พฤศจิกายน 5, 2566 | ภาพข่าว
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน
ตามที่นายบุญมี สุระโคตร สมาชิกวุฒิสภา ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำมาทอดถวายยังชุมชนสงฆ์ วัดพานทา จังหวัดศรีสะเกษ
5 พ.ย.66 ว่าที่พันตรี ศักดิ์ระพี แพร่งสุวรรณ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมงานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพานทา ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ขอตั้งจิตอุทิศผล แด่ข้าพเจ้าและครอบครัว พร้อมญาติธรรมทุกท่าน จงมีแต่ความสุขความเจริญ ปลอดโรค ปลอดภัย มั่งมีศรีสุข ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ตลอดกาลนานเทอญ
“กฐินทาน”
การทอดกฐินที่ปฏิบัติมาในประเทศไทย พอจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ พระกฐินหลวง และกฐินราษฎร์
1.พระกฐินหลวง ได้แก่
-พระกฐินหลวงที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
-พระกฐินต้น
-พระกฐินพระราชทาน
2.กฐินราษฎร์ ได้แก่
-มหากฐิน
-จุลกฐิน
-กฐินตกค้าง (กฐินโจร)
ในการจัดกฐินทานนั้น เมื่อเจ้าภาพตั้งเครื่องกฐินขึ้นแล้ว ก็นิยมเรียกว่า “ตั้งองค์กฐิน” บ้าง “กองบุญกฐิน” บ้าง ถ้ามีการสมโภช ก็เรียกว่า “สมโภชองค์กฐิน” หรือ “ฉลองสมโภชกองบุญกฐิน” ถ้าเป็นพระกฐินพระราชทาน เรียกว่า “สมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน”
อานิสงส์สำหรับผู้ทอดกฐินทาน
1.ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักชอบใจของชนหมู่มาก (คนจำนวนมาก)
2.สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
3.กิตติศัพท์ชื่อเสียงเกียรติคุณของผู้ให้ทานย่อมขจรไปไกล
4.ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากคุณธรรมของคฤหัสถ์
5.ผู้ให้ทานเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ที่มาข้อมูล ; คัดลอกบางช่วงบางตอนจากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 154 ตุลาคม 2556