเนินงานฝึกอบรมศิลปาชีพ -
วิทยากรอบรมศิลปาชีพ -
ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานศิลปาชีพ -
สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มผลิตงานศิลปาชีพใน ภูมิภาคต่างๆ -
จัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 ด้านการคัดเลือกและติดตามการฝึกอบรมศิลปาชีพ -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย -
กลุ่มงานบำรุงรักษา -
กำหนดแผนงาน และแนวทางการดำเนินงานปรับปรุงบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ภายในศูนย์ -
งานสำรวจ ตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ/บำบัดน้ำเสีย และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในศูนย์ฯ -
งานจัดสวนและปรับปรุงภูมิทัศน์ -
จัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008ด้านการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการซ่อมของอาคาร สถานที่และระบบสาธารณูปโภค -
งานประเมินความพึงพอใจในการจัดภูมิทัศน์ของนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 -
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย -
ดูแลรักษาความสะอาดและกำจัดสิ่งปฏิกูล -
ซ่อมบำรุงเครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร -
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย |