มิถุนายน 6, 2565 | ภาพข่าว
สำนักงาน ก.พ.ร. เชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนางานบริการในโครงการวิเคราะห์และปรับกระบวนการทำงาน (Re-Process) และจัดทำระบบต้นแบบ (Prototype) เพื่อพัฒนาระบบงานบริการผ่านระบบ e-Service (Biz poratal) ในปีงบประมาณ 2565
เมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. ทางสำนักงาน ก.พ.ร. (ทีมที่ปรึกษา) ได้เชิญสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนางานบริการในโครงการวิเคราะห์และปรับกระบวนการทำงาน (Re-Process) และจัดทำระบบต้นแบบ (Prototype) ตามที่ ส.ป.ก. มีงานบริการ/โครงการ ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 งานบริการ ได้แก่ การขอยื่นรับการจัดที่ดินแทนที่เกษตรกรผู้ได้รับการจัดให้เข้าทำประโยชน์ซึ่งสละสิทธิ และการขอความยินยอมหรืออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉบับที่ 2 ข้อ 1.5) ที่ร่วมกับทางสำนักงาน ก.พ.ร. จึงขอเรียนเชิญ ส.ป,ก. เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ผลการดำเนินงาน และข้อมูลมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ตามที่ได้จัดทำข้อมูลกระบวนงานดังกล่าวฯ แล้วเสร็จ เรียบร้อยแล้ว จึงขอนัดประชุมหารือกับผู้แทนหน่วยงานของ ส.ป.ก. เพื่อหารือร่วมกับที่ปรึกษาของสำนักงาน ก.พ.ร. ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) ภาพรวมของระบบกระบวนงาน 2) การตรวจสอบแผนภาพกระบวนงาน (Re-Process) การให้บริการของ ส.ป.ก. (Final) 3) การยืนยันเอกสาร Input และ Output ตามแบบสรุปล่าสุด 4) การตอบคำถามจากทีม BA และ SA และ 5) การยืนยันและให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับกระบวนการทำงาน (Re-Process) การให้บริการของ ส.ป.ก. แก่ทีมที่ปรึกษาของสำนักงาน ก.พ.ร.
ในการนี้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร. ส.ป.ก.) โดยผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (นางสาวกานดา ศากยะโรจน์) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทาง สำนักกฎหมาย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน กองการเจ้าหน้าที่ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร พร้อมด้วยจากทาง ส.ป.ก. ส่วนภูมิภาคเข้าร่วมประชุมด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดหนองบัวลำภู และปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี โดยการประชุมครั้งนี้ทางสำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำเทคโนโลยี ระบบ ZOOM Meeting มาใช้ในการประชุมออนไลน์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. เพื่อลดความเสี่ยง และป้องกันกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) พร้อมลดความแออัดของการมารวมตัวเข้าร่วมประชุมกันในห้องประชุมเป็นจำนวนมาก และลดความเสี่ยงของการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
ภาพโดย : นางสาวกานดา ศากยะโรจน์
ข่าวโดย : นายทรงเกียรติ สุเทพากุล