image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดย สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา

มิถุนายน 14, 2559 | ภาพข่าว

การประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการบูรณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันการผลิตของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Asean Economics Community : AEC)
 
           ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 125 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็น พื้นที่ ส.ป.ก.ประมาณ 34.6 ล้านไร่ จำนวน 2.57 ล้านครัวเรือน คิดเป็นประมาณร้อยละ 27 ของพื้นเกษตรกรรมของประเทศ หรืออาจเปรียบเทียบในเชิงปริมาณของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 36 ของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งหากคิดเฉลี่ยจำนวนสมาชิก 4 คน/ครัวเรือน เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจะมี จำนวน 10.28 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 16 ของประชากรประเทศ ดังนั้น บทบาทภารกิจของ ส.ป.ก. จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตร หรือจำนวนครัวเรือนภาคการเกษตรของประเทศไทย ให้ผู้นำไปสู่การเป็นครัวโลก ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) พอสมควร            
           ประกอบกับต้นปี 2558 ประเทศไทยจะรวมเป็นหนึ่งในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ซึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว สินค้าเกษตรเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการเปิดตลาดเสรีหรือ การรวมเป็นตลาดและฐานผลิตเดียว ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม ส่งออกสินค้าเกษตรเหมือนๆกันทำให้สถานการณ์การแข่งขันสูงขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าโดยการเพิ่มอัตราการผลิต ลดต้นทุนการผลิตตลอดจนการพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตร เช่น มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) การตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ เป็นต้น
           การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนและแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงนับเป็นแนวทางที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นบรรลุผลสำเร็จ ทั้งนี้จะต้องได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ และอาชีพของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินโดยนำโครงการที่มีความพร้อมทั้งทางด้านศักยภาพของพื้นที่และเกษตรกร เช่น โครงการนิคมการเกษตร นิคมเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ วิสาหกิจชุมชน การผลิตทางด้านการเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นโครงการต้นแบบนำร่อง
          สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดย สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการบูรณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันการผลิตของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) โดยมี นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. เป็นประธานการเปิดประชุมสัมมนาและมอบนโยบาย ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ ส.ป.ก. ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๗-๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
 
      ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ๑๐๐ ราย โดยวิทยากร จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร และผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา โดยมีสาระสำคัญ 6 ประเด็น ดังนี้
1. การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดย สำนักจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน
2. โครงการขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นานอกเขตชลประทาน โดย กรมพัฒนาที่ดินโดย ดร.ธนากร นามเชียงใต้ จากกรมพัฒนาที่ดิน
3. การออกแบบระบบส่งน้ำด้วยท่อพีวีซีเพื่อการเกษตร และการออกแบบฝายชะลอน้ำ โดย บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
4. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร และการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในระดับครัวเรือน โดย นายประพนธ์ กิติจันทโรภาส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพลังงา แสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
5. การบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดย บริษัท สยามคูโบต้า คอโปเรชัน จำกัด
6. การบูรณาการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน โดย กรมทางหลวงชนบท
 
          พร้อมทั้งการบรรยายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน การใชพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดแนวทาง รูปแบบ/วิธีการ ที่เหมาะสมในการบูรณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ของ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ในการพัฒนาอาชีพและรายได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิด วิธีการแนวทางในการบูรณาการพัฒนาพื้นที่ และการพัฒนาด้านอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรในประชาคมอาเซียน
            งานก่อแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ดำเนินการขุดสระน้ำขนาด 1,260ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรร่วมสบทบ 2,500 บาท/บ่อ ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ 16,600 บาท/บ่อ (รวมงบประมาณ 19,100บาท/บ่อ)
            สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต และเกษตรกร ตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่ขุดสระน้ำ ซึ่งจะต้องเป็นจุดที่อยู่ในพื้นที่ราบต่ำ มีความลาดชันไม่เกิน 2% มีดินเหนียวปนอยู่ไม่น้อยกว่า 20% และไม่ใช่ดินที่เป็นทรายล้วนตลอดความลึก และไม่เป็นพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของดินเค็ม ความลึกสระน้ำไม่น้อยกว่า 2 เมตร การอบแห้ง เป็นกระบวนการในการถนอมอาหาร ซึ่งนิยมใช้กับผลิตผลทางการเกษตร และแพร่หลายทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยเริ่มแรกนั้นใช้วิธีอบแห้ง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (sun drying) คือการตากตามธรรมชาติ
1. เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
2. มีความพร้อมในด้านวัตถุดิบและ/หรือผลิตภัณฑ์ และพื้นที่สำหรับการติดตั้งและการลงทุน
3. ติดตั้งตามแบบมาตรฐานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. ให้การสนับสนุนเงินลงทุนบางส่วน ตามอัตราที่กำหนดต่อตารางเมตรของพื้นที่ติดตั้งระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ตามแบบมาตรฐานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้ ?
 
ให้การสนับสนุน 197,000 บาท สำหรับแบบ
อบแห้ง พพ.1ขนาด 6.0 x 8.2 ตร.ม.
? ให้การสนับสนุน 398,000 บาท สำหรับแบบ
อบแห้ง พพ.2ขนาด 8.0 x 12.4 ตร.ม.
ให้การสนับสนุน 668,000 บาท สำหรับแบบ
 อบแห้ง พพ.3ขนาด 8.0 x 20.8 ตร.ม.
 
5. ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.solardryerdede.com,www.dede.go.th







ป้ายกำกับ
ล่าสุด