image banner

Agricutural Land Reform Office

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อพ.สธ. - ส.ป.ก.)

พฤศจิกายน 2, 2563 | อพ.สธ.

 
ความเป็นมา
        ในปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้สงวนต้นยางนา ที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ แต่ไม่สามารถจัดถวายตามพระราชประสงค์เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก ทำให้ในปี พ.ศ. 2504
จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุขและในแปลงทดลองป่าสาธิตใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา และมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์พืชเอกลักษณ์ของพระราชวังต่าง ๆ และในปีต่อมาจึงได้
อนุรักษ์นธุกรรมหวาย อีกทั้งยังจัดทำสวนพืชสมุนไพรและทรงให้พัฒนาพันธุ์ผักโดย การผสมสองชั้นอีกด้วย
       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศเพื่อเป็นธนาคารพืชพรรณในปี พ.ศ. 2536สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 จึงได้รับงบประมาณจากสำนักพระราชวังเพื่อดำเนินงานในกิจกรรม
       โครงการ อพ.สธ. มีการดำเนินงานใน ๓ ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ
และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยประกอบไปด้วย 8 กิจกรรม ภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน ทั้งนี้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ขอพระราชทานพระราชานุญาต เข้าร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานพระราชานุญาตให้ ส.ป.ก. เข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยดำเนินการในส่วนฐานทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุน การอนุรักษ์ทรัพยากร โครงการ อพ.สธ. - ส.ป.ก. สนองพระราชดำริโดยยึดถือ แนวทางการทำงานอย่างมีส่วนร่วม อาทิ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ชุมชนที่มีปราชญ์ชาวบ้าน และองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่โดดเด่น มาขับเคลื่อนโครงการให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของฐานทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เหมาะสมกับสภาพนิเวศของแต่ละท้องถิ่น
 
กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมของโครงการ อพ.สธ.
 
กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
       ส.ป.ก. เป็นเจ้าภาพร่วมกับโครงการ อพ.สธ. และหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการฐานปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นทุก 2 ปี
 
การประชุมวิชาการและนิทรรศการ "ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น" ครั้งที่ 9 ระหว่าง
วันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี
       มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และให้เยาวชน ประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชน
และผู้กำหนดนโยบาย ได้เห็นความหลากหลายแห่งศักยภาพของทรัพยากรไทย ได้เข้ามาเรียนรู้ ธรรมชาติ
แห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว การอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน อันเป็นผลประโยชน์แท้แก่มหาชนไทย ซึ่ง ส.ป.ก. ได้กำหนดเนื้อหาการจัดนิทรรศการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
             1) กระบวนการขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. ของ ส.ป.ก. กล่าวถึงการเข้าร่วมสนองพระราชดำริตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน เน้นกระบวนการที่หลากหลาย บูรณาการและสร้างกลไก การขับเคลื่อนงานร่วมกับ
หน่วยงานราชการและเอกชน เช่น โรงเรียน วัด มูลนิธิ กลุ่มอนุรักษ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นต้น รวมทั้งกลไกหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน ซึ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือ คือ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ และเทคโนโลยีชาวบ้านในการขับเคลื่อนงาน นำสู่การสร้าง
เครือข่ายของกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับ เด็ก นักเรียน เยาวชน เกษตรกร และประชาชนโดยทั่วไป ให้ตระหนักถึง
คุณค่า และการใช้ประโยชน์เรื่องพันธุกรรมพืชด้วยความเข้าใจ นำไปสู่การการอนุรักษ์และฟื้นฟู พันธุกรรมพืช
ท้องถิ่นของตนเอง
             2) "ศาสตร์พระราชา" กับการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 7 ฐานการเรียนรู้
                   ฐานที่ 1 โครงการธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) ในโครงการเกษตรวิชญา จ.เชียงใหม่
                   ฐานที่ 2 โครงการผืนดินพระราชทาน 5 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา นครนายก นครปฐม ปทุมธานี และฉะเชิงเทรา)
                   ฐานที่ 3 โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำพูน
                   ฐานที่ 4 โครงการขยายผลฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
จ.สกลนคร          
                   ฐานที่ 5 ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี จ.น่าน
                   ฐานที่ 6 โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดสระแก้ว - ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ จ.สระแก้ว – ปราจีนบุรี
                   ฐานที่ 7 โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จ.กาญจนบุรี
             3) ภูมิปัญญา องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ของปราชญ์ชาวบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. จำนวน 7 ฐานการเรียนรู้
                   ฐานที่ 1 ชุมชนต้นแบบการขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. แบบองค์รวม กรณีชุมชนปราชญ์เกษตร
นายเสถียร ใจคำ จ.เชียงใหม่
                   ฐานที่ 2 พืชป่าเชิงเศรษฐกิจ กรณีหมากเม่า และหวาย
                   ฐานที่ 3 ผ้าครามและผ้าย้อมสีธรรมชาติ จ.สกลนคร
                   ฐานที่ 4 ภูมินิเวศน์ข้าวพื้นบ้าน จ.สโยธร
                   ฐานที่ 5 หัตถกรรมสร้าง อัตลักษณ์จากต้นลาน จ.สระบุรี
                   ฐานที่ 6 สมุนไพรไทยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
                   ฐานที่ 7 สร้างสรรพสิ่งเกื้อกูลสร้างสมดุล เพิ่มคุณค่าพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
 
 
การประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
       มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยเพื่อให้เด็กและเยาวชน ประชาชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่ง ส.ป.ก. กำหนดเนื้อหาการจัดนิทรรศการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
             1) กระบวนการขับเคลื่อนงานของ ส.ป.ก. กล่าวถึงการเข้าร่วมสนองพระราชดำริตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
จนถึงปัจจุบัน เน้นกระบวนการที่หลากหลาย บูรณาการและสร้างกลไก การขับเคลื่อนงานร่วมกับหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น โรงเรียน วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น รวมทั้งกลไกหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ปราชญ์
ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน ซึ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือ คือ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ และเทคโนโลยีชาวบ้านในการขับเคลื่อนงาน นำสู่การสร้างเครือข่ายของกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับ เด็ก นักเรียน เยาวชน เกษตรกร และประชาชนโดยทั่วไป ให้ตระหนักถึงคุณค่า และการใช้ประโยชน์เรื่องพันธุกรรมพืชด้วยความเข้าใจ
นำไปสู่การการอนุรักษ์และฟื้นฟู พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของตนเอง
             2) ภูมิปัญญา องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ของปราชญ์ชาวบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. จำนวน 7 ฐานการเรียนรู้ 
                   ฐานที่ 1 สมุนไพรไทยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กล่าวถึงการปลูก การดูแลรักษา
การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปสมุนไพรแต่ละชนิด เพื่อให้ผู้ที่สนใจร่วมกันเรียนรู้และนำไปสู่การบริหารจัดการสมุนไพร ทำให้เกิดเป็นรายได้ และตระหนักในการที่จะร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูสมุนไพรในท้องถิ่นของตนเอง
                   ฐานที่ 2 คุณค่าแห่งพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง : แสดงข้อมูลพันธุ์ข้าวพื้นเมือง โรงเรียนเกษตรกร
การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ ข้อมูลคุณค่าโภชนาการ กล่าวถึง การเก็บรวบรวมสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบอินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ของการทานข้าวเพื่อเป็นยารักษาโรค การคัดแยกพันธุ์ข้าวให้ได้พันธุ์บริสุทธิ์
                   ฐานที่ 3 การเก็บพืชที่ใช้ย้อมผ้าชนิดต่าง พร้อมเส้นสายการย้อมผ้าแบบพื้นเมือง กล่าวถึง
การรวบรวมพันธุ์ไม้ที่สามารถนำมาย้อมผ้าได้ และเส้นสายการย้อมผ้าจากโบราณสู่ปัจจุบัน
                   ฐานที่ 4 ผ้าคราม และทอผ้าพื้นเมือง กล่าวถึงวิธีการย้อมผ้าลวดลายพื้นเมืองต่าง ๆ
                   ฐานที่ 5 "อนุรักษ์และใช้ประโยชน์” ปลูกได้ ใช้เป็น เห็นประโยชน์ กล่าวถึงประโยชน์ของสมุนไพร
พื้นถิ่น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร
                   ฐานที่ 6 ภูมิปัญญาจากทรัพยากร ชุมชนยั่งยืน กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองกุงน้อย กล่าวถึง
การใช้ประโยชน์ของกล้วย ไผ่ และการทานอาหารเป็นยารักษาโรค
                   ฐานที่ 7 ส่งเสริมอาชีพและศูนย์การเรียนรู้ กล่าวถึง การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และเพิ่มทักษะ
ในการความสามารถในการต่อยอดและเพิ่มรายได้ อาทิ การเพ้นท์กระเป่าผ้า การร้อยมาลัยมะลิ และการทำกระเป๋าเดคูพาจ
 

 
 
ผลการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. - ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ 2563
      ส.ป.ก. ได้จัดทำแผนงานใน 72 จังหวัด โรงเรียนในเขตปฏิรูปที่ดินที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 203 โรงเรียน โดยส่งเสริมให้โรงเรียนในเขตปฏิรูปที่ดินที่เข้าร่วมโครงการมีการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผ่านกระบวนการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งมีการดำเนินงานหลากหลายกิจกรรม อาทิ การสำรวจพรรณไม้ภายในโรงเรียนและชุมชน ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้ บันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ บันทึกภาพหรือวาดภาพพฤกษศาสตร์ การทำทะเบียนพันธุ์ไม้ การจัดทำป้ายพรรณไม้ที่สมบูรณ์ กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก จัดหาพรรณไม้/วัสดุปลูก การเพาะกล้า การปลูกและดูแลรักษา ศึกษาด้านรูปลักษณ์ วิเคราะห์ จำแนก
รูปลักษณ์ภายนอก/ภายในของพืชแต่ละชนิดแต่ละส่วน รายงานผลการศึกษาผ่านการบรรยาย การเล่าเรื่อง
หรือการจัดแสดงนิทรรศการ


 
 
tagClouds
latest