กิจกรรมภายใต้ระบบงานที่ ส.ป.ก.ดำเนินการเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่เกษตรกร มี 4 ประการ คือ * ภูมิคุ้มกันประการแรก ด้านการสร้างหลักทรัพย์ หลักประกันที่ทำกินของเกษตรกร ด้วยวิธีการปฏิรูปที่ดิน โดย ส.ป.ก. นำที่ดินของรัฐที่ได้รับมอบมาตามมติคณะรัฐมนตรี หรือจัดซื้อ หรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ มาจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเอง หรือไม่เพียงพอแก่การคลองชีพให้เข้าทำประโยชน์โดยมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 และในที่เอกชนโดยการเช่าหรือเช่าซื้อ ถึงปัจจุบัน *ภูมิคุ้มกันประการที่สอง บริการเคลื่อนที่รองรับเกษตรกร การให้บริการแก่เกษตรกรหลังจากมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 โดยมุ่งเน้นการตรวจสอบ ติดตามการทำประโยชน์ ให้องค์ความรู้ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ และสร้างความเข้าใจแนวทางปฏิบัติตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยออกหน่วยจัดต้งศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่ในเขตปฏิรูปที่ดินระดับตำบลทั่วประเทศ *ภูมิคุ้มกันประการที่สาม พลิกฟื้นสร้างทางเลือก "ความพอเพียง" โดยเริ่มจากการมุ่งเน้นให้เกษตรกรเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประยุกต์ในการสร้างทางเลือกอาชีพทางการเกษตร (ลดรายจ่าย/สร้างรายได้) จากเกษตรกรแกนนำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน และมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีทัศนคติเชิงบวกและยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากอาชีพเดิมสู่อาชีพที่เหมาะสมจากปราชญ์เกษตรและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งให้เกษตรกรมีแนวทางจัดการระบบการผลิต และพัฒนา มาตรฐานผลผลิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เทคโนโลยี และความต้องการของตลาดจากภาคเอกชน และแกนนำตลาดท้องถิ่น *ภูมิคุ้มกันประการสุดท้าย การรวมกลุ่มสร้างธุรกิจวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในอาชีพของตนเอง และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดการสูญเสียให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยการขับเคลื่อนกิจกรรมการรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือไตรภาคีด้านการตลาด และการสร้างโอกาสเข้าสู่แหล่งทุนของกองทุนปฏิรูปที่ดิน เพื่อแปลงความพอเพียงขยายผลสู่รูปธรรมภายใต้หลักการปฏิรูปที่ดิน