วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน (ศกร.) สาขาฉะเชิงเทรา ได้มีกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ "การนำผักตบชวาและเศษวัชพืช ฟางข้าว มาใช้ประโยขน์แบบยั่งยืน" ในพื้นที่ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนครเนื่องเขต ร่วมกันทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้นโดยถ้าเศษพืชเป็นฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือผักตบชวา อัตราส่วนระหว่างฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดหรือผักตบกับมูลสัตว์คือ 4 ต่อ 1โดยปริมาตรและถ้าเป็นเศษใบไม้ให้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร นำฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์4 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วยมูลสัตว์1 ส่วน แล้วรดน้ำ ทำเช่นนี้15-17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้นขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูง1.50เมตร กองปุ๋ยจะมีความยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบางๆ 15-17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอนที่มีอยู ่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว รดนน้ำภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป เมื่อครบวันที่10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวและไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการท�ำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20–30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3–4 วัน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน สาขาฉะเชิงเทรา ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา