ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน (ศกร.) มีภารกิจเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการปฏิรูปที่ดินให้เป็นที่เผยแพร่ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก และจัดเป็นสถานที่ฝึกอบรม ประชุม สัมมนาต่างๆ และห้องพักที่สามารถรองรับคนเข้าพักได้ 120 คน ทำให้ ศกร. มักมีเศษอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภคมากมายในแต่ละวัน วิธีจัดการขยะที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ก็คือ วิธีทำปุ๋ยหมัก รวบรวมเก็บใส่ถุงไว้แล้วรอรถขยะมาขนทิ้ง ในส่วนของขยะมูลฝอยทั้งหมดเป็นขยะประเภทสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ที่แม้จะสามารถย่อยสลายได้เอง แต่ก็ใช้เวลาค่อนข้างนานและต้องมีวิธีจัดการที่เหมาะสม ศกร. จึงทำถังหมักเพื่อจัดการกับขยะอินทรีย์
วัสดุที่ใช้ในการทำถังหมัก
1. ถังพลาสติก ขนาด 20 ลิตร
2. ตระกร้าพลาสติกที่ขนาดเล็กกว่าถังพลาสติก 1 ใบ วิธีการทำถังหมัก 1. นำถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูรอบๆ ถัง ประมาณครึ่งถัง และก็ก้นถัง 2. ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวถังพลาสติกประมาณครึ่งถัง เมื่อวางลงไป
3. หลังจากนั้นก็กลบดิน แต่ไม่ต้องให้แน่นจนเกินไป
4. นำตระกร้าพลาสติกมาวางบนปากถัง หลังจากนั้นก็เทเศษอาหารลงไป แล้วก็ปิดฝา
หลักการทำงานของถังหมัก
ในการวางขุดหลุมวางถังหมัก ต้องเลือกพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงอยู่ตลอดเวลา โดยหลักการหมักนั้นก็จะมีกระบวนการของจุลินทรีย์ที่ใช้ก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดกลิ่นเหม็นน้อย โดยการออกแบบถังหมักจะมุ่งเน้นให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทของอากาศเพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ถังหมักได้อย่างทั่วถึง ออกซิเจนจะเข้าผ่านช่องว่างของเม็ดดินที่เรากลบลงไป และทางฝาปิดด้านบน เมื่อโดนแสงแดดก็จะทำให้อุณหภูมิของอากาศจากภายนอกเข้ามาแทนที่ จึงจะทำให้ตัวถังมีออกซิเจนหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เป็นการใช้ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ภายในดินมที่มีอยู่เดิมมาทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ นอกจากนี้สัตว์ที่เป็นผู้ย่อยสลายขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ ยังสามารถเคลื่อนผ่านรูถัง เพื่อเข้าไปย่อยสลายเศษอาหารได้อีกหนึ่งทาง ผลผลิตที่ได้จากถังหมัก คือธาตุอาหารต่างๆ ที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์และสัตว์ชั้นดินชนิดต่างๆ จะกระจายแพร่ลงสู่ดินบริเวณรอบๆ ถังหมัก ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นการปลูกผักบริเวณรอบๆ จึงไม่ต้องใส่ปุ๋ย