image banner

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

สถานการณ์กาแฟหลังการเปิดAEC ตอนที่ 1

สิงหาคม 29, 2559 | ข่าวอาเซียน

กลุ่มประเทศในอาเซียนจะมีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หรือสิ้นปีนี้ กาแฟก็เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียน โดยมีการตกลงกันว่าจะเริ่มลดภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟในปี 2553 กำหนดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเมล็ดกาแฟ และกาแฟสำเร็จรูปด้วย สินค้ากาแฟสำเร็จรูปได้ลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน แต่สำหรับสินค้าเมล็ดกาแฟถูกจัดว่าเป็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) ที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานกว่าสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ฉะนั้นทางกลุ่มประเทศในอาเซียน จึงกำหนดให้ลดภาษีนำเข้าในปี 2553 มาอยู่ที่ 5% และจะลดลงเป็น 0% ในปี 2558 เช่นเดียวกับประเทศบรูไนและมาเลเซียที่กำหนดให้สินค้ากาแฟเป็นสินค้าอ่อนไหวเช่นกัน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกใน 70 ประเทศทั่วโลก โดยมี 5 อันดับผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ บราซิล เวียดนาม โคลอมเบีย อินโดนีเซีย เอธิโอเปีย ที่นิยมมากที่สุด 2 สายพันธุ์คือพันธุ์อาราบิก้า และพันธุ์โรบัสต้า นั่นหมายถึงว่าอาเซียนเรามีผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ติดอันดับโลก คือ เวียดนามอยู่อันดับ 2 ของโลก และอินโดนีเซียติดอันดับ 4 ของโลก ขณะที่ประเทศไทยไม่ติดอันดับต้น แต่ถ้าคิดในกลุ่มอาเซียนเราไทยจะอยู่ในอันดับสาม ตามด้วย ส.ป.ป.ลาว ซึ่งมีพื้นที่การปลูกกาแฟขยายตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้น คาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้า จะมีผลผลิตกาแฟมากขึ้นเป็น 5-7 หมื่นตัน และมีกาแฟจากลาวทะลักเข้ามาตีตลาดภายในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อ้างอิง http://www.komchadluek.net บทความโดย นายอาหมัด เบ็ญอาหวัง, วันที่ 9 มิถุนายน 2558
ป้ายกำกับ
ล่าสุด